ket_wow
เกษศิรินทร์ ket_wow แพงวิเศษ

วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓


๑. ชื่อผลงาน การพัฒนาข้อสอบมาตรฐาน เพื่อประเมินความสามารถพื้นฐาน สำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓


๒. ความสำคัญ/ความเป็นมา/สภาพปัญหา

นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้มีการยกระดับความแข็งแกร่งมาตรฐานวิชาชีพครู ให้ครูเป็นผู้ที่มีความสามารถและทักษะที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริมให้รับผิดชอบต่อผลที่เกิดกับนักเรียนที่สอดคล้องกับวิชาชีพอีกทั้ง จุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๘ ด้านผู้เรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านการใช้เหตุผลเหมาะสม ด้านครู คือ ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และสมรรถนะผ่านการปฏิบัติจริงและการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการคิด การวัดประเมินผลของครู ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนเป็นรายบุคคล สามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเองหรือใช้สื่อเทคโนโลยี และได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตรโดยเขตพื้นที่การศึกษา และโดยเพื่อนครู ทั้งในโรงเรียนเดียวกันหรือระหว่างโรงเรียนหรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อมของโรงเรียน

จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (NT)ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓ ในภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๔๑.๒๖ โดยความสามารถด้านภาษา ส่วนใหญ่นักเรียนมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๗๗ ความสามารถด้านคำนวณ นักเรียนอยู่ในเกณฑ์ปรับปรุงคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๕๔ ความสามารถด้านเหตุผล นักเรียนอยู่ในเกณฑ์ปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๐๑ ซึ่งทั้งสามดังกล่าวต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเร่งด่วนและจะต้องพัฒนาต่อยอดให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าเดิม

การประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ในความสามารถพื้นฐานสำคัญ ๓ ด้าน คือ

ความสามารถด้านภาษา (Literacy) ด้านคำนวณ (Numeracy) และด้านเหตุผล (Reasoning Abilities) นั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในทุกด้าน ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓ จึงจัดทำโครงการพัฒนาข้อสอบมาตรฐาน เพื่อเป็นคู่มือในการประเมินความสามารถพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ขึ้น

๓. วัตถุประสงค์

๓.๑ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการประเมินความสามารถพื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

๓.๒ เพื่อพัฒนาข้อสอบมาตรฐาน เพื่อเป็นคู่มือในการประเมินความสามารถพื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

๓.๓ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้คู่มือการประเมินความสามารถพื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

๔. กระบวนการ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

๔.๑ ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อสอบมาตรฐาน เพื่อเป็นคู่มือการประเมินความสามารถพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

๔.๒ ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการประเมินความสามารถพื้นฐาน สำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

๔.๓ นิเทศ ติดตาม การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน การใช้คู่มือการประเมินความสามารถพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ แบบกัลยาณมิตร

๕. ผลการดำเนินงาน/ผลลัพธ์

๕.๑ ด้านคู่มือ ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างและพัฒนาข้อสอบมาตรฐานในการประเมินความสามารถพื้นฐานของนักเรียน

๕.๒ ด้านการพัฒนาข้อสอบมาตรฐาน ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความสามารถในการสร้างและพัฒนาข้อสอบมาตรฐานในการประเมินความสามารถพื้นฐานของนักเรียน

๕.๓ ด้านความพึงพอใจ ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือการประเมินความสามารถพื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

๖. ประโยชน์ที่ได้รับ/บทเรียนที่ได้รับจากวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

๖.๑ ครูมีคู่มือการประเมินความสามารถพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

ด้านภาษา (Literacy) ด้านคำนวณ (Numeracy) และด้านเหตุผล (Reasoning Abilities)

        ๖.๒  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( NT ) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ สูงขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #best practices
หมายเลขบันทึก: 593277เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2015 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2015 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท