เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาโรงเรียนคุณภาพต่ำ



บทความ It takes much more than money to fix broken schools ในนิตยสาร Time ฉบับวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ เล่าตัวอย่างการบริจาคเงิน ๑๐๐ ล้านดอลล่าร์ โดยกลุ่มเศรษฐีเจ้าของ Facebook แก่เมือง Newark ในรัฐนิวเจอร์ซี่ ด้วยเป้าหมายว่า ให้นำไปแก้ไขระบบการศึกษาในเมืองนั้น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนในเขตเมืองทั่วประเทศสหรัฐฯ

๕ ปีให้หลัง ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังใดๆ เลย เงิน ๓,๕๐๐ ล้านบาทหายวับไป แต่โมเดลการศึกษา ของเมือง น้วก (Newark) ก็ไม่เป็นที่ชื่นชมของใครเลย และที่น่าอับอายคือ คุณภาพการศึกษาของนักเรียนกลับลดลง

แต่เงินสามพันห้าร้อยล้านบาทก็ไม่ถึงกับสูญเปล่า เพราะเขาบอกว่า บทเรียนที่ได้คือ การปฏิรูปการศึกษา ไม่สามารถได้ผล จากการบริหารแบบสั่งการจากเบื้องบน ไม่ว่าจะมีเงินและมีอำนาจมากเพียงใดก็ตาม

ขอย้ำเรื่องสภาพสังคมในสหรัฐ ว่าเขตเมืองเป็นเขตคนจน ที่เต็มไปด้วยปัญหาความยากจน และปัญหาสังคม นักเรียนต้องเผชิญกับสภาพสังคมเลวร้ายรอบตัว ผลการเรียนจึงไม่ใช่แค่ขึ้นอยู่กับความพรักพร้อมในโรงเรียน

บทความสั้นๆ นี้ บอกว่าปัจจัยหลักของความสำเร็จมี ๓ ประการคือ (๑) ครูที่ดี (๒)ผู้บริหารที่ดี และ (๓) การจัดการแบบพัฒนาจากฐาน ร่วมกับ นโยบายจากเบื้องบน คือต้องมีทั้ง bottom up และ top down



วิจารณ์ พานิช

๔ ก.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 596030เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2015 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2015 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for the pointer.

After reading that aricle, I had a thought that money was harmful (in that case). Money took away real innovation and quality improvement. Money took away 'human interactions' and put in place technologies for man-machine interactions where man has to be on the same level as machine (of today 'artificial intellengence' -- as dumb as a dumbell).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท