Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

แบบสอบถามโครงการปณิธานความดีปีมหามงคล : ทำดีเริ่มได้ที่ใจเรา


ส่วนที่ 2ความพึงพอใจต่อโครงการ (ระดับ5 = มากที่สุด, 4 = มาก,3 = ปานกลาง,2 = น้อย, 1 = น้อยที่สุด)

รายละเอียด

ระดับความพึงพอใจ

5

4

3

2

1

1. ด้านปัจจัยแวดล้อมของโครงการ

1.1 ความสำคัญของโครงการ ปณิธานความดี

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการปณิธานความดี

1.3 ระยะเวลาที่จัดโครงการปณิธานความดี

1.4 การประชาสัมพันธ์โครงการปณิธานความดี

2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ

2.1 พระอาจารย์

2.2 วิทยากรกระบวนการ

2.3 เจ้าหน้าที่/พี่เลี้ยง

2.4 สถานที่จัดกิจกรรม

2.5 อาหารกลางวัน/อาหารว่าง

3. ด้านกระบวนการของโครงการ

3.1 กิจกรรมต่างๆ ของโครงการ

3.2 ความรู้ความสามารถของวิทยากร

3.3 การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม

3.4 การอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย

4. ด้านผลผลิตของโครงการ

4.1 ความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากโครงการกิจกรรมนี้

4.2 สามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ไปใช้ในการเรียน

4.3 สามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต

4.4 ประโยชน์ที่นักเรียน นักศึกษาได้รับจากโครงการปณิธานความดี

ส่วนที่ 2เป็นข้อคำถามวัดระดับความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคลเป็นแบบสอบถามที่แพรภัทรยอดแก้ว สร้างขึ้นเองจากการตรวจสอบเอกสารตามกรอบแนวคิดความพึงพอใจ ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วน (Scale) ตามแบบการประเมินค่า (Rating Scale) โดยใช้การประเมินค่าของลิเคอร์ท(Likert’sScale) ที่ให้ผู้ตอบประเมินค่า (1 - 5) ด้วยการเลือกเพียงคำตอบเดียวประกอบด้วยข้อคำถาม จำนวน 17 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ.933 ซึ่งครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคล 4 ด้าน

การทดสอบเครื่องมือในการวิจัย

ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เพื่อการวิจัยครั้งนี้ ไปทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น ดังนี้

1. การหาความเที่ยงตรง (Validity) โดยนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านความพึงพอใจและพฤติกรรมทางจริยธรรม เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องหาความเที่ยงตรงเนื้อหา (Content Validity) และการใช้ถ้อยคำ (wording) ของคำถามในแต่ละข้อว่าตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่ แล้วนำข้อเสนอ แนะมาปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามให้เหมาะสมกับการเก็บข้อมูลจริง จากนั้นนำไปทดลองใช้ (Try out) กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จำนวน 30 คน เพื่อดูความเข้าใจในแบบสอบถาม ความชัดเจนของเนื้อหา และผู้ตอบสามารถตอบได้ถูกต้องตามความเป็นจริง แล้วจึงนำมาคำนวณหาความสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวม (Item Total Correlation ) และหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค( Cronbach’s Coefficient Alpha ) ก่อนนำไปปรับใช้

2. การหาความสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวม ( Item Total Correlation ) เป็นการวิเคราะห์ตรวจสอบความสัมพันธ์ สอดคล้องกับคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยเลือกข้อที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .36 ขึ้นไป นำไปใช้

3. การหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามรายด้าน และทั้งฉบับโดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค ( Cronbach’s Coefficient Alpha ) ได้ผลดัง

3.1แบบสอบถามความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคล มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ.933

เอกสารอ้างอิง แบบสอบถามนี้มาจากงานวิจัยของ

แพรภัทร ยอดแก้ว. 2559. ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคลกับพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นำนักเรียน นักศึกษาจังหวัดนครปฐม.


หมายเลขบันทึก: 600264เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท