ปราชญ์/ผู้นำชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : ศึกษา ลุงเอี่ยม ศรีพนมวรรณ์ (ครั้งที่ 2)


“ลุงเอี่ยม ศรีพนมวรรณ์” ปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกรคนเก่ง แห่งบ้านห้วยยางเหนือ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ที่อยู่ : 82 หมู่ 17 บ้านห้วยยางเหนือ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110
โทร. 089 806 5282
อายุ : 50 ปี
การศึกษา : ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

จากคนที่หันหลังให้ธรรมชาติ เมื่อลุงเอี่ยมได้บวชเป็นพระจึงได้สัมผัสหลักธรรม และอภิธรรมมากมาย ครั้งหนึ่งเมื่อตอนเป็นพระ ลุงเอี่ยมเคยได้เดินธุดงค์จากดอยสุเทพมาถึงกรุงเทพใช้เวลาเดินประมาณ 4 เดือน ตลอดระยะเวลาในการเดินธุดงค์ลุงเอี่ยมได้รู้จักกับพันธุ์ไม้ พันธุ์พืชสมุนไพรต่างๆที่มี ประโยชน์ และได้ศึกษาว่าคนแต่ละภาค แต่ละจังหวัด กินพืชผักสมุนไพรชนิดใด เพราะคนสมัยก่อนอยู่ได้เพราะพันธุ์ไม้พันธุ์พืชและพืชสมุนไพร ลุงเอี่ยมบวชได้ประมาณ 1 พรรษา และศึกออกมาอยู่ที่บ้าน แต่ก่อนบ้านของลุงเอี่ยมเป็นไร่อ้อยทั้งหมด เพราะรุ่นพ่อ แม่ของลุงเอี่ยม และคนในชุมชน หันไปโละป่าแล้วปลูกอ้อย ทำเป็นอาชีพเชิงเดียว ป่าก็ค่อยๆหมดไป แล้วนำรายได้จากการปลูกอ้อย ไปปลูกบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย พอเข้าฤดูฝน ลม พายุ ก็พัดเอาสังกะสีหลังคาบ้านเสียหายไปหมด เพราะ ไม่มีป่าเป็นแนวบังลม จากนั้นลุงเอี่ยมเลยเข้าใจและเห็นความสำคัญของป่าและธรรมชาติ ลุงเอี่ยมเริ่มจากการหาพันธุ์ไม้และพันธุ์พืชต่างๆมาปลูกไว้ที่บ้านของตัวเองอยู่ตลอด ปลูกเพื่อใช้เป็นแนวบังลมและปลูกทดแทนแผ่นดิน บ้านของลุงเอี่ยมเริ่มจากเป็นศูนย์สมาชิกเล็กๆ เรียกว่า ศูนย์ละลายพฤติกรรมและศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เช่น การเผาถ่านและการทำน้ำยาล้างจาน ลุงเอี่ยมนำความรู้ที่ตนเองมีมาถ่ายทอดให้สมาชิกภายในชุมชนและผู้สนใจได้นำไปใช้ ลุงเอี่ยมได้แนะนำให้สมาชิกดำเนินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง บ้านของสมาชิกทุกคนจะมีพืชผักสวนครัวไว้กินตามฤดูกาล พอถึงฤดูฝนสมาชิกจะนำพืชผักและเมล็ดพันธุ์ต่างๆมาแลกเปลี่ยนกันที่บ้านของลุงเอี่ยม เพื่อที่จะได้มีพันธุ์พืชทดแทนกันอยู่เสมอไม่สูญหายไปจากชุมชน และในทุกเช้าที่บ้านของลุงเอี่ยมจะมีสมาชิกประมาณสิบกว่าคน นำเห็ดมารวมกันขาย ในทุกๆเช้าสมาชิกจะมีรายได้ตั้งแต่ 10000-30000 บาท ลุงเอี่ยมได้สอนให้สมาชิกทุกคนมีความเสมอภาคกัน รู้จักแบ่งปัน และมีน้ำใจซึ่งกันและกัน ปัจจุบัน ลุงเอี่ยมได้ปลูกต้นไม้มาประมาณ 20 กว่าปีแล้วปลูกพืชสมุนไพรและไม้น้อยใหญ่กว่า 1,000 ชนิด ลุงเอี่ยมพูดอยู่เสมอว่า “ที่ลุงทำทั้งหมดนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนแผ่นดิน คนที่ทำตรงนี้ ขาดทุนแต่ได้กำไร หมายถึง ได้กำไรชีวิต และเมื่อเราตายไปเราจะได้บุญไปอีกภพหนึ่ง”



บ้านของลุงเอี่ยม ถือได้ว่าเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง เพราะลุงเอี่ยมสามารถเปลี่ยนความคิดของคนในชุมชน ให้กลับมาปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินไว้ใช้ และเมื่อมีพันธุ์ไม้ใหม่ๆอะไรเข้ามา บ้านของลุงเอี่ยมก็จะเป็นศูนย์กลางในการแจกจ่ายให้กับชาวบ้านภายในชุมชน

และบ้านของลุงเอี่ยมยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้อีกหลายอย่าง เช่น การพัฒนาดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ และสวนรวมสมุนไพรพื้นบ้าน โดยเฉพาะดินของบ้านลุงเอี่ยมถือว่าเป็นดินที่มีความอุดสมบูร์มากเพราะลุงแกมีการปลูกพืชบำรุงหน้าดินอยู่เสมอ ดินจึงมีความชุ่มชื้น และมีแร่ธาตุมากมาย พร้อมที่จะปลูกต้นไม้อยู่เสมอ

หลังจากที่ลุงเอี่ยมได้พาเดินดูพื้นที่ป่าภายในบ้าน ลุงเอี่ยมก็ยังให้ข้อคิดกับพวกเราอีกหลายอย่าง ทั้งสอนเรื่องธรรมมะ สอนเรื่องความเป็นผู้นำ และการตอบแทนแผ่นดิน ลุงเอี่ยมได้สอนให้เราเปลี่ยนความคิดจาก “เราจะเอาอะไรจากธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นเราจะทำอะไรให้ธรรมชาติ” เมื่อเราทำตัวเองให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อสังคมแล้ว ก็จะทำให้ตัวเรานั้นมีประโยชน์ !!!



หมายเลขบันทึก: 600096เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2016 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2016 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท