รักที่ต้องลงมือทำ...กรอบอ้างอิงกิจกรรมบำบัดแปลความเป็น "ต้นไม้งาม"


ขอบพระคุณคณาจารย์และนักศึกษากิจกรรมบำบัดม.มหิดลที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียนเพื่อกระบวนการตกผลึกทางปัญญา (Crystallized Intelligence) สู่การแปลความรู้ (Knowledge Translation) "ต้นไม้งามสามสมอง - แผนที่ความคิดแบบย่อ SMART TREES MAPPING IN BRIEF" ในการให้บริการทางคลินิกและการจัดการเรียนรู้กิจกรรมบำบัดศึกษามุ่งสุขภาวะองค์รวมของความเป็นมนุษย์ ซึ่งผมตั้งใจก่อนลมหายใจสุดท้ายจะเขียนตำรานี้ให้สำเร็จจงได้

นี่คือความสำเร็จก้าวแรกในการตกผลึกทางปัญญาที่สะสมมาจากการให้บริการจิตอาสากิจกรรมบำบัดจนตัวเองป่วยแล้วฟื้นคืนสุขภาวะหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบ ได้มีโอกาสศึกษาข้ามสหวิชาชีพทั้งกว้างและลึกขณะได้รับทุนจากเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำสุขภาวะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและนโยบายสู่การทำงานเป็นทีมเพื่อช่วยเหลือสังคมให้เกิดสุขภาวะตลอดชีวิต จากสปสช.และสสส.ทำให้ผมเข้าใจการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้วยงานวิจัยระบบการประเมินความต้องการต่อการดูแลผู้สูงอายุไทยและงานวิจัยทางกิจกรรมบำบัดศึกษาผ่านกระบวนการละครสื่อสารและกลยุทธ์ต่างๆ และจากบริษัท Good Intention & Mind Transformation ในการเรียนรู้กระบวนการสั่งจิตใต้สำนึก รวมกว่า 2 ปีเต็ม ซึ่งอ้างอิงข้อมูลสำคัญจากมาตราฐานการประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด นักกิจกรรมบำบัดทุกท่านสามารถเรียนรู้และนำไปอ้างอิงในการให้บริการทางคลินิกและการจัดการเรียนหลักสูตรได้โดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจในการมีส่วนร่วมเขียนมาตราฐานนี้ด้วยเวลากว่า 6 ปี ซึ่งคลิกดาวน์โหลดฟรีที่นี่ พร้อมๆการต่อยอดจากมาตราฐานสู่แนวปฏิบัติทางคลินิกต่างๆ

หากนักกิจกรรมบำบัดท่านใดสนใจก็สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผมได้เสมอด้วยการบันทึก SOAP มาให้ผม Feedback ทางอีเมล์หรือถ้าอยากส่งคลิปผู้รับบริการมาให้ร่วมกันพัฒนาทักษะชีวิตก็ยินดีครับ ผมอยากยกสมรรถนะของการแสดงบทบาททางวิชาชีพกิจกรรมบำบัดข้ามศาสตร์ทำงานเป็นทีมกับทุกวิชาชีพพร้อมๆกับการขยายช่องทางการเข้าถึงสุขภาวะองค์รวมด้วยกิจกรรมบำบัดด้วยตนเองมากขึ้น...เพราะนักบำบัดที่ดีที่สุดคือตัวเรา...และจากนักบำบัดที่ฝึกทักษะเป็นมืออาชีพ (อย่างน้อย 10 ปีในการคิดนอกกรอบ) ก้าวข้ามสู่การเป็นโค้ชและผู้นำสุขภาวะเชิงระบบ เพราะเราไม่สามารถที่จะรอเวลาในการผลิตนักกิจกรรมบำบัดได้ทันต่อความต้องการของคนไทย

เมื่อวานนี้ผมได้ช่วยเหลือเพื่อนที่กำลังได้รับผลกระทบจากภาวะพาร์กินสันด้วยวัยเพียง 45 ปี ผมจึงใช้ "แผนที่ความคิดต้นไม้งาม" มาประเมินและออกแบบโปรแกรมกิจกรรมบำบัดให้เพื่อนนำไปฝึกต่อเองที่บ้านและจะคอยติดตามเป็นโค้ชพี่เลี้ยงทักษะชีวิตไปอีกอย่างน้อย 21 วัน

ขอบพระคุณกรณีศึกษากับเพื่อนรักมากครับผม

ผมใช้หลักโตโยต้าคือการทำงานตกผลึกความคิดด้วยกระดาษแผ่นเดียว ดังตัวอย่างกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดดังนี้:-

Subjective (S): ผู้รับบริการได้ทานยารักษาภาวะพาร์กินสันตามแพทย์สั่ง 4 มื้อต่อวันเพิ่มขนานยามากกว่าอาทิตย์ก่อน ทำให้รู้สึกพอมีแรง พูดชัดขึ้น และมือสั่นน้อยลง ได้ทำไทชินาน 30 นาทีทุกวันด้วยท่าการหายใจด้วยกะบังลมแล้วขยับกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายให้เกิดความรู้สึกถึงการผ่อนคลาย รวมทั้งได้วิ่งอีก 30 นาทีที่บ้านก็รู้สึกแข็งแรงขึ้น วันนี้อยาก (Good motivation) ให้ผมตรวจละเอียดเพื่อออกแบบกิจกรรมบำบัดเพิ่มเติม แต่เมื่อให้วาดรูปตนเอง บ้านของตนเอง และต้นไม้รอบบ้าน ก็ยังคงพบบุคลิกภาพที่กังวลและกลัว ที่คะแนน 8/10 และ 7/10 ตามลำดับ[ตรงนี้แสดงถึงผู้รับบริการอยู่ระดับ Self-Esteem Management of Self-care พอใช้ บ่งชี้ผู้รับบริการควรได้รับ Therapeutic skills ด้วยการปรับ Occupational analysis & modification กับ Active Learning Process ด้วย Procedural Scientific Clinical Reasoning เพราะผู้รับบริการเคยเป็นนักเต้นระดับแชมป์และทำงาน Life Coach ที่มี Ability & Role Transformation ที่ชัดเจน]

Objective (O): ผู้รับบริการตรวจการสั่นของมือพบว่า สามารถควบคุมได้พอใช้ และตรวจการเคาะจังหวะของมือได้ 56 ครั้งใน 10 วินาที (ข้างขวา) และ 34 ครั้งใน 10 วินาที (ข้างซ้าย) จนถึงการตรวจการใช้คีมคีบหมุดใน 1 นาทีได้ 9 ช่อง (ข้างขวา) และ 8 ช่อง (ข้างซ้าย) และการตรวจการใส่หมุดกุญแจใน 1 นาทีได้ 24 ช่อง (ข้างขวา) และ 17 ช่อง (ข้างซ้าย) เมื่อตรวจยกและค้างใน 10 วินาที (ท่านอนคว่ำ) ที่กล้ามเนื้อสะโพก ก้น ขาส่วนบน และน่อง พบอาการอ่อนแรง (เกรด 4-) และล้าง่ายในข้างขวามากกว่าข้างซ้าย [ตรงนี้แสดงถึงผู้รับบริการมี Cognitive Level ที่ 6 และสามารถทำกิจกรรมพลวัติได้อย่างมีวุฒิภาวะ - ตัดสินใจมุ่งมั่นดี บ่งชี้ผู้รับบริการสามารถใช้ Therapeutic use of self, relationship, & environment ได้ดี]

Assessment (A): จากข้อมูลทั้ง S+O พบว่า ผู้รับบริการต้องการการบ้านอย่างง่ายและรวดเร็วในการเสริมกับการรักษาด้วยยากับการทำไทชิและการวิ่ง พบมีความกังวลกลัวในการใช้ชีวิตในการทำงาน Life Coach ที่เดิมจริตเป็นคนคาดหวังความสมบูรณ์แบบ

Plan, Progression, & Performance (P): ในระยะสั้น 21 วัน ผู้รับบริการตั้งเป้าหมายให้ทักษะทางร่างกายดีขึ้นพร้อมๆกับทักษะการผ่อนคลายจิตใจตามการทำงานระหว่างก้านสมองกับสมองส่วนหน้าอย่างเป็นระบบ เพื่อปรับความมั่นใจในสมรรถนะของการทำงานของร่างกายกับจิตใจให้เหมาะสม ติดตามผลเพื่อตั้งเป้าหมายในระยะยาวต่อไป เช่น จังหวะและความเร็วของการทำงานของกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อเล็ก (ตา มือ ปาก หายใจ สหสัมพันธ์) เป็นต้น หลังจากทำโปรแกรมกิจกรรมบำบัดนาน 15 นาที แบ่งเป็น โปรแกรมให้ทำเป็นการบ้านทุกเช้าหลังตื่นนอน (การยืดกล้ามเนื้อขาส่วนหน้าในท่านอนหงาย นับ 1-0 การขยับกล้ามเนื้อก้น ขาส่วนส่วนบน และน่องในท่านอนคว่ำ งอเข่า ยกขาตั้งฉาก เยียด หุบ และกางขา สลับข้างๆ ละนับ 1-10 ต่อด้วยการทำไทชิที่ทำอยู่แล้ว) ส่วนโปรแกรมให้ทำเป็นการบ้านทุกเย็นก่อนทานอาหาร (การยืนแยกขาให้ทรงตัวได้ดี เตะขาตั้งฉากไปด้านหลัง ค้างลมหายใจเข้า แตะพื้นเปล่งเสียงดังนับ 1 สลับอีกข้างไปเรื่อยๆ นับ 2-10 ทำอีกรอบเร็วขึ้น เสียงดังขึ้น หายใจลึกขึ้น ต่อด้วยเตะขาตั้งฉากไปด้านข้าง ค้างลมหายใจเข้า แตะพื้นเปล่งเสียงดังนับ 1 สลับอีกข้างไปเรื่อยๆ นับ 2-10 ทำอีกรอบเร็วขึ้น เสียงดังขึ้น หายใจลึกขึ้น ต่อด้วยการยืนขาเดียว ลืมตา กางแขน ทรงตัว นับ 1-20 สลับอีกข้าง นับเช่นเดียวกัน จากนั้นหลับตา ทำแบบเดียวกัน แล้วลืมตา ทำแบบเดิม อีกท่าสุดท้ายนั่งยอง ยื่นแขนไปข้างหน้า ทรงตัว นับ 1-20 สลับอีกข้าง นับเช่นเดียวกัน จากนั้นหลับตา ทำแบบเดียวกัน แล้วลืมตา ทำแบบเดิมเป็นอันจบ แล้วไปวิ่งหรือออกกำลังอื่นๆ โดยไม่ให้เหนื่อยมากนัก) เมื่อสาธิตและลองฝึกจนครบทั้งสองโปรแกรม ก็วัดผลซ้ำ ผู้รับบริการตรวจการสั่นของมือพบว่า สามารถควบคุมได้พอใช้ และตรวจการเคาะจังหวะของมือได้ลดลงคือ 30 ครั้งใน 10 วินาที (ข้างขวา) และ 24 ครั้งใน 10 วินาที (ข้างซ้าย) จนถึงการตรวจการใช้คีมคีบหมุดใน 1 นาทีได้เพิ่มขึ้น 11 ช่อง (ข้างขวา) และเท่าเดิม 8 ช่อง (ข้างซ้าย) และการตรวจการใส่หมุดกุญแจใน 1 นาทีได้เพิ่มขึ้นเป็น 25 ช่อง (ข้างขวา) และเท่าเดิม 17 ช่อง (ข้างซ้าย) เมื่อตรวจยกและค้างใน 10 วินาที (ท่านอนคว่ำ) ที่กล้ามเนื้อสะโพก ก้น ขาส่วนบน และน่อง พบอาการอ่อนแรงเล็กน้อย (เกรด 4+) และไม่ล้าง่ายในข้างขวาและข้างซ้าย [บ่งชี้ว่า ผู้รับบริการยังคงมีความกังวลกลัวและมี Mental Fatigue มากกว่า Physical Fatigue เพราะ Psychomotor speed ลดลง แต่ Functional dexterity เพิ่มขึ้นในมือข้างขวา ซึ่งควบคุมด้วยสมองข้างซ้ายที่วางแผนการเคลื่อนไหวเป็นหลัก อย่างไรก็ตามโปรแกรมที่ให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยโปรแกรมกิจกรรมบำบัดระบบประสาทการเคลื่อนไหวได้ตามความพึงพอใจของผู้รับบริการ สังเกตการวัดชีพจรลดลงจาก 84 ครั้งต่อนาทีเป็น 70 ครั้งต่อนาที ]


หมายเลขบันทึก: 602409เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ อ.ธวัชชัย พี่นงนาท อ.แอน และอ.เดียร์

ต้นไม้งามๆๆ สวัสดีครับ อ.ดร.ป๊อปคนเก่ง ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท