จริยธรรมที่แท้ จากคุณธรรมที่แท้


จริยธรรมที่แท้จากคุณธรรมที่แท้

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม2559 ผมมีโอกาสเข้าไปในชุมชนแห่งหนึ่ง เห็นตู้เก็บอุปกณ์สำหรับใช้กับอาหาร น้ำดื่ม. ที่ภาษาทางวิชาการเรียกว่าอุปกรณ์สัมผัสอาหาร มีแก้วน้ำ จานชาม วางเป็นระเบียบทุกตู้ทุกซอกซอย พร้อมแขวนผ้าที่ขาวสะอาดที่ฝาตู้ เผื่อไว้สำหรับเช็ดก่อนเก็บ
มีกระดาษเขียนเตือนใจให้ผู้ที่จะนำอุปกรณ์นี้ มาเก็บ ว่า อย่านำอุปกรณ์ที่ชื้นหรือไม่แห้งสนิทมาเก็บ
ที่ศาลาหรืออาคารโรงล้างจาน แบ่งสัดส่วนสำหรับที่ล้างผักที่ล้างจานที่ล้างแก้ว
พร้อมเขียนจุดที่แยกขยะที่ล้างน้ำยาล้างจานที่ล้างน้ำสะอาดจุดที่หนึ่ง(น้ำหนึ่ง). ที่ล้างน้ำสะอาดจุดี่สอง(น้ำสอง)
ด้านข้างของโรงอาหารมีจุดที่ทิ้งขยะสดขยะแห้ง
มีถังสำหรับนำเศษอาหารไปหมักทำปุ๋ย. ทำน้ำอินทรีย์เข้มข้นที่เรียกว่าอีเอ็ม
สอบถามที่มาที่ไปก็พบว่า
ชุมชนแห่งนี้เห็นตามความจริงที่ว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมมาเบียดบังความสะดวกสบายต่อการเป็นอยู่ จะได้ใช้เวลาที่มีอยู่สร้างสรรพัฒนาตนเอง. ให้เกิดสติปัญญา ใจก็จะได้รับผลแห่งความสุขอิสระ
ไม่ว่าจะลองดูสถานที่ต่าง ๆ ที่นี่ก็เช่นเดียวกัน
มีความสะอาดสะอ้าน. สะดวกสบาย ไม่รกหูรกตา
ผมถามที่มาที่ไปก็พบว่า ที่นี่ยึดตามหลักความจริงที่เป็นฐานนำสู่การปฏิบัติว่า หากทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดพิษภัยหรือมลภาวะ ย่อมนำสู่การเป็นแหล่งสะสมการเพาะพันธ์ของสัตว์แมลงนำโรค
ที่นี่ไม่กินอาหารที่มาจากโรงงานที่แพคเป็นกระป๋องหรือเป็นกล่องและเขียนว่าสารปรุงแต่ง เพราะเชื่อว่าการกินอาหารสดที่มาจากการเพาะปลูกโดยไม่ผ่านสารเคมีใดๆ. โอกาสที่จะรับพิษภัยจากสิ่วแวดล้อมย่อมน้อยหรือแทบไม่มี
การทำสิ่งที่เกิดผลดีต่อกาย จนเกื้อกูลสู่การเป็นอยู่อย่างปลอดภัยสะดวกสบายสู่การใช้ชีวิตที่ดีงาม ที่มาจากเห็นความจริงด้วยความรู้ชัดถึงผลลัพท์เป็นโทษ. รู้เท่าทันในเหตุที่นำสู่การเป็นอยู่อย่างมีสุขภาวะที่ดี นี้ ท่านอาจารย์พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) ได้เขียนแนะนำในหนังสือสุขภาพแบบองค์รวมว่าเป็นการทำในสิ่งที่เกิดคุณค่าแท้ คือเห็นจริงตรงตามจริง มิใช่ได้มาเพราะการลงความเห็นของหมู่ชน ที่ใช้แค่ประสบการณ์ความรู้สึกความคิดเห็น
ท่านอาจารย์ประยุทธ ปยุตฺโต. ระบุในปาฐกถาธรรมหลายแห่งตามแนวทางของพุทธรรมว่า เมื่อใดที่เราเห็นสัจจธรรมด้วยปัญญา. ปัญญาจะนำให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นทางที่เกื้อกูลสู่ชีวิตที่มีแต่เจริญขึ้น ไร้ทุกข์ ลดปัญหาที่บีบคั้นกายใจ ซึ่งก็คือทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา. ทางสายกลางหรือที่เรียกว่าพรหมจรรย์แต่เดิมนั้นในสมัยยุคร่วมปัจจุบันก็เทียบเคียง คือ จริยธรรม ตัวปัญญาคือคุณธรรมที่กำกับใจให้เห็นถูก
การลงความเห็นด้วยการลงคะแนนเสียงหรือโหวตเสียงว่าอะไรที่ดีมาจากอะไรในหลักแห่งคุณธรรมจึงน่าจะต้องมาจากการเห็นตามความจริงหรือตามธรรม แม้มีเพียงหนึ่งเสียง
การประชุมเสวนาหรือการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อระดมความเห็นพ้องว่า องค์กรจะใช้คุณธรรม(สิ่งที่ใช้กำกับใจหรือเครื่องประกอบจิต)ที่สอดคล้องกับวิชาชีพหรือการสร้างภารกิจที่ดีอย่างใด(จริยธรรม) องค์กรนั้นจึงน่าจะคำนึงถึงกระบวนการใช้ความเห็นอันมาจากการเห็นพ้องที่มาด้วยอำนาจของปัญญา
ขั้นตอนการพัฒนาคุณธรรม ให้บังเกิดเป็นจริยธรรมในโรงพยาบาลคุณธรรมหรือหน่วยงานคุณธรรม ตามที่ท่านองคมนตรี (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ)นายแพทย์เกษม ท่านแนะนำว่า มี 3 ขั้นตอนคือ SEE(เห็นด้วยปัญญา) FEEL(ความปรารถนาที่มาจากปัญญาขององค์กร). จึงจะก่อให้เกิดCHANG(จริยธรรมที่ยั่งยืนเพราะการเห็นคุณค่าแท้ด้วยปัญญา)
มีความสุขนะครับที่องค์กรของกระทรวงสาธารณสุขจะมีองค์กรคุณธรรมที่แท้จริงๆ ครับ
คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603372เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2016 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2016 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท