"เสรีภาพที่หมดจด"


"เสรีภาพที่หมดจด"

Humankind's Absolute Freedom

--------------------

๑) เสรีภาพคือ อะไร
๒) เสรีภาพโลก
๓) เสรีภาพคน
๔) เสรีภาพพุทธ

--------------------

ในวันวิสาขบูชา เหตุการณ์ที่ ๓ ว่าด้วยการตรัสรู้นั้น เป็นเรื่องเหนือความเข้าใจของปุถุชน แต่กระนั้น เราก็มีสิทธิ มีเสรีภาพในตัวเองที่จะคิด ที่จะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสภาวะนั้น โดยอาศัยหลักการของพระพุทธศาสนา เนื่องจากสิ่งนี้เกิดมาจากมนุษย์คนหนึ่ง (พระพุทธเจ้า)

อาศัยความเป็นมนุษย์ ที่มีสสารและความนึกคิดเหมือนกัน เป็นฐานะการสืบต่อหาหน่อความเป็นไปได้ของเราว่า เสรีภาพหรือความจริงในระดับหนึ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้น มีสภาวะอิสระหรือเสรีอย่างไร หมดจดอย่างไร จึงขอหยิบยกเอาประเด็นนี้มาขยาย


(๑) คำว่า "เสรีภาพ" เป็นคำที่กล่าวกันมานาน หลังจากที่มนุษย์ได้เข้าใจธรรมชาติด้วยตัวเอง แล้วจึงกำหนดเจตจำนงของตนเอง มองตัวเองออกว่า ต้องการอะไร อยากได้อะไร มิได้มาจากอำนาจการดลใจ ดลการกระทำของพระเจ้าหรือวิญญาณ ภูต ผีใดๆ

ในปรัชญาของกรีก อียิปต์ในสมัยนั้นๆ ยังคงเชื่อในเทพเจ้าต่างๆ ความคิด การกระทำมนุษย์ยังเชื่อว่า มาจากเทพเจ้าทั้งหมด ที่ครอบคลุมไปถึงกาย วิญญาณของตั้งแต่เกิดและหลังตาย ล้วนอยู่ในรัศมีความเชื่อในเทพเจ้าทั้งสิ้น มนุษย์จึงยากที่จะเชื่อว่า มีเสรีภาพด้วยตัวเอง


ส่วนในสมัยมนุษยนิยมคือ ยุคปรัชญาจารย์แรกเริ่ม เริ่มมองเห็นศักย์ของตนเอง โดยตั้งคำถามว่า "ทุกสิ่งมาจากไหน" (รวมทั้งเราด้วย) การตั้งคำถามคือ การพยายามปลีกตัวออกจากรัศมีพระเจ้า จึงเกิดข้อสงสัยในปรากฏการณ์ต่างๆ และสร้างเป็นทฤษฎีความคิด ความเชื่อขึ้นมา

ยุคนี้เรียกว่า ยุคปรัชญาจริงๆ บุคคลแรกที่ถูกเรียกว่า นักปรัชญา คือ ธาเลส ผู้คิดว่า สรรพสิ่งเกิดมาจาก "น้ำ" นี่คือ ความคิดที่ท้าทายความเชื่อเดิมๆ ที่คนสมัยนั้นเชื่อ ถ้าเชื่อพระเจ้า จะไม่ถามคำถามนี้ แสดงว่า มนุษย์เริ่มสงสัยในตัวเองและสิ่งแวดล้อมมาบ้างแล้ว


นั่นคือ แสงรำไรของการเปิดเผยความจริงในตนเอง ในภาวะหรือสัต (Being) ในตัวมนุษย์ จากนั้นก็มีการถกเถียงกันไปมาว่า อะไรคือ สิ่งกำเนิดแรก ต่างคนก็เสนอความเห็นของตนขึ้นมาว่าก็มาจากไฟ อากาศ วิญญาณ แบบ สสาร ฟอร์ม บางสำนักก็ยังยืนยันอำนาจของพระเจ้าอยู่ แต่ใช้เหตุผลละเอียดขึ้น

ปรัชญาจึงกลายเป็นแหล่งต้นกำเนิดการถกเถียงกันที่ไม่จำกัดในสาขาของความคิด ข้อสงสัยในเรื่อง ปฐมธาตุ เท่านั้น ยังรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และธรรมชาติด้วย ในเรื่องการถกเถียงกันนี้ ประเด็นหนึ่งที่นักปรัชญาทั้งหลายตอบไม่ได้ หรือต่างเสนอทฤษฎีของตนนั่นคือ "เสรีภาพ" (freedom)


คำถามจึงเกิดขึ้นมว่า อะไรคือ "เสรีภาพ" มี ๓ กลุ่มหลักที่เถียงกันว่า เรามีเสรีภาพอยู่ไหม คำตอบคือ กลุ่มสมัยใหม่ตอบว่า มีมาแต่กำเนิด กลุ่มก่าๆ ตอบว่า ไม่มี เพราะถูกกำหนดโดยพระเจ้า อีกกลุ่มตอบว่า ขึ้นอยู่ที่เงื่อนไขหรือปัจจัยที่มนุษย์เอง แล้วเราจะเชื่อใคร นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มย่อยๆ อีกมากมาย ที่ถกกันไปมา จนหาข้อสรุปไม่ได้

อย่างไรก็ตาม คงต้องย้อนไปหาร่องรอยที่เกิดประเด็นขึนมาว่า มาจากไหน ในทางศาสนา เป็นแหล่งกำเนิดความคิดเรื่องนี้อยู่มาก เนื่องจากว่า ศาสนาเกิดมาจากความต้องการจะสื่อสารระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า


โดยอาศัยศาสนาพิธีเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงพระเจ้า เพื่อบอกหรือแจ้งเจตจำนงของพระองค์ต่อมนุษย์ ให้มนุษย์ทำตาม ต่อมาจึงเกิดคำสอนที่อิงกับพระเจ้าขึ้นโดยตรงเช่น ศาสนายูดาย คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ เป็นต้น นี่คือ ศาสนาที่เชื่อว่า มนุษย์ไม่มีวันอิสระจากพระเจ้าแน่นอน

ต่อมาผู้คนก็คิดดื้อต่อเทพเจ้าบ้าง ตั้งข้อสงสัยขึ้นบ้าง ต่อมาจึงกลายเป็นกลุ่มปรัชญาที่่แยกออกมาจากศาสนา เพื่อสานต่อความจริงและสะท้อนความเป็นจริงของมนุษย์ในแง่ "สัตว์ที่มีเหุตผล" มีความคิดเองได้ จึงกลายเป็นนักคิด ที่ไม่อิงศาสนา และพัฒนาไปไกลกว่าศาสนาด้วยเครื่องมือคือ "เหตุผล"


อย่างไรก็ตาม เยื่อใยศาสนาในปรัชญาก็ยังมีอยู่ เช่น ในสมัยยุคกลางตอนต้น นักเทวนิยมที่อิงหลักศาสนาบนปรัชญา ทำให้ทั้งสองเกลียวกันอย่างแน่นหนา นี่คือ รากฐานของศาสนาคริสต์ ที่อาศัยเหตุผล (ปรัชญาแบบวิทยาศาสตร์) เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความจริงเช่น พระเจ้า เสรีภาพ ความเป็นจริง ฯ

แต่เมื่อศาสนาแก้ปัญหาไม่ได้ ก็จะปล่อยนักปรัชญาถกเถียงกันต่อไป ตรงกันข้าม หากปรัชญาแก้ปัญหาไม่ได้ ้ท้ายสุดก็จะมอบภาระให้ศาสนาเป็นทางออกคือ แล้วแต่พระเจ้า แล้วแต่พรหมลิขิต นี่คือ ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและปรัชญาในเรื่อง "กิจกรรมของมนุษย์"


ที่จริงมันเป็นเรื่องกิจกรรมทางสมองของมนุษย์เองทั้งสิ้น พระเจ้ามิได้เกี่ยวข้องเลย พระเจ้าไม่ได้ยืนยัน หรือตอบโต้อะไรเลย นี่คือ จุดกำเนิดของข้อสังสัยที่มนุษย์ควรจะหันมามองศักยภาพของตนเองเสียใหม่ มองข้างในตัวเองว่า มีอะไรเป็นแก่นบ้าง

เรื่องนี้ จุดเปลี่ยนผันคือ ยุคกรีกแรกๆ คือ กลุ่มโฟซิสต์ ที่มองว่า มนุษย์มีคุณสมบัติในตัวเอง มีค่าในตัวเอง จึงมีคำกล่าวของกลุ่มนี้ว่า "Man is measure of things" คือ มนุษย์ถูกมองว่า เป็นศูนย์กลางในการจัดการหรือวัดสิ่งต่างๆ ได้ เป็นประโยคที่เปิดกระโหลกมนุษย์ให้รู้ตัวเองมากขึ้น


นักปรัชญายุคหลังก็อาศัยแนวคิดที่เชื่อว่าเป็น "มนุษยนิม" แต่ก็ยังไม่กล้ายอมรับร้อยเปอร์เซนต์ ยังมีเยื่อใยในพระเจ้าอยู่เช่น เพลโต ที่เชื่อว่า "ปฐมแบบ" คือ ภาคีหนึ่งของพระเจ้าที่เป็นจริง เป็นอมตะ ไร้กาล ไร้สถานที่ เป็นสิ่งที่แท้จริงที่อยู่ไหนก็ไม่รู้ แต่มนุษย์จะรับรู้ได้ สัมผัสได้ด้วยการเข้าถึงเหตุผล

ที่แยกแตกต่างออกไปคือ "อริสโตเติ้ล" ที่มองว่า โลกของสสารคือ จุดกำเนิดสรรพสิ่ง และแต่ละสิ่งมีฟอร์ม (แบบ) เป็นของตัวเอง และมีศักย์ในตัวเองเรียกว่า "เหตุ" สิ่งนี้คือ สิ่งที่ถือว่า เป็นจุดกำเนิดในพลังอำนาจของมนุษย์เองและเป็นลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์


ในสายปรัชญาจึงถือเอาแนวคิดของ "เพลโตและอริสโตเติ้ล" เป็นจุดขยายทัศนะออกไปมากมายหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่อง "เสรีภาพของมนุษย์" จนมาถึงยุค"เดวิด ฮูม" ที่เชื่อว่า เสรีภาพมาจาก มนุษย์ (ที่รวมกันเป็นพลังประชาชน) คล้ายกับ "รุสโซ" มองว่า มาจากต้นกำเนิดของมนุษย์ตั้งแต่เกิด

ส่วน "ค้านท์" มองว่า มนุษย์จะมีเสรีภาพได้ ต้องมีศีลธรรม กฎหมาย ของสังคม ซึ่งต่างจาก "โชเป็น ฮาวเอร์" ว่า เสรีภาพ มาจากการปฏิเสธเจตจำนงที่ความอยาก และคล้ายกับ "ซิกมันด์ ฟรอยด์" ที่ว่า เสรีภาพนั้นหายากเพราะมีปมดำเขื่องจากสัญชาตญาณอยู่ สอดคล้องกับหลวงพ่อพุทธทาสที่ว่า เพราะยึดใน "ตัวกู ของกู" จึงอยู่ในติดคุกของอัตตาตนเอง


(๒) จะเห็นได้ว่า "เสรีภาพ" เป็นคุณลักษณ์ที่มนุษย์เรียกร้อง ค้นหามานานแล้ว เพื่อออกจากพระเจ้า เพื่อออกจากตัวเอง และเพื่อออกจากกิเลสในใจตนเอง ที่จริง ในอดีตมันไม่ได้เด่นจนกลายเป็นกระขวนการการเมือง การปกครอง เพราะยังอยู่ในวงปรัชญาเท่านั้น

แต่พอถึงศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ นั่นแหละคำนี้ ผู้คนแสวงหาอย่างเข้มข้น เพราะอยู่ในช่วงเป็นทาส อยู่ในจักวรรดิหรืออาณานิคมของประเทศที่มี่อำนาจอยู่ จึงต้องการเสรีภาพ เช่น ในยุคแสงสว่าง และยุคเรเนซอง นั่นคือ การเรียกร้องหาเสรีภาพอย่างอิสระเพื่อตัวเอง เช่น อเมริกา ประเทศที่อยู่ในอาณานิคมของอังกฤษ โปตุเกส ฝรั่งเศส เป็นต้น


ความปั่นป่วนทางการเมือง การปกครองของโลก เริ่มขยับหาคำว่า "อิสระ" (Independence) เพื่อแสดงความเป็นตัวตนเด่นขึ้น จนกระทบไปทั่วโลก ที่เรียกร้องหาเสรีภาพจนเกิดสงครามขึ้น เช่น อเมริกา อินเดีย สิงคโปร ฮ่องกง ไต้หวัน ธิเบต เวียดนาม ลาว ฯ ประเทศเหล่านี้ต้องการอิสรภาพแก่ประเทศของตน

ส่วนหนึ่งมาจากระบบการปกครองประเทศทั่วโลกที่มีครรลองใหญ่ๆอยู่ ๓ ทางคือ ๑) ระบบเผด็จการ เช่น ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เผด็จการแบบคนเดียวหรือกลุ่มคณะ ๒) แบบประชาธิปไตย เช่น ปกครองโดยตรงของประชาชนเลือกเอง อีกระบบเลือกตัวแทน (สส.) ไปทำหน้าที่แทน ๓) ระบบสังคมนิยม เช่น แบบกลุ่มเดียวคณะเดียว หรือแบบผสมผสานกับเอกชน


ระบบการปกครองเหล่านี้ เป็นปัจจัยบีบคั้นให้ประชาชนถูกกดขี่ ถูกเอารัดเอาเปรียบ จนกลายเป็นการแบ่งชนชั้น วรรณะ เหมือนในอินเดีย ทำให้เกิดคำว่า บ่าวและไพร่ขึ้นมา ทำให้บ่าวหรือทาสกลายเป็นผู้ไร้สิทธิ เสรีภาพของตนเอง เพราะต้องถูกขายเป็นทาสของคนชั้นสูง เช่น การค้าทาสในอเมริกาใต้ ให้แก่คนผิวขาวตอนเหนือ จนเกิดปัญหาสงครามกลางเมืองมาแล้ว

ความเคียดแค้นและการกดขี่นี่เอง ที่สร้างแรงกระทบใจคนจนกลายเป็นคลื่นพลังในการล้มล้าง ต่อต้านชนชั้นสูงเช่น กษัตริย์ และนักปกครองขึ้น ทำให้มีการท้าทายอำนาจและเกิดกบฏ เกิดความคิดล้มล้างระบบขึ้นไปทั่วโลก เพื่อปลดแอกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ขึ้น


ที่มาของการเกิดสงครามโลก ก็เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานนี้ด้วย จากนั้น ประเทศเล็กๆ ที่ถูกไล่ล่าอาณานิคม ก็มีปฏิกิริยาในการเรียกร้องเสรีภาพขึ้น เช่น อเมริกาคือ ประเทศนำร่องที่เรียกร้องเสรีภาพจากอังกฤษ จนได้รับเอกราช และได้สร้างเทพีสันติภาพขึ้น

อินเดียวเองเป็นเทศที่มีวัฒนธรรมแผ่ขยายทั่วเอชีย แต่พออังกฤษเข้ามาครองแล้ว ก็เกิดต่อต้านและแยกประเทศออกไปเป็นประเทศต่างๆ (บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา อาฟกานิสถาน) ในจีน ก็มีรัฐปกครองพิเศษเช่น ธิเบต ส่วนไต้หวัน ฮ่องกง ถูกอังกฤษปกครอง พอพ้นกำหนดก็เรียกร้องอิสรภาพบ้าง แต่จีนไม่ยอม


แม้แต่แถบเอเชียอาคะเนย์ ก็มีอังกฤษ เช่น เวียดนาม ลาว พม่า มาเลเซีย ฝรั่งเศสและโปตุเกสปกครองอยู่ หลังจากเรียกร้องเอกราชจากต่างชาติเหล่านี้ ประเทศต่างๆ ก็ได้อิสรภาพคืนมา ส่วนประเทศไทยกลับต้องสูญเสียดินแดน เพื่อความเป็นเอกราชของตนในรัชสมัย ร.๕

และในเวลาต่อมา ร. ๕ ก็ประกาศเลิกทาส เพื่อผ่อนปรนความเข้มข้นเรื่อง การกดขี่ประชาชน เพื่อให้สิทธิเสรีภาพของมนุษย์ นั่นคือ จุดเริ่มต้นของการเรียร้อง เสรีภาพส่วนปัจเจกบุคคลต่อมา ทำให้สังคมโลกยุคใหม่ เกิดท้าทายและเกิดการแอนตี้ยุคเก่าอย่างสูงขึ้น เกิดการวิพากษ์ วิจารณ์อย่างหนัก


ในที่สุดก็เกิดยุคโพสต์โมเดินขึ้นมา (Postmodern) ที่เน้นการปฏิเสธแบบเก่าและแบบใหม่ แต่เน้นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลขึ้น แนวคิดนี้จุดเริ่มจริงๆ มาจากนักปรัชญาสำคัญๆ ที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ โชเปน ฮาวเออร์ ไฮเดกเกอร์ นิเช่ จนถึงไลโอตาร์ดที่มองว่า แนวคิดเก่านั้น ไม่ทันสมัย ต้องรื้อโครงสร้างสังคม วัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาแทน เรียกว่า แนวคิดแบบ "รื้อโครงสรา้ง" ใหม่

นี่คือ กระแสความคิดของสังคมมนุษย์ ที่สุดก็มาลงที่ตนเอง คือขยายเอาอัตตา ตัวตนของคนบนดิน บนโลกใบนี้ ให้เป็นจุดที่ยิ่งใหญ่แทน ดังนั้น เสรีภาพของโลก จึงกลายเป็นเสรีภาพของประชาชนพลโลกหรือสังคมโลก ที่เน้นอิสระในตัวเอง มีเสรีภาพในการแสดงออกเช่น การกระทำ การพูด การคิด โดยไม่มีกำแพงกั้นหรือไม่มีเยื่อใยจากพระเจ้าเลย


(๓) เสรีภาพ จึงมาจบที่จิตใจหรือความจริงในใจของมนุษย์ ในแง่นี้ เราใช้กรรมสิทธิ์ในการอ้างว่า มีสิทธิในตัวเอง ในร่างกายของตนเองอย่างแท้จริง เมื่อเราอ้างได้ เรากลับไปหลงและคิดว่า อำนาจเสรีภาพที่ได้มานั้น เป็นสิ่งสมบูรณ์แบบ เป็นสิ่งมีเหนือสิ่งอื่น เราจึงใช้เสรีภาพแสดงออกอย่างไม่มีลิมิต จนเกินขอบเขต

ทำให้เราต้องเสียอำนาจในการใช้สิทธิของตนเองไป เนื่องจากไปละเมิดสิทธิคนอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ มีต้องมีกฎหมายรัฐธรรมรับรอง และมีบทลงโทษบุคคลที่ใช้สิทธิเกินขอบเขตด้วย เมื่อทำผิดก็ต้องถูกลงโทษ การลงโทษต้องถูกจับติดคุก ติดตาราง แล้วเราจะมีอิสรภาพได้อย่างไร


ในแง่อีกมิติหนึ่ง หากยึดเอาใจเป็นที่รองรับเสรีภาพ ในแง่นี้พระพุทธศาสนามองว่า เรามีอิสระจากสิ่งผูกมัดอย่างไร เรามีเสรีภาพที่บริสุทธิ์หรือหมดจดอย่างไร ในเมื่อเราถูกกิเลส ตัณหา สัญชาตญาณหลอกหลอนและกระตุ้นให้เป็นไปตามพวกมันอยู่ ส่วนไหนที่ถือว่า อิสระเล่า

แนวคิดดังกล่าวโชเปน ฮาวเออร์ได้ขยายว่า ที่เราไม่มีอิสระ ไม่มีเสรีภาพ เนื่องมาจากเรามี "เจตจำนงตาบอด" (Blind Will) คือ มีเจตจำนงเพื่อการปกป้อง รักษาชีวิตตัวเอง เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดเท่านั้น เหมือนกับสัตว์โลกชนิดอื่นๆ เช่น นก ปลา สุนัข หมู งู เต่า ฯ พวกมันยังมีสัญชาตญาณในการนำพาชีวิตตน เพื่อความอยู่รอด มิใช่เพื่ออิสรภาพ


ฉะนั้น เขากล่าวว่า ความคิดของคนหนึ่งคือ จะถูกส่งผ่านมาทางกายภาพ เพื่อกระตุ้นให้กายตอบสนองความคิดนั่น ความคิดที่ว่า คือ "เจตจำนง" (Will) ที่อยากไม่รู้จบสิ้น เหมือนตัณหาในพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ กาย จึงเป็นแค่ตัวแทนหรือผู้รับรอง ผู้สนองความคิด ความอยากที่ไม่มีวันสิ้นสุด

ดังนั้น เราจึงไม่มีเสรีภาพในตัวเองจริง ถ้าจะมีก็ต้องทำลายความอยากนี้เสีย ก่อนหน้านี้ รุสโซ ได้กล่าวว่า "เราเกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ แต่เราก็ถูกโซ่ล่ามไปทุกๆ ที่เหมือนกัน" แสดงว่า ไม่มีเสรีภาพจริงๆ ในโลก เพราะกายคือ อุปสรรคต่อการได้รับเสรีภาพ เพราะมันมีกฎที่ต้องเป็นไปอย่างเสรีของมัน (แก่ ตาย)


อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ก็มีนักคิดค้านว่า เรามีเสรีภาพ "ด้วย" ตัวเอง ไม่ว่า จะพูด คิด ทำ เราสามารถทำได้ โดยไม่มีระงับยับยั้งได้ ไม่มีใครบังคับได้ นี่คือ อิสรภาพที่แท้จริงของทุกคนที่มีมาแต่กำเนิด ถ้าเช่นนั้น เราก็สามารถด่า ตี คิดชั่วกับคนอื่นได้อย่างเสรีด้วย ต่างกับคำว่า มีเสรีภาพ "จาก" ซึ่งแสดงว่า เรามีแล้วข้างใน (พระเจ้า?)

ถ้าเช่นนั้น เราจะต่างอะไรกับเราถูกจับขัง เพราะการกระทำเช่นนั้น บ่อยๆ เข้า จนเหลิง แล้วก็จะกลายเป็นเหตุเป็นนิสัยให้เราพลาดพลั้งในการทำชั่ว จนผิดกฎหมาย และถูกลงโทษด้วยการติดคุกหรือประหารชีวิต นี่คือ การอ้างเอาสิทธิขั้นพื้นฐานของปัจเจกบุคคลอย่างเสรี


เสรีภาพแบบโลกคือ ต้องเสรีภาพจากการติดพันธนาการใดๆทางกาย ทางกฎหมาย และทางปัญญา ตามทัศนะของโชเปนาวเออร์ แต่ผู้เขียนว่า เสรีภาพทางโลกต้องประกอบด้วย ๑) การไม่ยึดติดสิ่งใดอย่างถาวร แม้แต่กาย ใจของตนเอง ๒) ไม่ติดในสัญชาตญาณ จนอ้างมั่วๆว่า เพื่อเอาตัวรอด นิสัยส่วนตัว

๓) เสรีภาพไม่ติดในภพของโลก ไม่พอใจหรือหลงโลก ๔) ไม่หลงติดในวัฒนธรรม ประเพณีแบบนั้นจนล้างหรือปลดไม่ได้ ๕) ไม่หลงในภาษาที่พูด ที่สื่อออกมาจนเกินไป ๖) ไม่ถูกจองจำด้วยอาญาใดๆ อันจะทำให้หมดอิสรภาพ เสรีภาพได้ นี่คือ รัศมีเสรีภาพในโลก


นอกจากนี้ ยังมีเสรีภาพทางจิตวิญญาณที่เราควรมีอีกนั่นคือ ๑) หลุดพ้นจากแนวคิดเรื่องพระเจ้าที่มีอำนาจเหนือเรา ๒) ไม่ยึดในอัตตาตัวตน จนเกินไป ๓) ไม่หลงตามอวิชชา ความไม่รู้ จนทำให้ปัญญามืดบอด ๔) ไม่หลงในคำว่า เสรีภาพ ในตัวมันเอง เพราะตัวมันเองไม่มีผู้รับรอง เป็นเพียงสภาวะเท่านั้น ใจหรือบุคคลต่างหากที่จะแสดงอาการได้ ๕) เข้าถึงสภาวะที่เรียกว่า ดับ"อย่างสมบูรณ์" (นิพพาน)

(๔) ดังนั้น เสรีภาพที่กล่าวมาล้วนเป็นเพียงเล่นวาทกรรมกันเท่านั้น แต่สภาวะที่เป็นจริง ยังไม่ปรากฎ เสรีภาพจริงๆ ตามพุทธทัศน์คือ บนพื้นฐานพระพุทธศาสนาที่ดึงเอามาจากศักยภาพแท้ๆ ของมนุษย์ ที่ฝึกฝนตนเองจนเป็นแก่น เป็นผลึกจนเป็นเพชรออกมานั้นคือ "เสรีภาพจริง"


พูดอย่างนี้ อาจกล่าวเกินไป เพราะปัจจุบัน เราไม่มีหลักฐานบุคคลที่ชัดเจนว่าเป็นผู้บรรลุเสรีภาพที่สมบูรณ์ แต่จะเทียบเอาสภาวะทางจิตของผู้ปฏิบัติให้เห็นเป็นจริงเชิงวิทยาศาสตร์เช่น หากเรากำหนดต้นคิด ต้นกรรม ก่อนแสดงกายกรรมออกมา เราจะตั้งเจตจำนงไว้อย่างดีก่อน จึงส่งผลออกมา

เช่น ในขณะเรานั่งเงียบๆ คนเดียว เห็นยุงมาเกาะแขน สายตาเห็นแล้ว โดยสัญชาตญาณเรากลัวว่า ยุ่งคือพาหะนำโรคมาสู่คน จึงต้องกำจัดก่อน จึงต้องตบมันก่อนมันจะกัด ความคิดเช่นนั้น เป็นกระบวนการทางระบบประสาท ไปถึงข้อมูลเก่าในสมอง แล้วป้อนผลออกมา


เมื่อเราลงมือกระทำลงไปโดยเจตนานั้น ก็หมายถึง เราถูกสัญชาตญาณนั้นครอบงำ โดยไม่มีเสรีภาพที่จะคิดปล่อยวางหรือไล่ไป ตรงกันข้ามหากเรารู้เห็นว่ายุ่งนั้น กำลังเกาะอยู่ แล้วตั้งเจตจำนงก่อนเคลื่อนไหวมือ เพื่อจะลูบไล้ด้วยสติรู้ทันไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวของกายนั้น จนถึงยุง เพื่อไล่มันไป

นั่นคือ เสรีภาพทางสัญชาตญาณ ที่รู้ตัว จึงไม่มีผลกรรม ไม่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสัตว์นั้นด้วย ในขณะเดียวกัน ถ้าเรานำเอาวิธีการนี้มาใช้กับเจตจำนงของเราทุกๆ ขณะการเคลื่อนไหว โดยให้มีสติ ปัญญากำกับเสมอ นั่นคือ ความรู้ตัวของกาย เป็นการตั้งเจตนา หรือวางเจตนำนงอย่างอิสระ ที่ถูกต้องด้วยตัวเองอย่างแท้จริง


แต่กระนั้น เสรีภาพดังกล่าวก็ไม่ใช่เสรีภาพที่หมดจดในพระพุทธศาสนา ที่เน้นการหลักการหรือขั้นตอนการ "ฝึกฝน" จิต ให้คุ้นเคยกับคำว่า "สภาวะกลางๆ" ของสภาวะจิต ที่อยู่เหนือสัญชาตญาณ โดยอาศัยสติ ปัญญา เป็นตัวกำกับ เพื่อดำเนินไปสู่ความรู้แจ้งทางจิตวิญญาณอันหมดจด

ดั่งที่พระพุทธองค์ค้นพบสัจธรรมของชีวิตที่ลุ่มลึกในศักย์ของมนุษย์ ในวันวิสาขบูชานี้ ส่วนเสรีภาพตามนักปรัชญาที่กล่าวนั้น เป็นเสรีภาพเชิงทัศนะคติหรือเชิงวาทกรรม มิใช่ออกมาจากการฝึกฝน เหลาจิต เกลาจิตให้สวยงามดีเลิศ จนเกิดสภาวะธรรมล้นออกมา


โดยมีเส้นทางการฝึกฝนเช่น สมถะ วิปัสสนา ซึ่งทั้งหมดนั้น ก็อิงกายภาพอยู่เอง เพราะกายคือ ที่อิงของจิต จิตต้องอาศัยกายให้ดำเนินไปตามขั้นตอน (การฝึก) อย่างเข้มข้น พูดง่ายๆ คือ กายเป็นเครื่องมือของเสรีภาพสมบูรณ์แบบ เมื่อจิตผ่านพ้นอุปสรรคกายได้ เห็นและเข้าใจสัจธรรมผ่านกายได้นั่นคือ "เสรีภาวะของพุทธทัศน์" (Freedom on Buddhist perspective)

นี่คือ แก่นมนุษย์ที่ถูกเปิดเผยโดยพระพุทธเจ้า ที่นักปรัชญาทั้งหลายโต้เถียงกันว่า เรามีเสรีภาพแท้ๆ หรือไม่ ที่ผู้คนปัจจุบันเที่ยวเรียกร้องค้นหากันอย่างหลงตัวว่า การไม่มีใครขัด ไม่มีอุปสรรคทางกาย ทางใจ ทางกฎหมายนั่นคือ เสรีภาพของประชาชน นั่นถือว่า เข้าใจผิด


เนื่องจาก พระพุทธศาสนามิได้ถือว่า เป็นเสรีภาพ หากแต่เป็นการเติมไฟให้ตัณหาลุกโชน จนไหม้ตัวเอง ทำร้ายตัวเอง อวดตัวเอง จนไม่รู้ว่า อิสระจากกิเลสและทุกข์คืออะไร พระพุทธศาสนาเน้นที่การดับทุกข์แบบถาวร ดับวัฎฎะอย่างถาวรนั่นคือ "อิสรภาพสมบูรณ์แบบ" (Absolute Freedom) ที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ ที่พระพุทธองค์เผยในวันนี้

คำสำคัญ (Tags): #เสรีภาพ
หมายเลขบันทึก: 606923เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาอ่านและแจ้งว่าอาจารย์ ส รัตนศักดิ์ว่า

ประเด็นการประชุมค่อนข้างหลากหลาย แต่หัวข้อการกระชุมที่ท่าน พระมหาหรรษา,รศ.ดร. นำเสนอคือ Wisdom for a Harmonious and Awakening Society มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง peace ในแต่ละประเทศ อยากให้อาจารย์มาจังเลย งานนี้จะไปต่อที่ งาน VESAK ที่ มหาจุฬาฯครับ

ขอบคุณมากๆครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท