:: การจัดการความรู้ในสถานศึกษา 132::


การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะนำไปสู่การประกอบอาชีพอย่างมั่นคงในอนาคต

การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ : ตราด (๓)

ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของท่านผอ.วรวิทย์ พรหมคช ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๑๗ ได้นัดหมายคณะผู้บริหารในสังกัด สพม.๑๗ จังหวัดตราด นำเสนอโรดแมป แต่ละหน่วยงานหลักจากการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำหรือการประกอบอาชีพ ร้อยเอ็ดโมเดล

การประชุมมีขึ้นที่โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม โดยมีคณะทำงานจากสสค. ผอ.สุรศักดิ์ ศิลาอาส์น และผอ.กลุ่มแผนงาน ฯและกลุ่มนิเทศฯ สพม.๑๗ ผู้บริหารทุกโรงเรียนเข้าร่วมในการนำเสนอเส้นทางการดำเนินงานพร้อมเพรียงกัน

ซึ่งในการประชุมนำเสนอโรดแมปในครั้งนี้ เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นถึงทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพของแต่ละโรงเรียนที่เสนองาน

ซึ่งส่วนใหญ่ของแต่ละโรงเรียนในระยะเป็นเรื่องของการสร้างความรู้ ความเข้า และสร้างความตระหนักแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้แก่ คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และที่สำคัญคือนักเรียนซึ่งเป็นลูกค้าของโรงเรียน

กระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พวกเราร่วมกันมอง คือ การฝ่ากำแพงเหล็กของผู้ปกครองที่ยากยิ่งในระยะเริ่มต้น คือ ค่านิยมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ และการสร้างทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่มักมีทัศนะมุ่งให้นักเรียนเรียนในสายสามัญเดิม เพื่อมุ่งหมายให้นักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัย เรียนในสาขาที่ผู้ปกครองคาดหวัง ตรงนี้เป็นด่านแรกที่ทุกคนต้องเรียนรู้และทำงานอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะนำไปสู่การประกอบอาชีพอย่างมั่นคงในอนาคตนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 593284เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2015 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2017 06:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท