รักหรือหลง



บทความ There is a Fine Line Between Love and Drunk บอกมุมมองด้านเคมี ต่อความรัก และบอกว่า จากมุมมองนั้น ความรักกับความลุ่มหลงมัวเมาอยู่ใกล้กัน

เป็นเรื่องเคมีของฮอร์โมน Oxytocin มี่ได้รับสมญานามว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” เพราะฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดความผูกพัน ความเชื่อถือ และความเสียสละ

แต่ผลการวิจัยชิ้นใหม่ บอกว่ามีด้านลบของ Oxytocin ด้วย คือมันทำให้เกิดความก้าวร้าวรุนแรง กล้าเสี่ยง และอคติ โดยพบว่า Oxytocin มีผลคล้าย แอลกอฮอล์ มิน่า ความรักมันจึงทำให้คนเราเมามัว สมดังคำของมหากวีสุนทรภู่

“ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก

สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน

อันเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป

แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน”

มีรายงานผลการวิจัยในวารสารชั้นยอด เกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของ Oxytocin และ Alcohol ว่ามันต่างก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท GABA และต่างก็ทำให้การทำงานของสมองลดลง และนำไปสู่การทดลองใช้ Oxytocin รักษาโรคติดสุรา

รักเมียกับหลงเมีย อยู่ใกล้กันมากนะครับ



วิจารณ์ พานิช

๒๔ พ.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 598562เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2015 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2015 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

How true "รักเมียกับหลงเมีย อยู่ใกล้กันมากนะครับ..."!

And to be on our (he-man) level side, best to express both as often as needed. If (undesirable) symptoms (errrh side effects) persist, consult a travel agent or a restauranteur ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท