ระบาดวิทยาประยุกต์เพื่อสุขภาพของแม่และเด็ก



ต่อจากบันทึกที่แล้ว ที่ผมไปร่วมประชุม The 12th SEA Regional Scientific Meeting of the International Epidemiological Association and the 2nd Annual Conference of the Journalists and Writers Foundation ที่โรงแรม มณเฑียร ริเวอร์ไซด์ โดยเขาเชิญผมไปเป็นประธานการประชุมช่วงที่ ๒ ซึ่งเป็นการอภิปรายหมู่ ๓ คน เรื่อง Translational Epidemiology for Improving Maternal and Child Health

การประชุมนี้ เป็นการประชุมของสมาคมระบาดวิทยานานาชาติ จึงยกเอาเรื่อง “Translational Epidemiology” มาเป็นประเด็นเรียนรู้ โดย ศ. นพ. จิตร สิทธีอมร เป็นวิทยากรท่านแรก เปิดฉากบอกว่า ระบาดวิทยาทำหน้าที่สร้าง information ที่ท่านให้ชื่อว่า EBAM – Evidence-Based Actionable Message เพื่อเอาไปใช้ในการตัดสินใจทั้งเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติ

ตามมาด้วยการนำเสนอกรณีศึกษาเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ เอ็ชไอวี จากแม่สู่ลูกในครรภ์ ของประเทศไทย ช่วงปี ๒๕๔๔ - ๒๕๔๙ โดย นพ. อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่แสดงการใช้ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาตั้งแต่ก่อนกำหนดโครงการ ระหว่างดำเนินการโครงการ และเพื่อติดตามผลโครงการ ผลสุดท้ายคือ อัตราการติดเชื้อของลูกลดลงจากร้อยละ ๗ - ๘ เหลือ ๒.๑

วิทยากรท่านสุดท้ายคือ ศ. วิโนด แห่งอินเดีย ที่พูดยาวที่สุด ให้นิยาม Translational Epidemiologyผมฟังไม่ทัน และนั่งในตำแหน่งที่มองเห็นจอ PowerPoint ไม่ชัด พอจะเดาได้ว่า เป็นระบาดวิทยาที่ประยุกต์ใช้เพื่อผลด้านสุขภาพของประชากร ท่านยกกรณีตัวอย่างการดำเนินการในอินเดีย ทั้งเรื่องการพัฒนาวัยรุ่น และการแก้ปัญหาคอพอก

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่วิชาการด้านระบาดวิทยามีความเข้มแข็ง ส่วนหนึ่งมาจากการส่งเสริมโดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ ในโครงการ INCLEN และอีกส่วนหนึ่งจากการมีโครงการ FETP ที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ US CDC



วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 598795เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2015 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2015 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท