กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 1


สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะมาตอบปัญหาในหัวข้อที่ว่า

กิจกรรมบำบัดจะช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลได้อย่างไร

ซึ่งดิฉันได้ค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)จำนวน 3 เรื่องด้วยกัน โดยจะขอนำเสนอประเด็นสำคัญๆที่ได้จากการค้นคว้าครั้งนี้มาให้อ่านกันค่ะ

ก่อนอื่นเรามารู้จักภาวะสมองเสื่อม(Dementia) กันก่อนนะคะ

Dementia เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลงหลายด้านพร้อมๆกัน แบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องด้านความจำ การใช้ความคิด การเรียนรู้สิ่งใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพ จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันทั้งในด้านการงาน การเข้าสังคม และชีวิตส่วนตัว

โรคสมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทุกเพศ และโรคอัลไซเมอร์( Alzheimer's disease) เป็นภาวะสมองเสื่อมประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด


ซึ่งเขียนสรุปโดยใช้ PEOP model ได้ดังนี้

(P) Person

(E) Environment

(O) Occupation

(P) Performance

ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

(Elderly persons with Dementia)

ครอบครัว/ผู้ดูแล

บ้าน

ชุมชน

ADLs

IADLs

Work

Rest

Leisure

Social participation

ความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตลดลง

ภาวะสมองเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้จากการได้รับการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งจากงานวิจัย Effects of Community Occupational Therapy on Quality of Life, Mood, and Health Status in Dementia Patients and Their Caregivers: A Randomized Controlled Trial

ได้ศึกษาการให้การบำบัดทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแล ว่าส่งผลต่อคุณภาพชีวิต อารมณ์ สภาวะสุขภาพ และการจัดการชีวิตของผู้ดูแลอย่างไร ซึ่งงานวิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน ที่มีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง(mild – moderate dementia) จำนวน 135 คนพร้อมผู้ดูแล และสุ่มให้ได้รับการบำบัดทางกิจกรรมบำบัด 10 ครั้ง เป็นเวลามากกว่า 5 สัปดาห์ และบางส่วนไม่ได้รับการบำบัดเลย

การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดจะเกี่ยวข้องกับการฝึกทักษะด้านความรับรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม การดำเนินงาน แบ่งเป็นช่วง 1 - 4 ครั้งแรก ผู้ป่วยและผู้ดูแลจะเลือกและจัดลำดับกิจกรรมที่มีเป้าหมาย(Meaningful activity)ที่ต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยนักกิจกรรมบำบัดจะประเมินการปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมเท่าที่เป็นไปได้ สังเกตความสามารถของผู้ป่วยในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และสังเกตทักษะของผู้ดูแล

ในช่วง 6 ครั้งที่เหลือ ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกสอนในการใช้การทดแทน การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และผู้ดูแลจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการจัดการพฤติกรรม การแก้ไขปัญหา และวิธีการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมด้วยตัวเองได้ และมีส่วนร่วมในสังคม ซึ่งการบำบัดในบ้านผู้ป่วยรวม 10 ชั่วโมงด้วยกัน

งานวิจัยนี้ได้ประเมินผลในช่วงสัปดาห์ที่ 6 และ 12 โดยการใช้เครื่องมือประเมินดังนี้

  • คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล (Dementia Quality of Life Instrument, Dqol)
  • อารมณ์ของผู้ป่วย (Cornell Scale for Depression, CSD)
  • อารมณ์ของผู้ดูแล (Center for Epidemiologic Studies Depression Scale, CES-D)
  • สภาวะสุขภาพของผู้ป่วยละผู้ดูแล (General Health Questionnaire, GHQ-12)

จากการประเมินพบว่ากลุ่มที่ได้รับการบำบัดรักษาทางกิจกรรม มีค่าคะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการบำบัดเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การได้รับการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดมีส่วนในการเพิ่มคุณภาพชีวิต ปรับปรุงอารมณ์และสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและผู้ดูแลให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งความสามารถในการจัดการกับชีวิตของผู้ดูแลด้วย

ซึ่งเขียนสรุปโดยใช้ PEOP model ได้ดังนี้

(P) Person

(E) Environment

(O) Occupation

(P) Performance

Community-dwelling patients aged 65 years or older, with mild to moderate dementia

Caregiver

10 sessions of occupational therapy

[Cognitive and behavioral interventions]

Home

ADLs

Social participation

Quality of life

Mood

Health status Caregivers' sense of control over life

เพิ่มขึ้น

Maud J. L. Graf f, Myrra J. M. Vernooij-Dasse n, Marjolein Thijsse n, Joost Dekke r,Willibrord H. L. Hoefnagel s ,Marcel G. M. OldeRikker t. Effects of Community Occupational Therapy on Quality of Life, Mood, and Health Status in Dementia Patients and Their Caregivers: A Randomized Controlled Trial. The Journals of Gerontology 2007;62: 1002-1009.
โปรดติดตามต่อในตอนที่ 2 …
หมายเลขบันทึก: 602399เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท