003_หลักสูตรคณิตศาสาตร์ชั้นประถม ที่เพลินพัฒนา


วันที่ 9 ตค 2558

วันนี้เริ่มมานั่งที่ห้องพักครูช่วงชั้น และลุยศึกษาเอกสารเกี่ยวกับแผนการสอนทั้งหมด โดยเฉพาะหน่วยวิชาคณิตศาสตร์ของชั้น ป.6

(รูปอ้างอิงจาก กรอบและแนวทางการจัดการเรียนการสอนหน่วยวิชาคณิตศาสตร์ ชช.2)

ทีมคณิตศาสตร์ที่เพลินพัฒนา นำหลักสูตรคณิตศาสตร์มาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญการเรียนคณิตศาสตร์ ออกเป็น 5 ส่วน อันได้แก่

  1. Attitude เจตคติ เช่น ความศรัทธา ความซาบซึ้งชื่นชม ความสนใจใฝ่รู้ ความมั่นใจ ความอุตสาหะ/มุ่งมั่น
  2. Content (Concept หรือ แก่นสาระ) เนื้อหาที่ต้องเรียน โดยเอาเนื้อหาทั้งหมดตามหนังสือของญี่ปุ่น
  3. Metacongnition (การคิดเรื่องการคิด) ผู้เรียนควรได้รับประสบการณ์ การคิดออกแบบการแก้ปัญหาหลายๆวิธี และประเมินผลหลังการแก้ปัญหา ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง หรือ ให้ผู้เรียนค้นทางวิธีแก้ปัญหาหลากหลายวิธีภายใต้โจทย์เดิมๆ เพื่อพิจารณาว่าแต่ละวิธีเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร เราเรียก Metacognition ง่ายqว่า คิดซ้อนคิด รู้คิด
  4. Procedure Skill (ทักษะระเบียบวิธี) คือ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือสำเร็จรูป
    1. การดำเนินการทางจำนวน (บวก ลบ คูณ หาร)
    2. การดำเนินการทางพีชคณิต
    3. การแก้ปัญหาเชิงภาพและพื้นที่
    4. การวิเคราะห์ข้อมูล
    5. การวัด
    6. การประมาณค่า
  5. Process Skill (Problem Solving Process ทักษะการแก้ปัญหา หรือทักษะกระบวนการ) คือ ความสามารถในการสร้างเครื่องมือใหม่ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาโจทย์ใหม่ๆ
    1. การแปลโจทย์ การประยุกต์ และการใช้โมเดลช่วยคิด
    2. การเชื่อมโยงความรู้
    3. การคิด การพลิกมุมคิด การทดลอง
    4. การแสดงเหตุผลและภาษา

สังเกตเห็นว่า หากนักเรียนสร้างเครื่องมือใหม่ขึ้นมาสักชิ้น เพื่อแก้ปัญหาโจทย์เฉพาะด้าน นักเรียนก็จะมีทักษะกระบวนการ (process skill) แต่หากนักเรียนสามารถปรับปรุงเครื่องมือชิ้นดังกล่าว ให้สามารถแก้ปัญหา่โจทย์ได้หลายๆสถานะการณ์ เครื่องมือชิ้นนั้นก็จะเป็นเครื่องมือสำเร็จรูป และจะถูกย้ายไปอยู่ฝั่งทักษะระเบียบวิธี (procedure skill)

ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนมีเครื่องมือช่างสำเร็จรูป ได้แก่ ค้อน ไขควง ประแจ ไม้บรรทัด กาว

นักเรียนใช้เครื่องมือ ค้อน ไขควง ประแจ ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า สามารถใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้อง และเหมาะสม (ใช้ค้อนตอกตะปู ไม่ใช่เอาประแจไปตอกตะปู หรือใช้ไขควงขั้นน็อต ไม่ใช่เอาไม้บรรทัดไปขันน็อต) ก็แสดงว่า นักเรียนมีทักษะระเบียบวิธี (procedure skill)

ทีนี้ สมมติว่า นักเรียนไปเจออุปสรรคใหม่ ต้องการลูกมะม่วงบนกิ่งที่สูง นักเรียนก็ต้องคิดวิธีแก้ปัญหา หรือถึงการประดิษฐ์เครื่องมือ เพื่อไปหยิบของชิ้นนั้น สมมติว่า นักเรียน 3 คน คิดต่างกันมาได้ 3 แบบ

นักเรียนคนที่ 1 เดินหาหิน แล้วพยายามขว้างหินให้โดนลูกมะม่วง ร่วงลงมา

นักเรียนคนที่ 2 ใช้เลื่อยไปตัดกิ่งไม้ไผ่ยาวๆ บากปลายไม้ แล้วถือไม้ไผ่ไปสอยลูกมะม่วง ร่วงลงมา

นักเรียนคนที่ 3 เอาค้อน ตะปู ไปสร้างบันได เพื่อปีนขึ้นไปเด็ดลูกมะม่วง ปีนกลับลงมา

จะเห็นว่า นักเรียนทั้งสามคน ต่างคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่างกัน คนที่ 1 ไม่ต้องประดิษฐ์เครื่องมือ, คนที่ 2 ประดิษฐ์เครื่องมือเฉพาะทาง เพือสอยของจากที่สูง ส่วนคนที่ 3 เด็ดสุด คือ ประดิษฐ์ของสำหรับไปหยิบของบนที่สูง ซึ่งสามารถใช้บันไดในสถานะการณ์หยิบของบนที่สูง ในกรณีอื่นๆได้อีกมากมาย

กรณีนักเรียนคนที่ 3 นี้ บันได คือ เครื่องมือใหม่ และเมื่อนักเรียนฝึกใช้บันไดจนคล่อง ทักษะการใช้บันได้นี้ ก็จะย้ายจาก ทักษะกระบวนการ (problem skill) ไปอยู่ฝั่ง ทักษะระเบียบวิธี (procedure skill)

คิดกลับกัน!! สมัยที่โลกยังไม่มีค้อน คนที่คิดใช้ค้อนคนแรก ก็ต้องมีทักษะกระบวนการ (process skill) ที่จะลองผิดลองถูก ทำค้อนแบบง่ายๆขึ้นมา เพื่อทุบอะไรสักอย่าง (ตั้งแต่เราเอาหินมาทุบ -->เจ็บมือ --> เอาก้านมาผูกกับหิน --> เหวี่ยงได้ด้วย ไม่เจ็บมือ) และพัฒนาจนเราเอาค้อนมาตอกตะปูตัวเล็กๆ

******

สรุปสิ่งที่เรียนรู้ในวันที่ 9 ตค.2558

  1. สิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้
    1. What เรียนรู้เรื่องอะไร
      1. เรียนรู้เรื่อง หลักสูตรคณิตศาสตร์มีที่มาอย่างไรและให้เราแบ่งความสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ ออกเป็น 5 หมวด
    2. Why เรียนรู้ไปทำไม
      1. เรียนรู้ เพื่อที่เราจะคิดรูปแบบการสอน เพื่อให้นักเรียนไปถึงความสำคัญ 5 หมวดนั้น
    3. How ทำอย่างไร
      1. เราต้องคิดกิจกรรม หรือตั้งคำถามชวนคิด เพื่อพาให้นักเรียนมาถึงความสำคัญ 5 หมวดนั้นอย่างทั่วถึง
      2. เราต้องหมั่นตรวจสอบว่ากิจกรรมหรือแผนการสอนที่เราจะนำสอนจริงนั้น สามารถสร้างทักษะวิธี, ทักษะกระบวนการ, เจตคติ ให้กับนักเรียนมากน้อยเพียงใด
  2. ความคิดเห็นส่วนตัวต่อสิ่งที่เรียน
    1. รู้สึกทึ่ง ที่ญี่ปุ่นเขาคิดค้น และวิจัย กลั่นออกมาเป็นความสำคัญ 5 ่หมวดนี้ ทำให้เราเห็นการพัฒนาทักษะเหล่านั้นอย่างละเอียดมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบการสอนแบบเดิมสมัยเด็กๆ
  3. ไอเดียที่อยากทดลอง/ปฏิบัติ
    1. จากที่ทราบทษฏีมา อยากเห็นการนำไปใช้จริง และเห็นทักษะ 5 หมวดดังกล่าวผ่านกิจกรรมการสอนในห้องเรียนจริง
    2. อยากเห็นประสบการณ์ Metacognition ในกิจกรรมจริงๆ
  4. ฉันเห็นสิ่งประทับใจ
    1. ประทับใจที่พี่ปาด เป็นผู้นำสิ่งเหล่านี้เข้ามาในระบบการศึกษาไทย และประทับใจที่มีคุณครูหลายๆท่านช่วยกันผลักดันเรื่องเหล่านี้ลงสู่เด็กๆอย่างเป็นรูปธรรม
  5. คำถามประจำวัน (ถ้ามี)
    1. นักเรียนที่เรียนผ่านการสอนที่ให้ความสำคัญ 5 หมวดแบบนี้ จะมีความแตกต่างกับนักเรียนที่่เรียนคณิตศาสตร์แบบทั่วๆไปหรือไม่
หมายเลขบันทึก: 596027เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2015 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2015 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท