การปฏิรูปการศึกษาไทย (ตอนที่ ๓)


ดัชนีชี้วัด (KPI) ความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย

ผมคิดว่าเราไม่ควรให้ความสนใจแต่ดัชนีชี้วัดความสำเร็จเพียงอย่างเดียว เราคงจะต้องสนใจดัชนีชี้วัดความล้มเหลวด้วย เพื่อนำทั้งสองด้านมาปรับปรุงพัฒนาและปฏิรูประบบการศึกษาของไทย

ผมไม่ทราบว่ากระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานไหน จะมีตัวเลขดัชนีชี้วัดความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย เหล่านี้บ้างหรือเปล่า ผมเชื่อว่าบางตัวเลขคงจะมีอยู่แล้ว

การบริหารจัดการที่ดีน่าจะมีตัวเลขที่เชื่อถือได้แบบเรียลไทม์ ไม่ต้องมาคอยนั่งสำรวจกันเป็นครั้งๆ ไป และควรเอามาใช้ประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาไทย เพื่อดูแนวโน้มว่าเพิ่มขึ้น คงที่ หรือลดลง ด้วยเหตุปัจจัยอะไร และผู้บริหารประเทศจะต้องทำอะไรหรือไม่และอย่างไร

๑. ตัวเลขเด็กไทยต้องกวดวิชาทั้งหมด ๒. ค่าใชัจ่ายของผู้ปกครองที่เพิ่มขึ้นและเป็นหนี้ในแต่ละครอบครัว (อย่างที่ ศ.ดร. สมพงษ์ จิตระดับ ท่านสำรวจ) ๓. จำนวนโรงเรียนกวดวิชาทั้งหมด ๔. รายได้ของโรงเรียนกวดวิชา ๕. อัตราการเจริญเติบโตของโรงเรียนกวดวิชา ๖. เด็กหาที่เรียนไม่ได้ทั้งหมด ๗. เด็กหลุดออกไปจากระบบการศึกษาทั้งหมด ๘. เด็กเข้าเรียนมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ไม่ได้ ๙. เด็กเข้าเรียนมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ แล้วไม่จบ ๑๐. เด็กจบมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ แล้ว ไม่มีงานทำ รวมหมดทั้ง ปวช. ปวส. ป.ตรี ป.โท และป.เอก ด้วย ฯลฯ

ประเทศไทยคงจะต้องแก้ปัญหาความล้มเหลวของระบบการศึกษา โดยใช้หลักฐานข้อมูลตามดัชนีชี้วัดความล้มเหลวเหล่านี้ ควบคู่กับการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เพื่อให้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ในการปฏิรูปการศึกษาไทย

หมายเลขบันทึก: 606016เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท