Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

แบบวัดพฤติกรรมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.


การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (QuantitativeResearch)ศึกษาจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่เข้าร่วมโครงการอบรมพฤติกรรมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในปี พ.ศ. 2558ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150คน ซึ่งใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

และการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามชนิดปลายปิด(Close – endedQuestionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองเพื่อให้ได้ข้อคำถามครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาโดยแบ่งข้อคำถามออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยเพศ อายุ ภูมิลำเนา เกรดเฉลี่ยประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม และความรู้เกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการ จำนวนทั้งหมด 6 ข้อ

ส่วนที่ 2 เป็นข้อคำถามวัดระดับพฤติกรรมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ เป็นแบบสอบถามที่แพรภัทรยอดแก้ว สร้างขึ้นเองจากการตรวจสอบเอกสารตามกรอบแนวคิดความพึงพอใจ ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วน (Scale) ตามแบบการประเมินค่า (Rating Scale) โดยใช้การประเมินค่าของลิเคอร์ท(Likert’sScale) ที่ให้ผู้ตอบประเมินค่า (1 - 5) ด้วยการเลือกเพียงคำตอบเดียวประกอบด้วยข้อคำถาม จำนวน 60 ข้อ

มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ.970

ซึ่งครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ดังนี้

ตอนที่3 แบบวัดพฤติกรรมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.

คำชี้แจง ในปัจจุบัน ขอให้ท่านพิจารณาว่าตัวท่านมีลักษณะพฤติกรรมที่บรรยายไว้มากน้อยเพียงใดแล้วทำเครื่องหมายPลงในช่องว่างตามความเป็นจริงโดยตอบคำถามแต่ละข้อเพียง 1 คำตอบและกรุณาตอบทุกข้อ

ข้อ

พฤติกรรมค่านิยม 12 ประการ

ระดับการแสดงพฤติกรรม

บ่อยมาก(5)

บ่อย(4)

บาง

ครั้ง (3)

นานๆ ครั้ง (2)

ไม่เคย (1)

1.

ข้อที่ 1 มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ข้าพเจ้ายืนตรงเคารพธงชาติทุกครั้งที่ได้ยินเพลงชาติไทย ถ้าสามารถยืนได้

2.

ข้าพเจ้าเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความสามัคคีปรองดองที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม เช่น งานจิตอาสา งานกีฬา ฯลฯ

3.

ข้าพเจ้าเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ เช่น กิจกกรรมตักบาตร ,สวดมนต์,ทอดผ้าป่า , ทอดกฐิน ฯลฯ

4.

ข้าพเจ้าเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น งานวันพ่อ งานวันแม่ งานเฉลิมพระเกียรติ ฯลฯ

5.

ข้าพเจ้าดูและ/หรืออ่านข่าวพระราชกรณียกิจ ข่าวในพระราชสำนักเสมอ

6.

ข้อที่ 2 ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน

ข้าพเจ้าละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด จึงไม่กระทำผิด เช่น ไม่หยิบหรือไม่ถือเอาสิ่งของๆผู้อื่นมาเป็นของตนเอง โดยไม่ได้ขอ

7.

ข้าพเจ้าปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ ไม่คดโกงเอาเปรียบผู้อื่น

8.

ข้าพเจ้าเน้นความสำคัญเรื่องอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

9.

ข้าพเจ้าเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมได้

10.

ข้าพเจ้าอดทนรอได้ เช่น เข้าคิว ต่อแถวตามลำดับก่อน-หลัง เพื่อรอรับบริการ

11.

ข้อที่ 3กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

ข้าพเจ้าระลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ และตั้งใจตอบแทนเมื่อมีโอกาส

12.

ข้าพเจ้าตอบแทนพระคุณของพ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ด้วยการตั้งใจเรียน

13.

ข้าพเจ้าปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อ แม่ ครูบาอาจารย์

14.

ข้าพเจ้าช่วยเหลืองานบ้านหรือช่วยทำงาน ตามที่ได้รับมอบหมายจากพ่อ แม่ ครูบาอาจารย์

15.

ข้าพเจ้าทำความเคารพพ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ อย่างนอบน้อมทุกครั้งที่เจอ

16.

ข้อที่ 4 ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม

ข้าพเจ้าตั้งใจเรียน เอาใจใส่การเรียน เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

17.

ข้าพเจ้าสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเอง เช่น อบรมหลักสูตรระยะสั้น อบรมสัมมนา อบรมพัฒนาตนเอง

18.

ข้าพเจ้าขยันอ่านหนังสือเรียน และตำรา เอกสารต่างๆ เพื่อเพิ่มความรู้

ข้อ

พฤติกรรมค่านิยม 12 ประการ

ระดับการแสดงพฤติกรรม

บ่อยมาก(5)

บ่อย(4)

บาง

ครั้ง (3)

นานๆ ครั้ง (2)

ไม่เคย (1)

19.

ข้าพเจ้าทำงานและการบ้านส่งครูอย่างถูกต้อง เป็นระเบียบและตรงเวลา

20.

ข้าพเจ้าค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ เอกสาร สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มีความรู้ด้านต่างๆมากขึ้น

21.

ข้อที่ 5 รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

ข้าพเจ้าบอกเล่าถึงภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทยแก่ผู้อื่นเสมอ

22.

ข้าพเจ้าแต่งกายเรียบร้อยและมีมารยาทงดงามแบบไทย เช่น การไหว้ การแสดงความเคารพ

23.

ข้าพเจ้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทย เช่น ลอยกระทง สงกรานต์ ฯลฯ

24.

ข้าพเจ้าใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง

25.

ข้าพเจ้าร่วมอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย โดยนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้กระเป๋าจักสาน ทานขนมไทย อาหารไทย

26.

ข้อที่ 6 มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน

ข้าพเจ้ารักษาศีล 5 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่โกหก ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และใช้ยาเสพติด

27.

ข้าพเจ้าให้ความช่วยเหลือเพื่อนและผู้อื่นเสมอ เมื่อเค้าเดือดร้อนหรือมีปัญหา

28.

ข้าพเจ้าแบ่งปันสิ่งของ ทรัพย์สิน ให้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน

29.

ข้าพเจ้ารักษาสัจจะ เมื่อพูดอะไร รับปากกับใครแล้วจะปฏิบัติตามนั้น

30.

เมื่อข้าพเจ้าต้องตัดสินใจ ข้าพเจ้าจะคำนึงถึงผลที่ตามมาทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมเสมอ

31.

ข้อที่ 7 เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

ข้าพเจ้าค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

32.

ข้าพเจ้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่น การเลือกตั้ง การรณรงค์ประชาธิปไตย

33.

ข้าพเจ้าร่วมอบรม/สัมมนา เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

34.

ข้าพเจ้าอ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

35.

ข้าพเจ้าอธิบายให้เพื่อนหรือผู้อื่นได้เข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

36.

ข้อที่ 8 มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

ข้าพเจ้ามีระเบียบวินัยในตัวเอง และตรงต่อเวลา เช่น จัดบ้านหรือที่พักให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มาตามนัดตรงต่อเวลา

ข้อ

พฤติกรรมค่านิยม 12 ประการ

ระดับการแสดงพฤติกรรม

บ่อยมาก(5)

บ่อย(4)

บาง

ครั้ง (3)

นานๆ ครั้ง (2)

ไม่เคย (1)

37.

ข้าพเจ้ารู้กฎระเบียบในห้องเรียนและสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

38.

ข้าพเจ้ารู้เกี่ยวกับกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยและสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

39.

ข้าพเจ้าเคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น สวมหมวกกันน็อค ปฏิบัติตามกฏจราจร

40.

ข้าพเจ้ามีความสุภาพ และอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้ใหญ่

41.

ข้อที่ 9 มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ

ข้าพเจ้าตั้งใจทำงานและรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ

42.

ข้าพเจ้าพยายามแก้ปัญหาและขจัดอุปสรรคในการทำงานให้สำเร็จ

43.

ข้าพเจ้าทุ่มเททำงาน อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

44.

ข้าพเจ้าปรับปรุงและพัฒนาวิธีการทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง

45.

ข้าพเจ้าปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเข้าใจ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

46.

ข้อที่ 10 รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ข้าพเจ้าใช้ทรัพย์สินของตนเองอย่างประหยัด คุ้มค่าและเก็บรักษาดูแลอย่างดี

47.

ข้าพเจ้าใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่าและเก็บรักษาดูแลอย่างดี

48.

ข้าพเจ้ามีเหตุผล ไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

49.

ข้าพเจ้าใฝ่หาความรู้ จากข้อมูลข่าวสาร เพื่อรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม

50.

ข้าพเจ้ายอมรับผู้อื่นและปรับตัว เพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

51.

ข้อที่ 11 มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ

ข้าพเจ้าใส่ใจดูแลสุขภาพทางกาย เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารครบ 5 หมู่ ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ อาหารปลอดสารพิษ

52.

ข้าพเจ้าใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความหมาย เช่น ใฝ่หาความรู้ อยู่กับคนที่รักและเสียสละเวลาส่วนตัวไปทำงานจิตอาสา

53.

ข้าพเจ้ายอมรับนับถือตนเองและภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Esteem) โดยมีความตระหนักถึงคุณค่าตนเอง (Self-respect) และมีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง (Self-efficacy)

54.

ข้าพเจ้ามองโลกในแง่ดี คิดในแง่บวก ยอมรับในสิ่งที่ไม่แน่นอนและสิ่งที่ไม่อาจควบคุมได้ อย่างเข้าใจ

55.

ข้าพเจ้ารู้เท่าทันอารมณ์ตนเองและสามารถจัดการอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้

ข้อ

พฤติกรรมค่านิยม 12 ประการ

ระดับการแสดงพฤติกรรม

บ่อยมาก(5)

บ่อย(4)

บาง

ครั้ง (3)

นานๆ ครั้ง (2)

ไม่เคย (1)

56.

ข้อที่ 12 คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติ

ข้าพเจ้าดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้ง ขยะลงในแหล่งน้ำและที่สาธารณะ

57.

ข้าพเจ้าดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ ประหยัดน้ำประปาหรือไฟฟ้าที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า

58.

ข้าพเจ้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

59.

ข้าพเจ้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ด้วยความกระตือรือร้น เพราะสุขใจที่ได้ทำกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อผู้อื่น

60.

ข้าพเจ้ายอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง และยอมรับการตัดสินใจของผู้นำประเทศที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติ


เอกสารอ้างอิง แบบสอบถามนี้มาจากงานวิจัยของ

แพรภัทร ยอดแก้ว. 2559. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ กับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


หมายเลขบันทึก: 600267เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท