ช่วงเช้าของวันพฤหัสบดีที่แสนยุ่ง ได้มีโอกาสสังเกตกรณีศึกษา รายหนึ่งร่วมกับ ดร.ป้อบ ค่ะ กรณีศึกษาท่านนี้ขอใช้ชื่อย่อว่าคุณ เอ นะคะคุณเอมาพบนักกิจกรรมบำบัดด้วยอาการเศร้าเด่น
S: คุณเอ ผู้หญิง วัยผู้ใหญ่ สีหน้าไม่แจ่มใส อารมณ์คงที่สลับกับร้องให้เป็นช่วงๆ พูดคุยตรงประเด็น จังหวะการพูดคุยหยุดเป็นช่วงๆ มีเดินเซ ไวต่อการมองแสง คำพูด เสียง “รู้สึกกลัว กังวล”
O: คุณเอให้ความร่วมมือในการตรวจประเมินทางกิจกรรมบำบัดได้อย่างต่อเนื่อง คุณเอเริ่มมีอาการเศร้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2547 ราวๆช่วงเรียนชั้น ม.6 ช่วงนั้นผิดหวังกับการจะเรียนต่อสาขาที่อยากเรียน แต่ทางบ้านไม่สนับสนุน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Bipolar ครั้งนี้มาพบนักกิจกรรมบำบัดด้วย ความคิดกังวล สับสน งง เศร้า อาการทางกาย มีล้มเซ และปวดหัว
มาทำกิจกรรมร่วมกับคุณแม่ และนักกิจกรรมบำบัดในห้องคลินิกกิจกรรมบำบัด คุณเอสนิทกับคุณแม่มากกว่าคุณพ่อ จะกลัวคุณพ่อเวลาที่เสียงดัง มีการพูดคุยปฏิสัมพันธ์ระหว่างทำกิจกรรมบำบัดได้เหมาะสม ผู้รับบริการเล่าว่าตนเองชอบออกกำลังกายแบบเป็นจังหวะ ด้วยเครื่อง Eliptrical ชอบทำกิจกรรมพับผ้า สวดมนต์ จับมือแม่ก่อนนอน เพื่อผ่อนคลายความกังวล ไม่ถนัดวาดรูป ไม่ชอบการไปในที่ที่คุ้นเคยในอดีต เมื่อนึกถึงเรื่องที่ไม่ดี เรื่องที่ฝืนทำ จะทำให้ตนกังวลและเกร็ง ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมตามโปรแกรม สนใจโปรแกรม และบอกจะนำไปปฏิบัติต่อเนื่อง 21 วัน หลังจบกิจกรรมผู้รับบริการดูแจ่มใสมากขึ้น หยุดการร้องไห้ของตนเองได้แต่ยังมีน้ำตาคลออยู่เล็กน้อย ดูผ่อนคลายมากขึ้น การเคลื่อนไหวดูมั่นคงมากขึ้น
Program evaluation: เพิ่มระดับความคิดความเข้าใจ จากระดับ Cognitive level 4ไป5 ด้วย Occupation Adaptation และ เพิ่ม Emotional Coping Skills จากอารมณ์ทางลบให้เป็นอารมณ์ทางบวกมากขึ้น ด้วย MOHO(Volition)
A: โปรแกรมกิจกรรมบำบัด
หลังจากพูดคุยสร้างสัมพันธภาพ
① ให้คุณเอหลับตา กางแขนตรง และทบทวนลมหายใจ ใช้มือจับจากแขนขวา ไปที่จมูก และแขนซ้ายตามลำดับ จากนั้นให้ค่อยๆ นับเลขถอยหลัง จาก 100 ถึง 0 ระหว่างจำนวน 20 ถึง 0 ให้ออกเสียงดังขึ้น ในท่านั่ง และเดิน พบว่า ผู้รับบริการมีน้ำตาไหลระหว่างทำกิจกรรมนี้บ่อยครั้ง บอก “ปวดหัว” ทบทวนลมหายใจได้ตามลำดับ ระหว่างนับเลขมีนับผิดจังหวะ 3 ครั้ง ออกเสียงเบา น้ำเสียงไม่หนักแน่น
②เดินเท่าจำนวนอายุ 29 ปี (29 รอบ) พบว่า ผู้รับบริการรู้สึกสบายเมื่อตนเองเดินทแยงเป็นมุมเฉียงมากกว่าเดินวน “เดินวนเหมือนความคิดวนๆไปด้วย”
③กิจกรรมมองไฟหลากหลายสี 10 วินาที ผู้รับบริการมีปฏิกิริยาไว กับแสงหลายหลายสีปนกันมากกว่ามองทีละ2 สี รอบแรกที่มองสีบอกสีแดงคือสีที่สบายที่สุด แต่เมื่อประเมินรอบที่สองคุณเอบอกรู้สึกสบายเมื่อมองแสงสีขาวนวล ต้องปรับเป็นนั่งมองเพราะมีการเซ
④กิจกรรมสำรวจอารมณ์ความรู้สึก โดยให้ผู้รับบริการเขียนอารมณ์ของตนเองลงไปในกระดาษ 4 ช่อง คุณเอเขียน ว่า
-ปวดหัว เมื่อหลับตา คะแนน 7/10 เมื่อมองแสงสีแดง 6/10
-สับสน เมื่อเคลื่อนไหวเร็ว เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียง โดยเฉพาะเสียงคุณพ่อ
-งง/ลืม ว่างเปล่า (เป็นผลจากการทำ ECT ) ส่งผลต่อความจำ ตั้งใจมากจนลน ข้อมูลตกๆหล่นๆ มีผลต่อคือ การฟังได้น้อย การเขียนทำได้สั้น การ อ่านทำได้ดีที่สุด
-เศร้า “เมื่อนึกถึงเรื่องในอดีต น้ำตาก็จะออกมาเอง”
⑤กิจกรรมพับกระดาษให้เล็กที่สุด โดยคุณแม่เป็นคนสื่อสารบอกด้วยเสียงที่เบาที่สุดและให้คุณเอทำตาม (ประยุกต์จากการพับผ้าเป็นการพับกระดาษ) พบว่า คุณเอสามารถพับกระดาษให้เล็กที่สุดได้ แต่บอกว่าไม่เข้าใจสิ่งที่คุณแม่บอก สีหน้าเครียด ทำกิจกรรมได้ต่อเนื่อง
⑥สัมผัสมือคุณแม่และวาดรูปใบหน้าคุณแม่ลงในกระดาษ พบว่า ระหว่างผู้รับบริการจับมือคุณแม่ มีน้ำตาซึมเล็กน้อย วาดรูปโดยใช้ดินสอ ออกมาเส้นไม่มั่นคงและไม่เป็นระเบียบ ไร้พลังงาน
⑦สำรวจการใช้เวลาในแต่ละวัน คุณเอเล่าว่าตนเองทานยาก่อนนอนเวลาสองทุ่มครึ่ง และจะเข้านอนประมาณห้าทุ่มครึ่งหรือนานกว่านั้น ให้เหตุผลว่าที่ยืดเวลาการนอนเพราะตนเองทานยาแล้วรู้สึกสงบ หลังจากวุ่นวายมาทั้งวัน อยากอ่านหนังสือ หรือบางครั้งก็นอนไม่หลับเอง ตื่นนอนเวลา หกโมงเช้า
Clinical Reasoning: จากโปรแกรมที่⑤ อธิบายด้วย PEOP
P: ผู้รับบริการมีอาการเศร้าเด่น ยังมีอารมณ์ทางลบ เป็นอุปสรรคในการคิด และทำกิจกรรม
E: ทำกิจกรรมร่วมกับคุณแม่ และนักกิจกรรมบำบัด ในห้องคลินิกกิจกรรมบำบัด โดยคุณแม่เป็นผู้สื่อสารเสียงเบาเพื่อบอกให้คุณเอพับกระดาษ
O: กิจกรรมพับกระดาษให้เล็กที่สุดตามโจทย์
P: พับกระดาษให้เล็กที่สุดได้คล้ายการพับผ้าได้เอง แต่ทำได้ไม่สมบูรณ์ มี negative emotion ประมาณ 40%
P: โปรแกรมกิจกรรมบำบัดของคุณเอ สำหรับทำต่อเนื่อง 21 วัน
☺โปรแกรมก่อนนอนหลังจากทานยาเวลา สองทุ่มครึ่ง เพื่อเตรียมเข้านอนเวลาสี่ทุ่ม
- ทำกิจกรรมที่ ① ถึง ② อย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับกิจกรรมสวดมนต์ พับผ้า/พับกระดาษ จับมือคุณแม่วาดภาพ ลูบหัว
- มองไฟสีขาวนวล 10 วินาที
☺โปรแกรมหลังตื่นนอน หกโมงเช้า
-ออกกำลังกายที่ชอบอย่างน้อย 30 นาที และทำกิจกรรมที่ ①
☺จดบันทึกประจำวันเป็นประจำทุกวัน
Progression: Self-efficacy
K(Knowledge) = 80%
S(Skills) = 80%
A(Attitudinal Attributes) = 100%
ขอขอบคุณ ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ที่ให้โอกาสในการสังเกตผู้รับบริการรายนี้ กระตุ้นการสร้างโครงสร้างความคิดแบบเป็นระบบสามารถอธิบายได้ ให้โอกาสสอบแบบไม่ทันตั้งตัว ตื่นเต้น 1/10 :)
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย OTann_supansa ใน กิจกรรมบำบัด
เป็นกิจกรรมที่ดีมากเลยครับ
ได้เรียนรู้ด้วย
หายไปนานเลยครับ