อัตราผลตอบแทน Return on Equity (ROE)


นักลงทุนในตลาดทุน หรือตลาด-หลักทรัพย์ หรือตลาดหุ้นของประเทศไทย นิยมใช้อัตราส่วนทางการเงิน เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์ พยากรณ์ หรือเป็นตัวชี้วัดความสามารถในด้านหุ้นบริษัทและธุรกิจเป็นจำนวนมาก โดยใช้การเริ่มสร้างกิจการใหม่ในลักษณะของการร่วมหุ้นเป็นหลัก ซึ่งการร่วมหุ้นทางธุรกิจนั้น ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะได้เงินปันผลจากการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน ผู้ที่ถือหุ้นมากจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมามาก แต่ในทางกลับกัน หากธุรกิจประสบความล้มเหลวหรือขาดทุนผู้ที่ขาดทุนที่สุดก็คือ ผู้ที่ถือหุ้นส่วนใหญ่ การใช้ข้อมูลทางบัญชีในด้านอัตราส่วนทางการเงินที่แสดงในงบการเงิน เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจกำหนดราคาหลักทรัพย์ เพื่อให้สามารถอ่านงบการเงินของบริษัทนั้นว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไรได้ง่ายขึ้นกว่าการอ่านเป็นตัวเลขโดยตรงจากงบการเงิน

การวิเคราะห์หลักทรัพย์จากอัตราส่วนทางการเงิน (ratio analysis) เพื่อเป็นเครื่องมือเปรียบเทียบรายงานทางการเงินของบริษัทกับอัตราส่วนเพื่อหาความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างทรัพย์สิน หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อประเมินฐานะทางการเงิน และความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจ โดยอาจนำมาเปรียบเทียบกับธุรกิจเองในอดีต คู่แข่งหรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น การคำนวณหาผลตอบแทนจากสัดส่วนของผู้ถือหุ้นถือว่าสำคัญมาก เพราะทำให้ทราบว่า ธุรกิจนั้นมีกำไรสุทธิจากสัดส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นแต่ละบุคคลอยู่ในสถานภาพเช่นไร

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity--ROE) เป็นอัตราส่วนสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นจากผลการดำเนินงานของบริษัท
ซึ่งผู้ถือหุ้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญต่อกิจการ เพราะการระดมทุนส่วนหนึ่งมาจาก
นักลงทุนในกิจการ ซึ่งผลการดำเนินงานของกิจการส่งผลต่อความสัมพันธ์ของอัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่แสดงถึงความสามารถในการบริหารงานเพื่อให้เกิดผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของและมีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์

ROE ของหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์ สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ ในหน้าที่ชื่อว่า “ข้อมูลสำคัญทางการเงิน” ของหุ้นนั้น ซึ่งอำนวยความสะดวกโดยการคำนวณไว้ให้พร้อม

ค่า ROE คือ อัตราผลตอบแทนของผู้เป็นเจ้าของ หรืออัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลงทุน ถือเป็นความสามารถในการทำกำไร (profitability ratio) ของกิจการจากสินทรัพย์ การพิจารณาค่าของ ROE นั้นตัวเลขยิ่งสูงยิ่งดี อย่างน้อยต้องมีค่า 12% ขึ้นไป

หลักบัญชีพื้นฐานเรื่องงบดุล คือ แหล่งที่มาของสินทรัพย์จากกิจการไม่ได้มาจากส่วนของผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากหนี้สินและส่วนของทุน ดังนั้นค่า ROE ที่สูงมาก ต้องดูด้วยว่า กำไรสูงจริง หรือว่าส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำมาก แต่มีหนี้สินจำนวนมาก ถือว่าเป็นกำไรที่ไม่มีคุณภาพ ถ้าต้องเลือกหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ต้องเลือกหุ้นที่มีหนี้สินน้อยจะปลอดภัยกว่า โดยคำนวณได้จากการนำกำไรหรือขาดทุน หารด้วยค่าเฉลี่ยรวมส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท คูณด้วย 100 และค่าที่ได้จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยส่วนของผู้ถือหุ้น (equity) คือ สินทรัพย์ที่ตัดหนี้สินทั้งหมดออกไป จนกลายเป็นสินทรัพย์สุทธิของกิจการ (equity = net asset)

ROE คือ “กำไรที่ปราศจากภาระ” ของกิจการที่สร้างขึ้นจากเงินหรือทรัพย์สินส่วนของเจ้าของทั้งหมดโดยไม่ได้กู้ยืม ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคบริษัทเดิม มีสินทรัพย์ทั้งหมด 30,000 ล้านบาท มีหนี้สิน 18,000 ล้านบาท เท่ากับเป็นส่วนของเจ้าของ 30,000 – 18,000 = 12,000 ล้านบาท จึงคำนวณ ROE ได้เท่ากับ 2,000 ÷ 12,000 (กำไรสุทธิ ÷ ส่วนของผู้ถือหุ้น) = 16.7%

ถ้า ROE สูง แสดงว่า ธุรกิจให้ผลตอบแทนดี เพราะลงทุนน้อยแต่ทำกำไรได้มาก โดยต้องมีค่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 10% ขึ้นไป และต้องไม่มีหนี้สูง ยกเว้นหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน

สรุปว่า ค่า ROE (Return on Equity) หมายถึง อัตราผลตอบแทนของการลงทุนที่มีต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ลงทุนไป แสดงถึงความสามารถในการบริหารงานเพื่อให้เกิดผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของ

หมายเลขบันทึก: 600689เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท