การปฏิรูปคุก (Prison Reform)


การปฏิรูปคุก (Prison Reform) จะต้องคำนึงถึงกรอบแนวคิดในเรื่อง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลักสิทธิมนุษยชน ............

การปฏิรูปคุก (Prison Reform) ข้อมูลจากรายงานวิจัย เรื่อง แนวทางการปฏิรูปคุก (Guidance Notes on Prison Reform) ของศูนย์การศึกษาคุกนานาชาติ มหาวิทยาลัย คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ๒๐๐๔ พบ แนวคิด ในการปฏิบัติต่อนักโทษจะต้องคำนึงถึง สิทธิ เสรีภาพ และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ว่าด้วยสิทธิพลเมือง และ สิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๐ และ การปฏิบัติต่อนักโทษตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับนโยบายคุก กฎระเบียบคุก และ การปฏิบัติงานคุก บนพื้นฐานของพันธะสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการสร้างเครือข่ายและการบริหารทรัพยากร และ เพื่อการเผยแพร่หลักการปฏิบัติในการบริหารจัดการคุกที่ดีที่สุดทั่วโลก เช่น หลักการปฏิบัติต่อนักโทษอย่างมีมนุษยธรรม การใช้จ่ายงบประมาณคุกอย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูปคุกในบริบทของสิทธิมนุษยชน และ เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิบัติที่ดีจากภาคส่วนต่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้าน ผลการศึกษา พบประเด็นปัญหาที่จะต้องปฏิรูปคุกในเรื่องต่างๆ เช่น ปัญหานักโทษล้นคุก ปัญหาการควบคุมผู้ต้องระหว่างการพิจารณาคดี ปัญหาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายคุก ปัญหาสิทธิมนุษยชน การออกแบบโครงการ ตัวชี้วัด และ การประเมินผลโครงการ การบริหารจัดการคุก การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การปฏิบัติต่อกลุ่มนักโทษที่เฉพาะเจาะจง ทั้งผู้หญิง เด็ก และ นักโทษชาวต่างชาติ การพัฒนาระบบการจำคุกทางเลือก การปฏิรูปคุกตามเจตจำนงทางการเมือง การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ และ การดูแลสุขภาพนักโทษ เป็นต้น และ ข้อเสนอแนะ ในการปฏิรูปคุกควรจะเป็นการปฏิรูปเชิงกลยุทธ์ และ มีการคำนึงถึงความยุติธรรมทางอาญาทางสังคม บริบททางการเมือง และ การได้รับสนับสนุนจากภาคประชาสังคม และ รัฐสภา

โดยสรุป

การปฏิรูปคุก (Prison Reform) จะต้องคำนึงถึงแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ อย่างน้อย ๒ ประการ คือ ๑) กรอบแนวคิดในเรื่อง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ หลักสิทธิมนุษยชน และ ๒) ในส่วนของข้อเสนอแนะ ที่จะต้องคำนึงถึงความยุติธรรมทางอาญาทางสังคม บริบททางการเมือง และ การได้รับสนับสนุนจากภาคประชาสังคม และ รัฐสภา โดยเฉพาะข้อเสนอแนะ นั้น เป็นข้อเสนอแนะที่แอบแฝง หรือ แอบซ่อน ความหมายที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการปฏิบัติงานคุก เช่น กรณีของประเทศไทยที่เกิดปรากฏการณ์ผู้กระทำผิดไม่กลัวคุก จึงเป็นกรณีที่จะต้องทบทวน ตามข้อ ๒) ว่าเป็นเพราะเหตุใด และ ในต่างประเทศแก้ไขปัญหา ดังกล่าว อย่างไร พบว่า ในต่างประเทศ ได้เน้นการใช้ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน โดยใช้ แนวคิดในการดัดสันดานนักโทษ โดยให้นักโทษทำงานหนักในเวลากลางวัน และ พักผ่อนในเวลากลางคืน เช่น รัสเซีย จีน เยอรมัน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น และ แนวคิดคุกขี้ไก่ ของไทยในสมัยที่ฝรั่งเศสยึดครองเมืองจันทบุรี ก็เป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย สามารถที่จะกระทำได้ตามสภาพบริบททางการเมือง การได้รับสนับสนุนจากภาคประชาสังคม และ รัฐสภา และ เป็นหน้าที่ฝ่ายกระบวนการยุติธรรม และ ผู้เกี่ยวข้องของประเทศไทย ที่จะต้องรีบหาทางแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ต่อไป


...............

วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙


อ้างอิง

ข้อมูลเนื้อหาจากรายงานวิจัย เรื่อง แนวทางการปฏิรูปคุก (Guidance Notes on Prison Reform) ของศูนย์การศึกษาคุกนานาชาติ มหาวิทยาลัย คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน 2004

ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://prisonreform777.blogspot.com/2015/05/prison...

เว็บไซต์ http://www.neontommy.com/news/2014/04/more-overcro...


หมายเลขบันทึก: 606010เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ ผศ.ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ เป็นอย่างมากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผม ด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท