ธรรมะ กับ การงาน (1)


ทำให้ผมเห็นว่า ไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงินว่ามีมากหรือมีน้อย มันอยู่ที่ใจต่างหาก ว่า ใจพอ พอที่ใจ แล้วหรือยัง ?

เขียนธรรมะลึก ๆ แล้วอ่านยาก

วันนี้หันมาเขียนธรรมะง่าย ๆ กันบ้าง หนอ





หลายปีก่อนตอนเริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ ๆ นั้น

ผมมีโอกาสได้ไปร่วมวิจัยแก้ปัญหาความยากจนเป็นเวลาประมาณ 2 ปี

โดยคณะวิจัยได้ออกแบบร่วมกัน แล้วให้แต่ละสายลงพื้นที่ PAR ชาวบ้านร่วมลงมือแก้ปัญหาความยากจน

ด้วยความด้อยประสบการณ์ของผม ทำให้สายที่ผมดูแลอยู่ไม่สามารถสร้าง Model แก้ปัญหาความยากจนออกมาได้


แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ในตอนนั้น คือ ชาวบ้านมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้นจากแต่ก่อนมาก ทั้งนี้เพราะ แต่ก่อนนั้นเป็นการดำรงชีวิตแบบพึ่งตนเอง ทำมาหากิน ไม่ใช่ ทำมาค้าขาย กล่าวคือ ไม่ได้มีชีวิตเพื่อเงิน ไม่ได้พึ่งเงินมากเหมือนอย่างปัจจุบันนี้ ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ ไม่ต้องจ่ายค่าไฟ ไม่ต้องซื้อกิน จะสังเกตุว่า ที่ตั้งหมู่บ้านนั้นจะตั้งใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำ เพราะในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทำมาหากินได้ง่าย ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ไม่ได้ดิ้นรนหาไปขาย

แต่ในปัจจุบันนี้ ต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่างวดรถ ค่าหมอ ค่าเทอมลูกหลาน มีค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ต้องจ่าย

ทั้ง ๆ ที่รายได้ยังคงเท่าเดิม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเกษตรที่ได้ปีละครั้ง คือ การขายข้าว


แต่ในปัจจุบันค่าปุ๋ย ค่าควายเหล็ก ค่าน้ำมัน ค่าความรีบร้อน ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก






ตอนนั้นใกล้จะปิดโครงการแล้ว ผมยังคิด Model แก้ปัญหาความยากจนยังไม่ได้

อยู่มา เย็นวันหนึ่ง ผมนั่งรถเพื่อเดินทางไปสอนตอนเย็นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

การคิดหา Model ยังอยู่ในหัว ตอนที่รถวิ่งผ่านตลาดสดใกล้ ๆ วงเวียนหอนาฬิกา

ผมมองออกไปนอกหน้าต่างรถ เห็นชาวบ้านนั่งขายผักอยู่ริมฟุตบาท

ผมฉุกคิดขึ้นได้ว่า Model แก้จนนอกจากจะคิดเพื่อช่วยชาวบ้านต่างอำเภอ

ก็ต้องคิดเผื่อชาวบ้านริมฟุตบาทนี้ด้วย


นั่งรถผ่านไปไม่กี่นาที ผมฉุกคิดขึ้นมาในใจว่า

.. ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเงินเดือน ต้องหาเช้ากินค่ำ ทั้งในต่างอำเภอและในเมือง

แล้วผมล่ะ ได้เงินเดือนทุกเดือน แต่ก็ยังไม่เคยรู้สึกพอ


หมายความว่า แม้ผมจะยังหารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนยังไม่ได้

แต่การทำวิจัยครั้งนี้ กลับทำให้รู้จักผมรู้จักตนเองมากขึ้น แม้มีมากกว่า ก็ยังรู้สึกขาด ยังไม่รู้จักพอ

หวนให้นึกถึง ตอนที่มารับราชการใหม่ ๆ เป็นข้าราชการผู้น้อยเงินเดือนยังน้อยอยู่ ก็คิดไปว่า ถ้าได้เงินเดือนเท่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แล้วคงดีคงจะพอ แต่เอาเข้าจริง ๆ "มีมากกว่าแล้ว ก็ยังไม่รู้สึกพอ" เมื่อไม่ได้ 2 ขั้น ก็เป็นทุกข์ หนอ


*** ทำให้ผมเห็นว่า ไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงินว่ามีมากหรือมีน้อย มันอยู่ที่ใจต่างหาก

ว่า ใจพอ พอที่ใจ แล้วหรือยัง ?












คำสำคัญ (Tags): #พอเพียง
หมายเลขบันทึก: 603370เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2016 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2016 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เพิ่งกลับมาจากบ้านพ่อครูบา

แล้วคิดถึงอาจารย์เลย

555

https://www.gotoknow.org/posts/603417

เห็นแล้วอยากทดลองฝึกสร้างบ้านดินดูครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท