กระบวนการ R2R สพฉ.ตอนที่ ๒ I ล้อมวงคุยลุยงานวิจัย


การเล่าเรื่องงานวิจัยผ่าน sucess story sharing ที่สะท้อนชัดมากถึงความหนึ่งเดียวกับงานของตนเองที่ผู้เล่าสามารถเล่าได้โดยไม่ต้องใช้สื่อ เพราะนี่คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและนักพัฒนางานสามารถนำ gap ที่เกิดจากการทำงานมาสู่ประเด็นการทำ R2R

ต่อจากบันทึก กระบวนการ R2R สพฉ.ตอนที่ ๑ I ใจที่เปิดกว้าง..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/595594

.......

กระบวนการภาคบ่ายเริ่มต้นด้วยการพูดคุยงานวิจัยเป็นกลุ่มย่อยๆ สามกลุ่ม และมีอาจารย์วิทยากรประจำกลุ่มคอยเป็นพี่เลี้ยง ...คอยช่วยชวนพูดคุยและเกลางานวิจัยให้ชัดเจนขึ้น

ในกลุ่มของข้าพเจ้าน้องพิงค์แบ่งมาให้สองทีมคือ...

น้องจิ๊กกี๋และน้องนุ้ย

น้องจิ๊กกี๋หรือคุณศุภลักษณ์ ชาลีพัด สนใจศึกษาเรื่อง "การพัฒนาแนวปฏิบัติในการให้รหัสความรุนแรงของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดขอนแก่น

ส่วนน้องนุ้ย หรือคุณวิไลภรณ์ ศิริกา สนใจศึกษาเรื่อง "การพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชนประจำครัวเรือนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

เราใช้เทคนิคของเรื่องเล่า (Success story sharing) มาเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง

การใช้เทคนิคนี้ทำให้มองเห็นเรื่องราวของหน้างานการพัฒนา แนวคิด และ Gap ที่ยังมีอยู่ได้อย่างชัดเจนขึ้น

จิ๊กกี๋ "เวลาที่รับแจ้งเหตุ เราก็จะสอบถามอาการตามไกด์ไลน์ที่ สพฉ.ออกแบบให้เราใช้แต่ปรากฏว่าเมื่อนำมาใช้จริงมันไม่สอดคล้องกันระหว่างการให้รหัสและการส่งทีมลงไปที่จุดเกิดเหตุ ...ทำให้การประเมินคนไข้ไม่ตรงตามความเป็นจริงต้องเสียเวลาในการส่งทีมใหม่ไปรับก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน และที่สำคัญส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยบางรายอย่างมาก บางรายสอบถามอาการคล้ายไม่มีอะไร แต่เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุคนไข้การวิกฤตเสียแล้ว ...ก็มี"

ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นคนนอก ขณะที่ฟังจิ๊กกี๋เล่าเรื่องนั้นรู้สึกสนุกและได้จินตนาการตามเรื่องราวไปด้วย ทำให้เห็นชัดเจนเลยว่า คนหน้างานอย่างจิ๊กกี๋...สามารถวิเคราะห์บริบทหน้างานและมองเห็นปัญหาออกได้อย่างแจ่มชัด

ส่วนเรื่องของน้องนุ้ย... "ชาวบ้านหรือคนในชุมชน มักไม่สามารถแจ้งเหตุได้ชัดเจน ทำให้ต้องตระเวณหาที่เกิดเหตุ ส่งผลต่อความล่าช้าและความปลอดภัยของผู้ป่วย ถ้าหากว่าดึงศักยภาพของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและช่วยกันพัฒนาอาสาฉุกเฉินขึ้นมาอาจจะทำให้ระบบการส่งต่อจากชุมชนมาถึงโรงพยาบาลดีขึ้นสะดวกขึ้น..."

เมื่อฟังเรื่องราวทั้งสองเรื่องงาน R2R ทำให้เห็นเป็นภาพของความเคลื่อนเข้าหากันระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาลในเรื่อง Gap ของการส่งต่อ หากว่าสำเร็จ ทั้งสองเรื่องนี้ก็สามารถเป็นโมเดลที่ดีให้กับพื้นที่อื่นได้เรียนรู้ตามไปด้วย

กระบวนการพูดคุยงานวิจัย ...กลุ่มย่อยนี้ ข้าพเจ้ามองว่าทำให้อาจารย์พี่เลี้ยง(วิทยากรประจำกลุ่มย่อย/ที่ปรึกษา) สามารถเข้าถึงนักพัฒนางานได้และสื่อสารกันได้ละเอียดขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น

เราใช้เวลาไปเกือบครึ่งวัน สบายๆ แบบไม่เร่งรัดกระบวนการมากนัก

หลังจากนั้น แต่ละกลุ่มก็มาเล่าสู่กลุ่มใหญ่ฟัง...โดยมีท่านเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินเข้าร่วมกระบวนในรอบนี้ด้วย

มีความประทับใจเกิดขึ้นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่องงานวิจัยผ่าน sucess story sharing ที่สะท้อนชัดมากถึงความหนึ่งเดียวกับงานของตนเองที่ผู้เล่าสามารถเล่าได้โดยไม่ต้องใช้สื่อ เพราะนี่คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและนักพัฒนางานสามารถนำ gap ที่เกิดจากการทำงานมาสู่ประเด็นการทำ R2R

หรือ ...การให้อาจารย์ที่ปรึกษามานั่งรวมกันด้านหน้า เพื่อให้คลายความกดดันของผู้นำเสนอ เรื่องใครชัดไม่ชัดก็สะท้อนถึงว่าอาจารย์พี่เลี้ยงวิทยากรประจำกลุ่มย่อยนำพาลูกทีมไปอย่างไร บรรยากาศสนุกสนานมาก ทั้งๆ ที่เรากำลังชวนกันคุยเรื่องยากๆ...

ในช่วงกิจกรรมนี้เราใช้เวลาจะเกือบสองทุ่มกว่า จึงได้เลิกกระบวนการ

อิ่มใจ หลายคนเครื่องกำลังติด แต่ก็ต้องยุติกระบวนการเพื่อทุกคนจะได้พักและทานอาหารร่วมกัน (ยกเว้นข้าพเจ้า)

หมายเลขบันทึก: 595640เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2015 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2015 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไก่ กัญญา ก็มา พี่หวังว่างานของน้องจะสำเร็จค่ะ

น่าจะสำเร็จนะคะเพราะผูกพันด้วยทุนและการจัดการงานวิจัยของ สพฉ.ทำได้ดีมากๆ เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท