กระบวนการ R2R สพฉ.ตอนที่ ๑ I ใจที่เปิดกว้าง


การเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากการได้ฟังผู้เรียนทำให้ได้ทราบพื้นฐานหรือฐานความรู้เดิมที่มีและหน้าที่ของข้าพเจ้าเพียงเติมเต็มและแลกเปลี่ยน ดังนั้นรูปแบบจึงไม่ใช่แบบบรรยายที่ผูกขาดจากผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว

ข้าพเจ้าเดินทางมาถึงที่พักก่อนวันประชุมหนึ่งวัน การได้พักผ่อนก่อนเริ่มต้นทำงานทำให้มีกำลังและดูสุขภาพไม่ล้าจนเกินไป

การเตรียมที่พักให้ได้พักอย่างสบายถือเป็นความใส่ใจของผู้จัด...เพราะความสบายในที่นี้หมายถึงสะอาด สงบ ปลอดภัย และอุดมไปด้วยมิตรภาพรวมถึงความเกื้อกูลต่างๆ

หลังจากรับอาหารเช้าที่ดีมากๆ อาทิ สลัดผักผลไม้จานโต และข้าวราดกับข้าวต่างๆ ตามที่เราจะตักจากบุฟเฟ่...สามารถให้พลังงานมากพอที่จะอยู่ได้เป็นวันถึงสองวัน ห้องประชุมอยู่ในโซนเดียวกับห้องอาหาร หลายๆ ท่านคุ้นเคยและทักทาย แต่ก็มีอีกหลายท่านเช่นเดียวกันที่ข้าพเจ้าได้เจอครั้งแรก...

ชื่นชมผู้จัด ...ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้

บรรยากาศห้องที่ดู Relax สบายๆ ผ่อนคลาย ไม่เป็นทางการ ขยับท่าปรับเปลี่ยนได้ตามอัธยาศัย นั่ง เอกเขนกหรือนอนเรียนก็ได้

ผู้เข้าร่วมประชุม คือ ผู้ที่ส่ง concept paper เกี่ยวกับงาน R2R และผ่านการคัดเลือกได้รับทุนพร้อมการสนับสนุนจาก สพฉ. หรือที่เรารู้จักในชื่อเต็มๆ ว่า "สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน" กระบวนการเรียนรู้เริ่มต้นด้วยการกล่าวทักทายแบบไม่เป็นทางการจากพี่หลี และการแนะนำตัวกันแบบง่ายๆ อีกครั้ง

น้องพิงค์ผู้จัดและผู้ประสานงาน ...มอบหมายให้ข้าพเจ้าได้พูดเรื่อง "เคล็ดไม่ลับของการเขียนโครงร่าง"

...ข้าพเจ้าเริ่มต้นให้ทุกๆ ท่านได้เขียนถอดบทเรียนและประสบการณ์ออกมาว่าในแต่ละท่านนั้นมีเทคนิคหรือกระบวนการเขียนโครงร่างการวิจัยอย่างไรบ้าง นำมาจากประสบการณ์จริงที่ได้ผ่านการลงมือเขียน

ดีมากๆ ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงประสบการณ์ ทักษะ ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ที่แต่ละท่านมี ทำให้ข้าพเจ้าทำงานง่ายขึ้นพูดได้สะดวกชัดเจนสอดคล้องกับผู้ฟังได้มากขึ้น

การเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากการได้ฟังผู้เรียนทำให้ได้ทราบพื้นฐานหรือฐานความรู้เดิมที่มีและหน้าที่ของข้าพเจ้าเพียงเติมเต็มและแลกเปลี่ยน ดังนั้นรูปแบบจึงไม่ใช่แบบบรรยายที่ผูกขาดจากผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว

"ใจที่เปิดกว้างสู่การเรียนรู้...ภายใต้ความผ่อนคล่ายและสบายในสไตล์ สพฉ. เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ "

เมื่อกระบวนการของข้าพเจ้าเสร็จ ก็ต่อด้วย อาจารย์แป๋ม (ผศ.สพ.ญ.ดร.สุกัญญา ลีทองดี) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บรรยายและฝึกปฏิบัติ "R2R Clinic...ค้นหาอะไรก็เจอเสนออะไรก็แจ่ม" เน้นในเรื่องการสืบค้นและการทบทวนวรรณกรรม

ช่วงที่อาจารย์แป๋มกำลังทำกระบวนการนั้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้ Safety Zone หลายๆ ท่านเคลื่อนตัวปรับเปลี่ยนอิริยบทจากท่านั่งมาเป็นท่านอนสบายๆ นั่งฟังนอนฟังตามอัธยาศัย ส่วนข้าพเจ้า...น้องพิงค์พาปลีกตัวมารับอาหารก่อนเที่ยง ซึ่งเตรียมไว้เยอะมาก จนได้นัดแนะว่าในวันถัดไปไม่ต้องเตรียมข้าพเจ้าขอรับมื้อเช้าเพียงมื้อเดียวก็พอ ...ต้องชอบคุณมากๆ ที่ให้ความใส่ใจอย่างดีเยี่ยมเลย...

ภาคเช้ากระบวนการปิดลงด้วยรอยยิ้มและใจที่เบิกบานยิ่งนัก

ภาคบ่าย...

เราแบ่งกลุ่มเป็นวงเล็กๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้...มีอาจารย์หมอแทน (พ.ต.นพ.ทนงสรรค์ เทียนถาวร)จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฏเกล้า ร่วมในกระบวนการด้วย

การเรียนรู้แยกออกเป็นสามกลุ่มตามลักษณะปัญหาหน้างานและรูปแบบการวิจัย

ตลอดกระบวนการจะมีผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต หรือ Note taker สองท่านช่วยกัน capture กระบวนการเรียนรู้ คือ พี่ปูและพี่คิ้ม ทั้งสองท่านมีพื้นฐานมาทางด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และมนุษยวิทยา มีมุมมองต่อชีวิตที่ลุ่มลึกและผ่อนคลาย

...

หมายเลขบันทึก: 595594เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2015 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2015 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นน้องไก่ กัญญา วังศรีก็ได้ทุน R2R จากสพฉค่ะ

ตอนนี้. ศ นพ สมบูรณ์ ช่วยดูโครงร่างให้น้องเขาอยู่ค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ผลงานพี่ไก่ดีมากๆ เลยค่ะพี่แก้ว...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท