ความรู้และความเข้าใจทางการเงิน


ความพยายามมากแค่ไหน ความสำเร็จก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน

การเงินกับธุรกิจ

การเงินกับธุรกิจ ถือเป็นหนึ่งในสี่ของหน้าที่หลักที่สำคัญขององค์กรธุรกิจ อาจมาจากสภาพเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราฉะนั้นการสร้างความได้เปรียบในด้านต่างๆย่อมมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

นอกจากนี้แล้ว ผู้บริหารจะต้องก้าวทันต่อเหตุการณ์และตื่นตัวอยู่เสมอพร้อมกับตัดสินใจอย่างรวดเร็วและรอบคอบอีกด้วย เพื่อจะให้ข้อมูลถูกต้องและน่าเชื่อถือจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะและสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจของตัวเราเอง ประกอบกับความรู้ ความสามารถในวิชาชีพทางการเงินของตัวเองที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ด้วยกัน ตลอดจนสามารถนำเสนอข้อมูลทางการเงินที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานให้มากที่สุด


หน้าที่ของฝ่ายการเงิน

1. การพยากรณ์และวางแผน (Forecasting and Planning) หน้าที่ของฝ่ายการเงิน

2. การตัดสินใจเรื่องการลงทุนและการจัดหาเงินทุน (Investment and Financing)

3. การประสานงานและการควบคุม (Coordinating and Controlling)

4. ติดต่อกับตลาดเงินและตลาดทุน (Dealing with Financial Market)

5. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

รูปแบบของธุรกิจ

o กิจการเจ้าของคนเดียว (Single proprietorship)

ธุรกิจเจ้าของคนเดียวจัดเป็นธุรกิจขนาดเล็ก โดยมีรูปแบบการจัดตั้งและการดำเนินงานที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนโดยมีเจ้าของเป็นผู้บริหารงานแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอาจจะเป็นผู้ก่อตั้งกิจการหรือสืบทอดกันมาทางครอบครัวโดยปกติจะเป็นบุตรหลานของผู้ก่อตั้งสืบทอดการดำเนินการแทนหลังจากที่ผู้ก่อตั้งสิ้นชีวิตไป

o ห้างหุ้นส่วน (Partnership)

ธุรกิจที่จัดตั้งโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรจากการประกอบกิจการ ลักษณะของห้างหุ้นส่วนโดยทั่วไป คล้ายกิจการเจ้าของคนเดียวต่างกันเพียงเงื่อนไขในการจัดตั้งเท่านั้น

o บริษัทจำกัด (Company limited)

ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายโดยผู้ก่อตั้งจำนวนตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเรียกผู้ลงทุนในบริษัทว่า “ผู้ถือหุ้น”

oบริษัทมหาชน (Public company limited)

มีกลุ่มผู้จัดตั้งเป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป และมีกรรมการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จัดหาเงินทุนได้ง่ายมีข้อจำกัดทางกฏหมายที่เข้มงวดมากและการรับผิดในหนี้สินจำกัดจำนวน


อ้างอิง

http://www.teacher.ssru.ac.th/arunroong_wo/file.php/1/01_.pdf






หมายเลขบันทึก: 599559เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2016 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2016 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท