บทบาทรมต.คลัง ในการทำให้ประเทศมีหลักประกันสุขภาพ ได้สำเร็จ และมีความยั่งยืน


 

ทาโร อาโสะ รองนายกรมต. และรมต.คลังญี่ปุ่น เขียนเรื่องบทบาทรมต.คลัง ในการทำให้ประเทศมีหลักประกันสุขภาพ (Universal Health Coverage UHC) ได้สำเร็จ และมีความยั่งยืน ลงในวารสาร Lancet เมื่อ 2 ธค.2560

www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(17)33077-5/fulltext

อาโสะให้ข้อแนะนำ 4 ประการ

1)ญี่ปุ่นมีระบบประกันสุขภาพ ตั้งแต่ปี1920 เริ่มจากระบบประกันสังคมของบริษัทและข้าราชการ เสริมด้วย

ระบบประกันสุขภาพชุมชน (Community-based Health Insurance) พัฒนาโดยลำดับ จนสามารถครอบคลุมประชากรทุกคนในปี 1961

การมีระบบประกันสุขภาพ ทำให้สังคมมีความมั่นคง เศรษฐกิจก้าวหน้า มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม มีสัดส่วนคนชั้นกลางเพิ่มขึ้น

ญี่ปุ่นใช้วิธีกำหนดเพดานงบประมาณด้านสุขภาพ (Global Budget) และระบบการจ่ายเงินแบบ Fee-for-service  แต่มีการนำเอาข้อมูลราคา (Price)และจำนวนการให้บริการ (Volume) มาทบทวนอย่างเข้มข้น กำหนดเป็นราคากลาง Fee Schedule ของบริการแต่ละประเภท เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนได้  การวางกฎระเบียบ และการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ช่วยปรับความคาดหวังของผู้ให้/ผู้รับบริการ มั่นใจว่าผลการบริการและเงินรายรับ มีประสิทธิภาพและสมเหตุสมผล

2)การวางแผนใช้แหล่งเงินในประเทศ เพื่อประกันสุขภาพ แต่ละประเทศมีแหล่งเงิน 3 แหล่ง คือภาษี เบี้ยประกันและการร่วมจ่าย

ระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นอาศัยเบี้ยประกันเป็นหลัก เงินภาษีเป็นส่วนเสริม ระบบประกันมีการตรวจสอบ และจูงใจให้รักษาวินัย ในการใช้จ่าย และพิทักษ์สิทธิ์ในการรับบริการ

มีการร่วมจ่าย เพื่อป้องกันการใช้เกินความจำเป็น Moral hazard

และใช้กลไกการเก็บภาษีการบริโภค VAT มาใช้เพื่อความมั่นคงด้านสังคม เมื่อมีปริมาณผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมาก

3)แหล่งเงินสำหรับประเทศยากจน หรือรายได้ปานกลาง อาจใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ การจัดประกันสุขภาพ เป็นการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญด้านหนึ่ง

4)การวางแผนเพื่อสังคมผู้สูงอายุ ญี่ปุ่นเพิ่มภาษี VAT เพื่อนำเงินไปเสริมเรื่องการดูแลเด็ก การลดเบี้ยประกันสุขภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพิ่มเงินให้ระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (Long-term care) มีความเข้มแข็ง

 

 

ประเทศไทยใช้เงินภาษีเป็นหลักในการจัดระบบประกันสุขภาพ ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มากขึ้น ประชาชนมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น แต่ระบบทำท่าจะไม่ยั่งยืน เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากประชากรมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และมียา/เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีราคาสูง ทำให้ต้องมาทบทวนระบบการคลังสุขภาพ ว่าจะหาแหล่งเงินจากที่ใดมาเพิ่มเติม

การร่วมจ่ายเป็นประเด็นที่พูดกันมาก ที่เหมาะสมคงเป็นการร่วมจ่ายก่อนป่วย คือให้มีการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ เช่นเดียวกับระบบประกันสังคม

 

 

การจัดให้มีระบบประกันสุขภาพชุมชน แบบญี่ปุ่น มีการจ่ายเบี้ยประกัน เป็นช่องทางเพิ่มงบประมาณเพื่อจัดบริการสุขภาพ

การเพิ่มภาษี VATอีก 1-3% ใครซื้อของเพื่อบริโภค ภาษีVAT ส่วนที่เพิ่มจะถูกผลักเข้าบัญชีเงินออมเพื่อสุขภาพของตน และเข้าบัญชีงบประมาณสุขภาพระดับท้องถิ่น อำเภอ/ตำบล/จังหวัด

ทั้งนี้เทคโนโลยีการเงินสมัยใหม่ FinTech จะช่วยควบคุมให้เงินที่เข้าบัญชี นำไปใช้จ่ายเฉพาะด้านสุขภาพที่จำเป็น

 

***ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

เล่าเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพ ในสหรัฐอเมริกา (1)

https://www.gotoknow.org/posts/600097

 

เล่าเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพ ในสหรัฐอเมริกา (2)

https://www.gotoknow.org/posts/600099

 

บันทึกชีวประวัติของ ลีกวนยิว เกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพของสิงคโปร์

https://www.gotoknow.org/posts/599194

 

บทบาทรมต.คลัง ในการทำให้ประเทศมีหลักประกันสุขภาพ ได้สำเร็จ และมีความยั่งยืน

https://www.gotoknow.org/posts/643066

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 643066เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2017 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2021 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคณสำหรับความรู้ครับ...น่าสนใจมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท