การไปเรียนรู้นอกสถานที่ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ และโรงพยาบาลมนารมย์


เมื่อวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมาได้มีโอกาาสไปเรียนรู้นอกสถานที่ เกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการจิตเวช ซึ่งสถานที่ไปมี 2 สถานที่ด้วยกัน ที่แรกคือ โรงพยาบาลกรุงเทพในส่วนของ “ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ” และที่โรงพยาบาลมนารมย์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 2 สถานที่ แต่ล่ะที่จะมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน และโดดเด่นไม่แพ้กัน

ซึ่งเริ่มมารู้จักที่แรกได้ไปกันก่อน ดิฉันได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลกรุงเทพในส่วนของ “ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ” เป็นครั้งแรก บอกเลยว่าก่อนมาที่นี่ไม่รู้จักเลยว่ามีศูนย์บริการจิตเวชในโรงพยาบาลเอกชนด้วย เพราะส่วนใหญ่ที่จะพบอยู่ในโรงพยาบาลรัฐบาล อย่างที่เรารู้จักกันดี คือ โรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น ดิฉันได้เขียนเล่าประสบการณ์ที่ได้เรียนผ่านการเขียนในรูปแบบที่เรียกว่า “SMART Tree”

S = Self

“ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ” เป็นศูนย์ที่อยู่ภายในโรงพยาบาลกรุงเทพ สาขาเพชรบุรี 47 เกิดจากการรวมตัวของทีมจิตแพทย์ , นักจิตวิทยา , นักจิตบำบัด , นักกิจกรรมบำบัด , พยาบาลจิตเวช และเภสัชกร เป็นต้น ซึ่งจุดเด่นของที่นี่จะเป็นกระบวนการบำบัดแนวใหม่ ในการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดยศูนย์แห่งนี้จะเน้นการดูแลสุขภาพทางกาย และจิตใจควบคู่กับอย่างสมดุล ทั้งในผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการของโรคซึมเศร้า , วิตกกังวล , อารมณ์สองขั้วหรือที่รู้จักกันดีไบโพล่ร์ (bipolar) , คิดฆ่าตัวตาย , นอนไม่หลับ และบุคคลที่ต้องการเลิกสุราหรือสารเสพติด เป็นต้น นอกจากนี้ยังดูแลครอบคลุมสำหรับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพทางกาย เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ , โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น การออกแบบที่นี่จะออกแบบ โดยเน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เช่น ผู้ดูแลจะมาเยี่ยมผู้รับบริการที่นี่จะต้องมีรหัสลับ (code) ของแต่ละรายจึงจะสามารถเข้าเยี่ยมได้ , มีการออกแบบห้องน้ำให้มีความปลอดภัย อาทิ ที่ล็อกประตูเปิดได้สองทาง , ฝักบัวแบบฝั่งลงไป มีแค่น้ำไหลออกมา , ราวจับจะเป็นแบบทึบหมด ไม่มีช่องว่างระหว่างกำแพงกับราวจับ เป็นต้น ที่นี่เน้นโทนสีเบาสบาย ไม่ฉูดฉาด และมีสวนพักผ่อน เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย และอบอุ่นเหมือนบ้าน

M = Motivation

การก่อตั้งของศูนย์แห่งนี้เกิดจากผู้บริหารเล็งเห็นสุขภาพจิตของคนในสังคมปัจจุบัน ที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ รวมทั้งความเครียด ส่งผลทำให้มีผู้รับบริการฝ่ายจิตมากขึ้นทุกวัน ทำให้โรงบาลภาครัฐไม่สามารถรองรับจำนวนผู้รับบริการได้เพียงพอต่อความต้องการ และผู้ที่เข้ามารับการรักษาทางจิตเวชจะมีความเขินอายพบจิตแพทย์ หรือขาดความรู้ และความเข้าใจ ส่งผลให้อาการสุขภาพทางจิตรุงแรงมากขึ้น จึงทำให้ก่อตั้งศูนย์แหล่งนี้ขึ้นมา โดยทีมจิตแพทย์ และบุคคากรผู้เชี่ยวชาญของที่นี่ เชื่อว่า คนทุกคนล้วนมีศักยภาพ และควรได้รับการปลดปล่อยจากความทุกข์ทางจิตใจ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุขและ สุขภาพดีต้องเริ่มที่สุขภาพใจ

A = Ability

กระบวนการให้การดูแลบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต (Psychosocial Rehabilitation) แห่งนี้ได้รับมาตราฐานสากล เน้นการใช้รูปแบบกิจกรรมบำบัด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งรูปแบบกลุ่ม และการบำบัดรายบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบำบัดฟื้นฟูภายใน 21 วัน เป็นโปรแกรมที่ทางศูนย์ออกแบบ และวางแผนในการบำบัดฟื้นฟู กิจกรรมบำบัดที่นี่ใช้จะมีให้ผู้ป่วยเข้าร่วมได้ตลอด เช่น กิจกรรม Mind Fullness (กิจกรรมผ่อนคลายด้านจิตใจโดยการฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้สบาย เพื่อลดความเครียด) , กิจกรรมทำอาหาร ซึ่งในส่วนนี้นักกิจกรรรมบำบัดจะเป็นผู้ออกแบบ และวิเคราะห์กิจกรรมให้ ซึ่งจะเป็นรูปแบบทำกิจกรรมกลุ่มรวมกับผู้ป่วย , กิจกรรมโยคะ , ดนตรีบำบัด , ศิลปะบำบัด , และสันทนาการ

นอกจากนี้ยังออกแบบโปรแกรม Consumer and Carer Consultation และ Community and Family Reintegration ในการสร้างการสนับสนุน เครือข่ายผู้ป่วยจิตเวช กับครอบครัวดูแลผู้ป่วย

RT = Role transformation

ที่นี่จะมีให้ผู้รับบริการได้แสดงบทบาทเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในขณะทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมทำอาหาร จากบทบาทผู้รับบริการก็จะเปลี่ยนเป็นบทบาทคนทำอาหาร เป็นเพื่อนทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน และกิจกรรมดนตรีบำบัด จากบทบาทผู้รับบริการก็เปลี่ยนเป็นบทบาทคนฟัง , คนเล่นดนตรี และเพื่อนสมาชิกกลุ่ม เป็นต้น และในที่สุดผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตในบทบทเดิมที่เคยเป็น , ใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างคนทั่วไป และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น หลังจากให้การบำบัดฟื้นฟู

ต่อมาสถานที่ที่สองที่ได้เดินทางไป คือ โรงพยาบาลมนารมย์

S = Self

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางสุขภาพจิต และจิตเวชเอกชนแห่งแรกที่เปิดขึ้น จะมอบทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการค้นหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงสมบูรณ์ ผู้ที่มารับบริการส่วนใหญ่จะเป็นทุกช่วงอายุไม่ว่าจะเป็นเด็ก , วัยรุ่น , ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากที่นี่เน้นการรักษาาทางด้านสุขภาพจิตโดยเฉพาะ อาจไม่ตอบสนองต่อผู้รับบริการที่มีปัญหาด้านร่างกายบางรายร่วมด้วย โดยที่นี่จะมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ได้แก่ จิตแพทย์ผู้เชื่ยวชาญด้านต่างๆ อาทิ ดูแลผู้ใหญ่ , เด็ก และวัยรุ่น , ผู้สูงอายุ , ด้านสุรา และยาเสพติด , ปัญหาการนอน , ด้านสุขภาพทางเพศ และการทำจิตบำบัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสหวิชาชีพอื่นๆ ร่วมในการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการ ซึ่งจะคล้ายๆกับศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ แต่จะมีเพิ่มเติมคือ นักกายภาพบำบัด , นักบำบัดทางการพูด และภาษา และครูการศึกษาพิเศษ เป็นต้น ที่นี่ได้รับการออกแบบที่เป็นมาตรฐานบนเนื้อที่ 7 ไร่ แถวย่านบางนา ซึ่งที่นี่จะมีบริเวณสวนพักผ่อน และสนามเด็กเล่น ตัวอาคารโปร่งสบาย ไม่อึดอัดเมื่อเดินเข้ามา ทำให้รู้สึกสบายใจ และอบอุ่นเมื่อเดินเข้ามา

M = Motivation

โรงพยาบาลแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการด้านสุขภาพจิต และจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เพียงพอ และไม่ตอบสนองต่อความต้องการที่มาก คณะจิตแพทย์หลายๆ คนตะหนักเห็นปัญหาเหล่านี้ จึงก่อตั้งโรงพยาบาลเฉพาะทางสุขภาพจิต และจิตเวชแห่งนี้ขึ้นมา และมีแนวคิดที่ว่า สุขภาพจิตที่ดี คือ รากฐานที่สำคัญของคุณภาพชีวิต ครอบครัว และสังคม”

A = Ability

การให้บริการของที่นี่ จะมีทั้งการบริการผู้ป่วยนอก , ผู้ป่วยใน (พำนักอยู่ที่นี่) โดยอาศัยการบำบัดที่เรียกว่า “ นิเวศน์บำบัด” คือเป็นการฟื้นฟูให้ผู้รับบริการมีทักษะการดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพได้ด้วยตนเอง สามารถรับบผิดชอบตนเองได้ และช่วยป้องกันการเจ็บซ้ำ , ฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม และโปรแกรมกลางวัน คือ โปรแกรมสำหรับผู้ที่ต้องการปรับตัวกับการดำเนินชีวิตในประจำวัน เพิ่มทักษะการจัดการทางอารมณ์ความเครียด , การปรับตัวเข้ากับสังคม , การควบคุมพฤติกรรมตนเอง และการดูแลตนเอง ที่จัดตารางกิจกรรมในแต่ละวัน จะมีทุกวันจันทร์ ถึงวันเสาร์ ส่วนวันอาทิตย์จะไม่เปิดให้บริการ ซึ่งกิจกรรมต่างๆที่จัด เช่น กิจกรรมทำอาหาร , เล่นดนตรี , ศิลปะ , เล่นละคร และกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น ซึ่งจะอาศัยบุคคลากรต่างๆมาช่วยกันในการทำกิจกรรม ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดที่นั่นจะเป็นผู้ออกแบบกิจกรรม และวิเคราะห์กิจกรรมให้เหมาะสม และตามความต้องการของผู้รับบริการ

RT = Role transformation

ก่อนการบำบัดฟื้นฟูมีบทบาทเป็นผู้รับบริการที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต และจิตเวช แต่เมื่อหลังจากเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผู้รับการสามารถที่จะสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ในบทบาทเดิม หรือบทบาทที่เปลี่ยนไปในสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สรุป

การได้ไปเรียนรู้นอกสถานที่ครั้งนี้ทั้งศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ และโรงพยาบาลมนารมย์ ทำให้เราได้รู้ว่าปัญหาทางด้านสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญมากเช่นเดียวกับสุขภาพทางกายของเรา ดังนั้นเราควรที่จะดูแลควบคู่ไปด้วยกัน นอกจากนี้การไปครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เห็นถึงทัศนะคติ และบทบาทของแต่ล่ะวิชาชีพที่มีส่วนให้การช่วยเหลือผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติในชีวิตประจำวันของเขา

ขอบคุณอาจารย์ , ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ , โรงพยาบาลมนารมย์ และรุ่นพี่ ที่ได้เปิดโอกาสไปเรียนรู้นอกสถานที่ในครั้งนี้ ขอบคุณค่ะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก :

http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/center…

http://www.manarom.com

หมายเลขบันทึก: 602408เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท