การวางแผนหลักสูตร


นางสาวรัศมี รัตนประชา 57254913

การสอนภาษาอังกฤษ

รายวิชา 472 516 กลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้

I ปฏิบัติการ : การวางแผนหลักสูตร

สาระสำคัญของความรู้ที่ได้จาก วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ยุคใหม่ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น วิจารณ์ พานิช ได้ระบุหลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ 5 ประการ คือ

1. Authentic learning ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด

2. Mental model building เป็นการปลูกฝังค่านิยม เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสม จนเกิดเป็นกระบวนทัศน์หรือความเชื่อ ค่านิยมใหม่ ทำให้เป็นคนที่มีความคิดเชิงกระบวนทัศน์

3. Internal motivation เป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง ขับด้วยสิ่งที่อยู่ภายในตัวคน

4. Multiple intelligence เด็กแต่ละคนมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่างกัน จึงต้อง

จัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน

5. Social learning การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เด็กเรียนสนุกและ

เกิดนิสัยรักการเรียน

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต ได้แก่ 3R x 7C

3R ได้แก่

Reading การอ่านออก (W)Riting การเขียนได้ และ (A)Rithmetics การคิดเลขเป็น

7C ได้แก่

1. ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical thinking & problem solving) เป็นการคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (expert thinking) คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถใช้การคิด วิเคราะห์เปรียบเทียบและประเมิน โดยมีข้อมูลหลักฐาน และตั้งคำถามสำคัญที่ช่วยให้ความกระจ่างให้แก่มุมมองต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ทางออกที่ดีกว่า และนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

2. ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & innovation) เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ กระบวนการใหม่ หาแนวโน้มและคาดการณ์ความเป็นไปได้

3. ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural understanding) เป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลายของชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นทักษะที่เน้นความเข้าใจกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธุ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก

4. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, teamwork &

leadership) แสดงความสามารถในการทำงานอย่างได้ผล และแสดงความเคารพให้เกียรติทีมงานที่มีความหลากหลาย เป็นคุณค่าของบทบาทของผู้ร่วมทีมคนอื่น ๆ

5. ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, information & media literacy) มีทักษะการสื่อสารทั้งด้วยวาจา ข้อเขียน และฟังอย่างมีประสิทธิผล ใช้ภาษาเพื่อบรรลุเป้าหมายหลายด้าน เช่น จูงใจ และชักชวน มีการเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้สารสนเทศอย่างแม่นยำและสร้างสรรค์

6. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Computing & ICT literacy) ได้แก่ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี รวมถึงทักษะในด้านการใช้เครื่องมือในการแสวงหาความรู้

7. ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ (Career & learning skills) ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีการพัฒนาทักษะอาชีพและการเรียนรู้

สาระสำคัญของความรู้ที่ได้จาก การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ

นิยาม ความหมาย

ความหมายของหลักสูตร สรุปได้ดังนี้ หลักสูตร หมายถึง แผนการ แผนงาน โครงการหรือเอกสารที่จัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการระบุจุดหมาย วัตถุประสงค์ การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ทั้งในและนอกชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการสร้างและปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้ได้หลักสูตรใหม่ที่มีผลดียิ่งขึ้น โดยการจัดเนื้อหา การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

สี่เสาหลักการศึกษา

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ศึกษาหาแนวทาง การจัดการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยมีคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นผู้เสนอรายงานเรื่อง Learning : The Treasure Within โดยมีสาระสำคัญตอนหนึ่งที่กล่าวถึง สี่เสาหลักทางการศึกษาว่า สี่เสาหลักที่เป็นรากฐานของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย การเรียนรู้ 4 ลักษณะ ได้แก่

1. การเรียนเพื่อรู้ (Learning to know) เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการแก้ปัญหา รวมไปถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้และวิธีการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต

2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้ (Learning to do) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถความชำนาญและมีสมรรถนะในวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ และการฝึกปฏิบัติในห้องเรียนไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่าง

3. การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน (Learning to live together) หมายถึงการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข ต้องรู้จักที่จะเรียนรู้ตนเองและผู้อื่น ตระหนักถึงความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของการอยู่ร่วมกันในสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปัน สามารถที่จะเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันเป็นการเรียนรู้ที่เน้นมนุษยสัมพันธ์

4. การเรียนรู้เพี่อชีวิต (Learning to be) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนในทุก ๆ ด้านทั้งจิตใจและร่างกาย สติปัญญา ศีลธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

สี่เสาหลักทางการศึกษามีความสำคัญและเป็นหัวใจของแนวทางจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพราะสี่เสาหลักทางการศึกษานี้เกี่ยวพันและเชื่อมโยงทุกระดับของการศึกษา ถูกนำไปใช้เป็นหลักการ หรือกรอบในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ มีวิธีการคิดที่เป็นระบบ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุขในสังคม ชุมชนร่วมกับผู้อื่น

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร

พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา และพื้นฐานด้านสังคม

พื้นฐานด้านปรัชญา

การตัดสินใจทำหลักสูตรต้องเริ่มต้นที่ปรัชญาเป็นอันดับแรก เนื่องจากปรัชญาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร ปรัชญาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจุดมุ่งหมาย สาระวิชา การบริหาร กระบวนการสอนและการเรียนรู้ พร้อมทั้งยังช่วยในการพิจารณาหนังสือเรียน แบบฝึกหัด การจัดกิจกรรม งานที่มอบหมายและการทดสอบ (Ornstein, 2010: 1-2)

การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ (knowledge) มาจากพื้นฐานปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) และ นิรันตรนิยม (Perennialism) หลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน (learner) มาจากพื้นฐานปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) และหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม (society) มาจากพื้นฐานปรัชญาปฎิรูปนิยม (Reconstructionism)

1. หลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้กับปรัชญาสารัตถนิยมและปรัชญานิรันตรนิยม

ปรัชญาสารัตถนิยม เน้นความเข้มแข็งทางวิชาการ ทักษะที่จำเป็นและวิชาการ

ต่าง ๆ มีความรอบรู้ในมโนทัศน์และหลักการของสาระวิชา ทิศทางของหลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และศิลปะต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางสติปัญญาและสอนให้เป็นผู้มีความสามารถ ในส่วนของปรัชญา นิรันตรนิยม เน้นการศึกษาในเนื้อหาสาระ การพัฒนาด้านสติปัญญา ใช้เหตุผล เน้นการศึกษาทางด้านศิลปศาสตร์ มุ่งไปสู่ความสำเร็จทางปัญญาและการใช้เหตุผล การเรียนการสอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง หลักสูตรที่เน้นความรู้นี้สอนให้เป็นคนเก่ง

2. หลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียนกับปรัชญาอัตถิภาวะนิยม

ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม มีแนวคิดว่ามนุษย์มีเสรีภาพในแนวทางที่ตนปรารถนา ดังนั้น ปรัชญานี้เป็นปรัชญาที่ให้ความเป็นอิสระแก่ผู้เรียนในการเลือกที่จะเรียนรู้ ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์จริง เป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต เป็นผู้ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา ดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หลักสูตรนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี

3. หลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคมกับปรัชญาปฏิรูปนิยม

ปรัชญาปฏิรูปนิยม มีแนวคิดว่าผู้เรียนไม่ได้เรียนเพื่อตนเองเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคม เน้นทักษะและเนื้อหาวิชาที่จำเป็นในการแก้ไขและปรับปรุงปัญหาของสังคม เรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ในสังคมปัจจุบันและอนาคต หลักสูตรส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม หลักสูตรนี้มุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข

พื้นฐานด้านจิตวิทยา

นักพัฒนาหลักสูตรต้องจัดทำหลักสูตรที่สนองต่อความต้องการและความสนใจของผู้เรียนที่แท้จริง ต้องศึกษาพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้าง (Constructivism) ความรู้พื้นฐานด้านจิตวิทยาใช้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนเพื่อให้รู้ว่า ผู้เรียนเป็นใครและมีความต้องการและสนใจอะไร มีพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างไร

พื้นฐานด้านสังคม

ข้อมูลสำคัญของพื้นฐานด้านสังคมที่ควรศึกษาคือข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม แนวคิดของพัฒนาการทางสังคม มี 4 ยุค คือ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคข้อมูลฐานความรู้และยุคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรว่าหลักสูตรแบบไหนถึงจะเหมาะกับผู้เรียนในยุคสมัยต่าง ๆ

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรSU Model

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรSU Model ของ รศ.ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ แสดงกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย 1) การวางแผนหลักสูตร 2) การออกแบบหลักสูตร 3) การจัดหลักสูตร และ 4) การประเมินหลักสูตร โดยการพัฒนาหลักสูตรต้องยึดหลักพื้นฐาน 3 ด้านคือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา และพื้นฐานด้านสังคม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็น มหาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เดิมเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี พ.ศ. 2531 และได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่จัดการศึกษาอยู่ 4 เขต ด้วยกัน ประกอบด้วย

1. วิทยาเขตศาลายา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานอธิการบดี และศูนย์กลางมหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ตลอดจนจัดการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของวิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์ และวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

2. พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ เป็นที่ตั้งคณะบริหารธุรกิจและคณะศิลปศาสตร์

3. วิทยาลัยเพาะช่าง จัดการศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์

4. วิทยาเขตวังไกลกังวล เป็นที่ตั้งคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี คณะอุตสาหกรรมการโรงแรมและท่องเที่ยว คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศิลปศาสตร์

วิสัยทัศน์

เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งสังคมการประกอบการ (The leading University of Entrepreneurs)

พันธกิจ (Mission)

1. ผลิตบัณฑิตด้านศิลปวิทยาที่มีคุณภาพ สามารถก้าวสู่สังคมการประกอบการ

2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า สามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและสังคม

3. เป็นศูนย์กลางบริการวิชาการแก่สังคมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนในเขตท้องถิ่น

4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาไทย

5. บริหารจัดการเพื่อพัฒนาองค์กรเข้าสู่องค์กรคุณภาพ

6. พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ

7. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ

ตารางที่ 1 ปฏิบัติการวางแผนหลักสูตร

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้-ทักษะ-ความสามารถ

1) การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง

2) การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่

3) ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่

การวางแผนหลักสูตร - มีความมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา

1. การวางแผนหลักสูตรต้องอยู่บนพื้นฐาน 3 ด้าน ได้แก่ ปรัชญา จิตวิทยา และสังคม

2. ข้อมูลพื้นฐานที่ต้องนำมากำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาได้แก่ ผู้เรียน เนื้อหา และสังคม

3. สี่เสาหลักทางการศึกษามีความสำคัญและเป็นหัวใจของแนวทางจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพราะสี่เสาหลักทางการศึกษานี้เกี่ยวพันและเชื่อมโยงทุกระดับของการศึกษา ถูกนำไปใช้เป็นหลักการ หรือกรอบในการพัฒนาหลักสูตร

4. ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ (Career & learning skills) ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีการพัฒนาทักษะอาชีพและการเรียนรู้

5. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรSU Model

6. วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งสังคมการประกอบการ

และพันธกิจเป็นศูนย์กลางบริการวิชาการแก่สังคมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนในเขตท้องถิ่น

วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ปรัชญา แนวคิด

วิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ ได้แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์เบื้องต้นเพื่อให้เกิดทักษะอาชีพและการเรียนรู้ และเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้ (Learning to do) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถ ความชำนาญและมีสมรรถนะในวิชาชีพ

วิสัยทัศน์

มุ่งพัฒนาความสามารถ ความชำนาญ และส่งเสริม

การเรียนรู้ สู่ทักษะอาชีพ ระดับมาตรฐานสากล

เอกสารอ้างอิง

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : มูลนิธิ

สดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). “สี่เสาหลักของการเรียนรู้”. สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ส านักงานเลขาธิการคุรุสภา. หน้า 511 - 515.

สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นครปฐม:

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

Ornstein, A.C., Pajak, E.F. & Ornstein, S.B. (2010). Contemporary Issues in Curriculum. 5th ed.

Peason


หมายเลขบันทึก: 599331เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2016 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2016 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท