โครงการนิสิต LA _ ๐๔ : หน้าที่พื้นฐาน ๕ ประการของนิสิต LA


บันทึกเกี่ยวกับ "นิสิต LA" ครั้งล่าสุด ผมเล่าเรื่อง กระบวนการรับสมัครและพัฒนานิสิตผู้ช่วยอาจารย์ อ่านได้(ที่นี่) ครั้งนี้มีรายละเอียดในส่วนการฝึกอบรมนิสิตช่วยงานที่คุณภาณุพงศ์ (น้องอุ้ม) ผู้รับผิดชอบ ส่งมาให้ ผมคิดว่าการอบรมฯ ครั้งนี้พัฒนาขึ้นจาก ๒ ครั้งที่ผ่านพอสมควร น่าจะสามารถนำมาแลกเปลี่ยนแบ่งปัน น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจหรืออาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง "นิสิต LA" ได้ไม่มากก็คงไม่น้อย

ภาพรวมการะบวนการ

หลังจากกระบวนการรับสมัคร -> ภาคเช้าสอบสัมภาษณ์-> ภาคบ่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการเกริ่นที่เหตุผล ๕ ประการที่ต้องมี LA (อ่านได้ที่นี่) -> อธิบายหน้าที่พื้นฐาน ๕ ประการของนิสิต LA -> แนวปฏิบัติในการทำหน้าที่นิสิต LA ได้แก่ วิธีการเตรียมไฟล์ Excel ->วิธีการกรอกคะแนน ->วิธีการเช็คชื่อภายใน ๑๕ นาที ->วิธีการประกาศคะแนน -> วิธีการเปิดปิดอุปกรณ์เครื่องฉายและไมค์-> คุณลักษณะเน้นสำหรับการเป็นนิสิต LA ดังมีสาระในแต่ละขั้นตอน ดังนี้

หน้าที่พื้นฐาน ๕ ประการของนิสิต LA

๑) ช่วย "เช็คชื่อ" คือ ตรวจสอบการเข้าเรียนหรือการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิต เพื่อปลูกวินัยและความรับผิดชอบของนิสิต และส่งเสริมทักษะชีวิตด้านคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ระเบียบเครื่องแต่งกาย ฯลฯ โดยในเบื้องต้นนี้ ให้เป็นดุลพินิจของอาจารย์ผู้สอนว่าจะกำหนดเกณฑ์ในการประเมินอย่างไรในแต่ละด้าน

๒) ช่วยกรอกคะแนน คือ การนำเอาใบงาน การบ้าน หรือชิ้นงาน หรือผลงาน จากกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งอาจารย์ตรวจให้คะแนนแล้ว มากรอกคะแนนลงในใบรายชื่อ และบันทึกลงในไฟล์ Excel เพื่อให้สะดวกต่ออาจารย์ ในการ Import ลงในระบบทะเบียนของนิสิตต่อไป

๓) ประกาศคะแนน หรือประสานให้นิสิตเข้าตรวจสอบคะแนนเก็บ เป็นระยะ หรืออย่างน้อย 1 ครั้งก่อนจะสอบปลายภาค เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการส่งงานและผู้ตรวจงาน ให้แน่ใจว่า ไม่มีงานที่ส่งแต่อาจารย์ไม่ได้ลงบันทึกคะแนน โดยกำหนดช่วงเวลาที่นิสิตสามารถมาแจ้งกับนิสิต LA ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมแจ้งให้อาจารย์ทราบ และ/หรือ ประสานไปยังนิสิตทุกคนให้เข้าดูคะแนนของตนในระบบเมื่ออาจารย์นำคะแนนลงในระบบแล้ว หากเลยช่วงเวลาดังกล่าว ให้ถือว่านิสิตยอมรับว่าคะแนนนั้นถูกต้อง ไม่มีสิทธิ์ร้องเรียนในภายหลัง การใช้สื่อสังคมออนไลน์เช่น Facebook ทำให้การติดต่อประสานระหว่างนิสิต LA กับนิสิตผู้เรียนทุกคนสามารถทำได้

๔) ช่วยเปิดสื่ออุปกรณ์ เตรียมความพร้อมของห้องเรียน ก่อนอาจารย์จะเข้าสอน

๕) ช่วยปิดสื่อโสตทัศน์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อแน่ใจว่า ไม่มีผู้ใช้ห้องเรียนต่อหน้าที่ 5

ประการนี้ ถูกกำหนดขึ้นด้วยความตั้งใจ จะช่วยแบ่งเบาภาระงานของอาจารย์ผู้สอนกลุ่มใหญ่ เพื่อทำให้อาจารย์ได้มีเวลาในการเตรียมการสอน และออกแบบปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น และหวังจะเป็นกลไกหนึ่งในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการของสำนักศึกษาทั่วไป เอื้อให้อาจารย์ได้สอนในห้องเรียนที่พร้อมที่สุด และใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอย่างคุ้มค่าที่สุด

บันทึกหน้า มาว่าเรื่องแนวปฏิบัติต่อของนิสิต LA กันต่อครับ


คำสำคัญ (Tags): #นิสิต LA
หมายเลขบันทึก: 606873เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท