เรือนจำตู้คอนเทนเนอร์


เรือนจำตู้คอนเทนเนอร์รีมิวทัคคา (The Rimutaka Container Prison) ของนิวซีแลนด์ เป็นเรือนจำที่ออกแบบก่อสร้างภายใต้แนวคิดคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัด และประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ผลการดำเนินงาน พบว่า เรือนจำสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารเรือนจำตามปกติ สามารถช่วยลดความแออัด ช่วยประหยัดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไข .........................


เรือนจำตู้คอนเทนเนอร์


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


ในปัจจุบันเรือนจำประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างประสบกับสภาพปัญหาที่คล้ายคลึงกัน คือปัญหาขาดแคลนงบประมาณ ปัญหาความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ ส่งผลกระทบต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ในการนี้ เรือนจำในหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ได้นำแนวคิดคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการดำเนินงาน โดยการนำตู้คอนเทนเนอร์รีไซเคิล มาใช้ในการออกแบบก่อสร้างเรือนจำเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ลดปัญหาความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เพิ่มความรวดเร็วในการจัดหาเตียงให้นักโทษ คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และ เพื่อการแก้ไขอย่างยั่งยืน


เรือนจำตู้คอนเทนเนอร์


สำหรับเรือนจำตู้คอนเทนเนอร์รีไซเคิล ที่นำเสนอในบทความนี้ คือ เรือนจำตู้คอนเทนเนอร์รีมิวทัคคา (The Rimutaka Container Prison) ในประเทศนิวซีแลนด์ ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.corrections .govt.nz/utility-navigation/locations/prisons/lower_north/ rimutaka_prison.html และเว็บไซต์ http://www.stuff.co.nz/national/politics/ 2805169/Container-cells-for-Rimutaka-Prison (สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2555) พบว่า เรือนจำ Rimutaka ตั้งอยู่ในเขต Upper Hutt ทางตอนเหนือของเมือง Wellington เป็นหนึ่งในเรือนจำที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ เรือนจำได้เปิดหน่วย (แดน) อาคารเรือนจำที่ออกแบบก่อสร้างด้วยตู้คอนเทนเนอร์รีไซเคิล เป็นครั้งแรกของประเทศ ในปี 2010 (หน่วยความปลอดภัยระดับกลาง ขนาด 60 เตียง) ภายใต้แนวคิดในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความแออัด และประหยัดงบประมาณ เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูอย่างยั่งยืน เรือนจำมีผู้ต้องขัง จำนวน 60 คน และมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 20 - 25 คน (โดยเฉลี่ยอัตราส่วนเจ้าหน้าที่ต่อผู้ต้องขัง ในอัตรา 1 ต่อ 3 ) งบประมาณในการก่อสร้างรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นเงิน 7,400,000 ดอลล่าร์ ผลปรากฏว่าการออกแบบและก่อสร้างอาคารเรือนจำโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์รีไซเคิล ดังกล่าว สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารเรือนจำตามปกติ ซึ่งกรมราชทัณฑ์นิวซีแลนด์ได้คาดการณ์ว่าในปี 2018 ประชากรผู้ต้องขังจะเพิ่มขึ้นและจะต้องใช้เตียงเสริมประมาณ 5,000 เตียง และอาจมีการใช้เรือนจำตู้คอนเทนเนอร์รีไซเคิล ดังกล่าว เพิ่มขึ้น


The Rimutaka Container Prison


ด้านลักษณะอาคารเรือนจำ จากข้อมูลในเว็บไซด์ http://www.odt.co.nz/files/story /2010/02/minister_of_corrections_judith_ collins_ inspects_on_1089658329.jpeg พบว่า ประกอบด้วยอาคารสำนักงานสำหรับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และอาคารเรือนนอนสำหรับผู้ต้องขังที่มีระเบียงหลังคาด้านในของอาคาร ในเซลล์จะมีลักษณะเป็นพื้นที่ปิดล้อมด้วยสนามหญ้า แต่ละห้องมีขนาดใหญ่กว่า 5.7 ตารางเมตร ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้รับการออกแบบเป็นสามห้อง บุด้วยฉนวนความร้อน มีสองเตียง ห้องอาบน้ำฝักบัว ห้องสุขา ชั้นวางของ และตารางที่สร้างทั้งหมดจากเหล็ก จากผลการประเมินของกรมราชทัณฑ์นิวซีแลนด์ภายหลังที่ได้มีการเปิดใช้เรือนจำไปแล้ว 1 ปี พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเรือนจำอื่นๆ ปรากฏว่ามีจำนวนเหตุการณ์เชิงบวกที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสูงกว่าในเรือนจำอื่นๆ และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเป็นร้อยละ 34 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก


อาคารเรือนนอนผู้ต้องขังเรือนจำตู้คอนเทนเนอร์ Rimutaka ในนิวซีแลนด์


ภายในอาคารเรือนนอนผู้ต้องขังเรือนจำตู้คอนเทนเนอร์ Rimutaka ในนิวซีแลนด์


ภายในอาคารเรือนนอนผู้ต้องขังเรือนจำตู้คอนเทนเนอร์ Rimutaka ในนิวซีแลนด์


โดยสรุป

เรือนจำตู้คอนเทนเนอร์รีมิวทัคคา (The Rimutaka Container Prison) ของนิวซีแลนด์ เป็นเรือนจำที่ออกแบบก่อสร้างภายใต้แนวคิดคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัด และประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ผลการดำเนินงาน พบว่า เรือนจำสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารเรือนจำตามปกติ เป็นเรือนจำที่มีต้นทุนในการก่อสร้างต่ำ สามารถช่วยลดความแออัด ช่วยประหยัดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไข เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมเรือนจำสีเขียวด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อการแก้ไขอย่างยั่งยืน ดังนั้น ในกรณีของประเทศไทยที่กำลังประสบปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำและงบประมาณในการก่อสร้างไม่เพียงพอ นั้น ตัวแบบของ Container Prison ของนิวซีแลนด์ ดังกล่าว จึงเป็นนวัตกรรมทางเลือกเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูอย่างยั่งยืนที่น่าสนใจอีกอีกนวัตกรรมหนึ่ง


................................


เอกสารอ้างอิง

ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ https://www.tvnz.co.nz/one-news/new-zealand.html เว็บไซต์ ttps://www.flickr.com/photos/nznationalparty/sets/7215762...

เว็บไซต์ http://www.rawlinsons.co.nz/our-projects/rimutaka-container-prison/ เว็บไซต์http://www.stuff.co.nz/dominion-post/news/local-papers/upper-hutt-leader/3787672/ Spending-a-night-in-Rimutakas-new-shipping-container-cells และเว็บไซต์ http://www.odt .co.nz/news/national/91767/container-crate-prison-block-ready-april


หมายเหตุ

เรือนจำตู้คอนเทนเนอร์ ของวินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ลงตีพิมพ์ในวารสารยุติธรรม Justice Magazine Ministry of Justice ฉบับที่ 3 ปีที่ 13 พ.ศ. 2556 หน้า 78 - 80






ความเห็น

เป็นมุมมองของการอยู่ในคุกของปท เขตหนาว ที่ได้มาตรฐานมากนะครับ

มองเป็นระบบ ระเบียบมาก

..

เมืองไทยคงไม่ค่อยเหมาะนะครับ เพราะเป็นเมืองร้อน...หากนักโทษอยู่ในนั้น คงเหมือนการเข้าเซาวน่ามากกว่าคุก

..

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท