เรือนจำธุรกิจที่ร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด


ในขณะที่เรือนจำเอกชนใช้งบประมาณการดำเนินงานที่น้อยกว่าเรือนจำของรัฐ แต่ สามารถบริหารงานเรือนจำให้มีกำไรร่ำรวยกว่าการค้ายาเสพติด ในขณะที่เรือนจำรัฐใช้งบประมาณการดำเนินงานที่มากกว่าเรือนจำเอกชน แต่ยังไม่พบข้อมูลการบริหารงานเรือนจำรัฐมีกำไร และการที่บทความ เรื่อง เรือนจำธุรกิจที่ร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด หรือ เรือนจำเอกชนในสหรัฐอเมริกาธุรกิจที่ร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด (Les prisons privées aux États-Unis : un commerce plus lucratif que la drogue.) ได้รับการแปลในหลายภาษา ดังกล่าว ย่อมมีนัยสำคัญที่ส่งคำถามไปถึงเรือนจำของรัฐประเทศต่างๆ ว่าประเทศของท่านบริหารงานเรือนจำขาดทุน หรือ กำไร อย่างไร..........................


เรือนจำธุรกิจที่ร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


เรือนจำธุรกิจที่ร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด ที่นำเสนอในบทความนี้ เนื้อหาจากบทความ เรื่อง เรือนจำเอกชนในสหรัฐอเมริกาธุรกิจที่ร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด (Les prisons privées aux États-Unis : un commerce plus lucratif que la drogue.) โดย Telam บทความเดิมในภาษาสเปน privadas Cárceles ใน EEUU: Millonario Negocio / CONTRAINJERENCIA 3 มีนาคม 2014 แปลโดยแอนน์วูลฟ์ ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.mondialisation. ca/les-prisons-privees-aux-etats-unis-un-commerce-plus-lucratif-que-la-drogue/5371975 ข้อมูล ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2558 ประกอบด้วยเนื้อหา โดยสังเขป ดังนี้


เว็บไซต์ http://www.mondialisation.ca/les-prisons-privees-a...


Telam ได้กล่าวถึงนโยบายเรือนจำเอกชนของ U.S.A. ก่อให้เกิดอุตสาหรรมเรือนจำเอกชนมูลค่าหลายพันล้านบาท แนวคิดของเรือนจำเอกชนในการประหยัดงบประมาณเรือนจำ แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพสิ่งอำนวยความสะดวก แนวคิดในการลดการกระทำผิดซ้ำ วิวัฒนาการของเรือนจำเอกชนของ U.S.A. ที่เริ่มต้นโดยบริษัท เรือนจำเอกชนที่ใหญ่ที่สุดใน U.S.A. ได้แก่ Corrections Corporation of America (CCA) ในปี 1983 แนวทางการดำเนินงานเรือนจำเอกชนที่มีการดำเนินงานภายใต้กฎระเบียบและการควบคุมเช่นเดียวกันกับเรือนจำของรัฐ และ วัตถุประสงค์สุดท้ายของเรือนจำเอกชน คือ กำไร นอกจากนั้น ยังได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆที่สนับสนุนเรือนจำเอกชนในการเพิ่มมูลค่าหลายพันล้านบาท เช่น นโยบายโน้มน้าวและเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนอุตสาหกรรมเรือนจำเอกชนในสมัยโรนัลด์เรแกน นโยบายทางอาญาของ U.S.A. ที่เปิดประตูกระทรวงยุติธรรมไปสู่การทำสัญญาเรือนจำเอกชนและการเพิ่มประชากรเรือนจำเอกชนจากแรงงานข้ามชาตินับหมื่นที่เป็นอาชญากรและไม่มีเอกสาร การนำเรือนจำเอกชนนำเข้าสู่ตลาดหุ้นและได้จัดอันดับที่สูงที่สุดในตลาดหุ้น Wall Street การเพิ่มประชากรเรือนจำเอกชนภายหลังจากการประกาศของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ในปี 2001 และนโยบายการตรวจคนเข้าเมืองของจอร์จดับเบิลยูบุช การเพิ่มประชากรเรือนจำใน U.S.A. ระหว่างปี 1999 และ ปี 2010 ที่มีประชากรเรือนจำเพิ่มขึ้นเพียง 18% แต่จำนวนของนักโทษในเรือนจำเอกชนเพิ่มขึ้นประมาณ 80%





ด้านกำไรสุทธิประจำปี เรือนจำเอกชน CCA มี 66 เรือนจำ มีความจุ 91,000 นักโทษ มีกำไรสุทธิประจำปี 2011 เป็นเงิน 1,600 ล้านบาท ในขณะที่กลุ่มเรือนจำเอกชน จี โอ เป็นเจ้าของ 65 เรือนจำ มีความจุ 65,700 นักโทษ กำไรสุทธิประจำปี 2011 เป็นเงิน 700 ล้านบาท

จากรายงานการวิเคราะห์ประโยชน์สาธารณะ ประจำปี 2012 แสดงให้เห็นว่า 62 เรือนจำเอกชน ที่ทำสัญญากับรัฐบาลของรัฐ กว่า 65% มีข้อตกลงให้รัฐต้องมีภาระหน้าที่รับประกันการเข้าพักขั้นต่ำจาก 80 ถึง 100% ของจำนวนเตียงแม้ว่าอัตราการเกิดอาชญากรรมลดลง

ด้านเทคนิคด้านการดำเนินงานของเรือนจำเอกชน ตลอด 30 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเรือนจำเอกชน ได้มีการพัฒนาความสามารถในการล็อบบี้ การเจรจา การวิ่งเต้น เพื่อการลงทุนเรือนจำเอกชนนับล้านดอลลาร์ผ่านสภานิติบัญญัติอเมริกัน เพื่อการขยายระบบเรือนจำ โดยการสนับสนุนให้รัฐบาลออกกฎหมายที่มีนโยบายทางอาญาที่รุนแรง รวมถึงการรณรงค์ขายหุ้นเรือนจำเอกชนให้กับประชาชนในตลาดหุ้น Wall Street ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สุดท้ายของเรือนจำเอกชน คือ กำไร


โดยสรุป

เรือนจำเอกชน CCA มีกำไรสุทธิประจำปี 2011 จากการบริหารงาน 66 เรือนจำ ที่มีความจุ 91,000 นักโทษ เป็นเงิน 1,600 ล้านบาท ในขณะที่กลุ่มเรือนจำเอกชน จี โอ มีกำไรสุทธิประจำปี 2011 จากการบริหารงาน 65 เรือนจำ ที่มีความจุ 65,700 นักโทษ เป็นเงิน 700 ล้านบาท รวมกำไรสุทธิของบริษัท เรือนจำเอกชนทั้ง 2 แห่ง เป็นเงิน 2300 ล้านบาท

จากผลการดำเนินงานของเรือนจำเอกชนใน U.S.A. ดังกล่าว ทำให้ผู้เขียนมีข้อสังเกตที่สำคัญบางประการ เช่น

  • ประการที่ 1 ในขณะที่เรือนจำเอกชนใช้งบประมาณการดำเนินงานที่น้อยกว่าเรือนจำของรัฐ แต่ สามารถบริหารงานเรือนจำให้มีกำไรร่ำรวยกว่าการค้ายาเสพติด ในขณะที่เรือนจำรัฐใช้งบประมาณการดำเนินงาน มากกว่าเรือนจำเอกชน แต่ยังไม่พบข้อมูลการบริหารงานเรือนจำรัฐมีกำไร
  • ประการที่ 2 การที่บทความ เรื่อง เรือนจำธุรกิจที่ร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด หรือ เรือนจำเอกชนในสหรัฐอเมริกาธุรกิจที่ร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด ได้รับการแปลในหลายภาษา ดังกล่าว ย่อมมีนัยสำคัญที่ส่งคำถามไปถึงเรือนจำของรัฐประเทศต่างๆ ว่าประเทศของท่านบริหารงานเรือนจำขาดทุน หรือ กำไร อย่างไร


…………………





ความเห็น (4)

สหรัฐมีเรือนจำเอกชน ความรู้ใหม่ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์กัลยา (GD) ขอคุณมากที่กรุณาติดตามครับ


ขอบคุณอาจารย์ เป็นความรู้ใหม่ ในการบริหารจัดการเรือนจำของเอกชน

ขอบคุณครับ อ.

ผู้เขียนมีข้อสังเกตที่สำคัญและน่าสนใจมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท