เล่าเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพ ในสหรัฐอเมริกา (1)


สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศร่ำรวยและมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข แต่ระบบสาธารณสุขของสหรัฐถูกประเมินว่า อยู่ในอันดับท้ายๆ ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้ไม่สามารถเข้าถึง ระบบบริการได้เป็นจำนวนมาก และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสิ้นเปลือง ขาดประสิทธิภาพ
 

http://time.com/2888403/u-s-health-care-ranked-worst-in-the-developed-world/

ได้มีความพยายามที่จะปฏิรูประบบสุขภาพ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีคลินตัน (1993-2001) แต่ทำไม่สำเร็จ


 

ที่รัฐโอเรกอน ผู้ว่าการรัฐ Dr. John Kitzhaber (ซึ่งเคยเป็นแพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน ก่อนหน้ามาลงสมัครการเมือง) ได้ปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ในรัฐโอเรกอน (ประชากรประมาณ 3.5ล้านคน) ที่เรียกว่า Oregon Health Plan ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1989 และได้รายงานในวารสาร The New England Journal of Medicine ในปี1997

The Oregon Health Plan — Lessons for the Nation ตอน 1

www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJM199708283370923

The Oregon Health Plan — Lessons for the Nation ตอน 2

www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJM199709043371021


 

ในสมัยประธานาธิบดี George W. Bush (2001-2009) ปี/2006 ผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซ็ตต์ Mitt Romney ได้ปฏิรูประบบสุขภาพในระดับรัฐ (ประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน) ซึ่งทำได้ผลสำเร็จดี

ปี2009 Mitt Romney ลงสมัครประธานาธิบดีในนามพรรครีพับลิกัน พ่าย บารัค โอบามา พรรคดีโมแครต


 

โอบามานำแนวคิดเรื่องการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่รัฐแมสซาชูเซ็ตต์ มาขยายผลในระดับประเทศ โดยมีอดีตที่ปรึกษาของ Mitt Romney มาช่วยเป็นขุนพล 2คน คือ

โจนาธาน กรูเบอร์ (Jonathan Gruber) ศาสตราจารย์วิชาเศรษฐศาสตร์ที่ MIT

https://en.wikipedia.org/wiki/Jonathan_Gruber_(economist)

นพ.เดวิด บลูเมนทาล (Dr. David Blumenthal) ศาสตราจารย์วิชานโยบายสาธารณสุข ที่วิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด

https://en.wikipedia.org/wiki/David_Blumenthal

บลูเมนทาล เสนอเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วย


 

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณสุขของสหรัฐ มีกฎหมายสำคัญที่ช่วยสนับสนุน คือ HITECH Act และ HIPAA Law

HITECH Health Information Technology for Economic and Clinical Health Act ผ่านสภา ในปี 2009

https://en.wikipedia.org/wiki/Health_Information_Technology_for_Economic_and_Clinical_Health_Act

มีเนื้อหาสำคัญ 3 ประการ

1) กำหนดให้มีการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record EMR)

2) มีแผนปรับปรุง EMR ให้มีโครงสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งมีศัพท์เรียกว่า Meaningful Use

3) รัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุน ให้โรงพยาบาลจัดหา EMR ในระยะเริ่มต้น และเมื่อถึงเวลากำหนด แพทย์และโรงพยาบาลที่ไม่ใช้ EMR จะถูกปรับลดเงิน ที่ขอเบิกจ่ายจากกองทุนประกันสุขภาพ

HIPAA (Health Insurance Portability and Accountability Act) ผ่านสภาในปี 1996 ในยุคประธานาธิบดีคลินตัน

กำหนดเรื่อง ความเป็นส่วนตัว การรักษาความลับของข้อมูลทางการแพทย์ และสาธารณสุข (Privacy , Confidentiality , Security)

https://en.wikipedia.org/wiki/Health_Insurance_Portability_and_Accountability_Act

สหรัฐลงทุนเรื่อง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการแพทย์และสาธารณสุขมากถึง $35,000 ล้าน

http://healthaffairs.org/blog/2015/03/04/where-is-hitechs-35-billion-dollar-investment-going/

 

***ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

เล่าเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพ ในสหรัฐอเมริกา (1)

https://www.gotoknow.org/posts/600097

 

เล่าเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพ ในสหรัฐอเมริกา (2)

https://www.gotoknow.org/posts/600099

 

บันทึกชีวประวัติของ ลีกวนยิว เกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพของสิงคโปร์

https://www.gotoknow.org/posts/599194

 

บทบาทรมต.คลัง ในการทำให้ประเทศมีหลักประกันสุขภาพ ได้สำเร็จ และมีความยั่งยืน

https://www.gotoknow.org/posts/643066

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 600097เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2016 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2021 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท