งาลดไขมันลดน้ำตาลในเลือด


งาดำงาขาว เมล็ดจิ๋วๆนั้น บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกำลังได้ เมื่อนำมาเป็นอาหารประจำสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเลือด แต่ผู้ที่มีปัญหา ดี ไม่ปกติต้องระวังนะคะ ทำให้ดีกำเริบได้

นำผลการวิจัย งา ลดไขมัน ลดน้ำตาลในเลือดมาฝากค่ะ




งาดำ งาขาว นีไซ ไออยู่บั้ว


สรรพคุณ

ใบ ทำให้ผมดกดำ รักษาโรคหูด


เมล็ด บำรุงกำลัง ให้ความอบอุ่นในร่างกาย บำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายรักษาริดสีดวง

น้ำมันงา ใส่บาดแผล ทาถูนวด บำรุงผิว ลดความดันโลหิตสูง ยาระบายอย่างอ่อน ทาตัวทำให้ผิวหนังลื่น


ส่วนที่ใช้ วิธีใช้

นำเมล็ดงามารับประทานโดยการปั่นกับน้ำเต้าหู้ ดื่มทุกเช้า หรือผสมเมล็ดงาคั่วในขนมต่างๆ


ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ลดระดับไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ฤทธิ์เหนือเอสโตรเจน ยับยั้งการก่อมะเร็ง

ฆ่าพยาธิไส้เดือน กระตุ้นอวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดแดงและม้าม


การทดสอบความเป็นพิษ

ไม่พบความเป็นพิษทั่วไปในคนที่รับประทานเมล็ดงา ในหนูขาวที่รับประทานเมล็ดงา 5-20 g ของอาหาร ทำให้ลดการเพิ่มน้ำหนัก

สารสกัดจากเมล็ดด้วย 50 เปอร์เซ็นต์ เอธานอล ฉีดเข้าช่องท้องในหนูถีบจักร มีขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งเท่านั้น 500 มก./กก.

รายงานผลการทดลอง

คศ. 2003 ประเทศอียิปต์ ทำการทดลองน้ำมันจางา ซึ่งอุดมไปด้วย polyunsaturated fatty acid ( ไขมันไม่อิ่มตัว ) โดยใช้แทนน้ำมันปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์ โดยทำการทดลองในหนูทดลอง โดยให้น้ำมันงา ซึ่งมีสาร linolenic acid พบว่าหนูที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานได้น้ำมันงาเป็นอาหาร พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ระดับไขมันในเลือดลดลง


คศ. 2008 ประเทศอินเดีย ทำการทดลองผลในการลดไขมันของน้ำมันงา ดดยทำการทดลองกับหนูขาว โดยให้หนูถูกกระตุ้นให้ไขมันในเลือดสูง จากนั้นทดลองให้น้ำมันงา 5 เปอร์เซ็นต์ และ 10 ปอร์เซ็นต์ ทำการทดลอง 4 สัปดาห์ พบว่าหนูดังกล่าวมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง และค่า HDL-C ลดลง HMG – CoA reductase และพบว่าในน้ำมันงามีสาร fiber,sterl, polyphenol และ flavonoid อยู่มาก นอกจากนั้นยังเพิ่มการกระตุ้นอนุมูลอิสระอีกด้วย


คศ.2008 ประเทศอินเดีย ทำการทดลองผลในการลดไขมันของงา โดยให้โปรตีนที่สกัดจากงา 91.5 เปอร์เซ็นต์ ให้แก่หนูที่ทำการทดลอง 28 วันหรือ 4 สัปดาห์และพบสาร casein ในงา ผลการทดลองพบว่าหนูมีระดับคอเลสเตอรอลลดลง LDL-C ลดลง


คศ. 2007 ประเทศจีน ทำการทดลองผลในการลดไขมันของงา โดยทำการทดลองในกระต่ายที่เป็นโรค atherosclerosis ใช้กระต่าย 24 ตัวแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ 2 ให้น้ำมันงาเป็นอาหาร กลุ่มที่ 3 ให้ไขมันทั่วไปเป็นอาหาร หลังจาก 20 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ให้น้ำมันงาเป็นอาหาร ระดับคอเลสเตอรอลลดลง LDL-C ลดลง HDL- C เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ


(ขอบคุณสรรพคุณผลการวิจัยจากหนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด โดย เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก)





" รศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา

และอาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ สารสกัดงาดำ “เซซามิน” กล่าวว่าเรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากงามากว่า 4,000 ปีแล้วการทำวิจัยเรื่องนี้ก็เพราะอยากใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์มาพิสูจน์องค์ความรู้ตั้งแต่โบราณ เช่น สรรพคุณในการผสาน หรือต่อกระดูกดูแลเกี่ยวกับความดันโลหิต ดูแลภูมิต้านทาน

มื่อทำวิจัยก็พบว่าสิ่งที่คนโบราณมีความเชื่อนั้นเป็นเรื่องจริง

“เซซามิน” ในงาดำมีคุณประโยชน์ 8 ประการ คือ

1. ช่วยในการเผาผลาญ สลายไขมัน ลดความอ้วนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

2. ลดการดูดซึมและการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล

3. ทำให้ระดับไขมันอยู่ในสัดส่วนพอดี

4. ช่วยในการทำงานของวิตามินอี

5. ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท

6. ลดปฏิกิริยาความเครียด

7. ต้านอนุมูลอิสระ

8. ต้านการอักเสบ


.. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/516315




ชวนทำอาหารที่ใช้ได้ทั้งงาดำและงาขาวแบบไม่ยากและเร็ว มาฝากด้วย คือ ข้าวต้ม

ใส่เมล็ดงาดำงาขาวหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง มากน้อยตามชอบใกล้ข้าวสุกหรือใส่ต้มพร้อมไปกับข้าวก็ได้นะคะ


เมล็ดงา หาซื้อได้ไม่ยากนักและเก็บไว้ได้นาน การทำอาหารต่างๆใช้แบบเมล็ด หรือตำป่นให้ละเอียด การตำป่นเราจะได้ประโยชน์มากกว่าการเคี้ยวกลืนเป็นเมล็ดเพราะการเคี้ยวจะไม่ละเเอียดทุกเมล็ดเราได้ประโยชน์ไม่มาก แต่เมล็ดงาดำเรายังได้ประโยชน์จากผิวสีดำที่ออกมาเป็นน้ำ เพราะลำไส้ไม่ย่อยเมล็ดธัญญพืชที่ไม่แตก เราไม่ได้ประโยชน์เนื้อในเมล็ดพืช ย่อยผ่านไปให้เท่านั้น แม้แต่เมล็ดข้าวเหนียวข้าวเจ้า ขาวๆ ถ้าเราเคี้ยวไม่ละเอียดไม่โดนฟันเคี้ยวเลยไม่มีเปลือกข้าวก็ไม่่ย่อยให้ร่างกายได้ประโยชน์นะคะ เพียงอิ่มท้องเท่านั้น การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดจึงสำคัญค่ะ


ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วันศุกร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๕๕๙



หมายเลขบันทึก: 602318เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากค่ะ บริโภคประจำเกือบทุกมื้อค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ดา

ขอบพระคุณมากนะคะ ที่นำเรื่องราวดีๆมาฝากอยู่เสมอค่ะ

  • อาศัยยาทุกวันเลยครับ..
  • ขอบคุณความรู้ครับ

มีประโยชน์มากๆ

พี่หายไปนานเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท