นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บันทึกการนิเทศ : โรงเรียนหนองโพนโนนสมบูรณ์


ชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ค่อนข้างประสบผลสำเร็จ เนื่องจาก ครูมีการเตรียมตัว (ครูจบ เอกอังกฤษ) สื่อการสอน เทคนิควิธีการ ทำให้ นร.เรียนอย่างสนุกสนาน แต่อย่างไรก็ตาม การสอนในลักษณะนี้ไม่ได้มีบ่อยครั้ง เนื่องจาก ครูสอนร่วมกับโทรทัศน์ .. (ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย) ถ้าครูจะได้เพิ่มประสบการณ์ ให้เกิดการ collaboration , representation แบบนี้ บ่อยๆ นร.จะเกิด skill for century 21

การนิเทศ วันที่ 4 สิงหาคม 2558

วันนี้ ได้นัดหมายล่วงหน้า 1 อาทิตย์ เพื่อขอสังเกตชั้นเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ และ วางแผนการประเมินอ่านและเขียน ของ นักเรียนชั้น ป.1-2

มีอาสาสมัครชาวเยอรมัน มาฝึกงานที่ สพป.ฯ หลังจากได้คุยภูมิหลัง เป้าหมาย ลักษณะการทำงาน แล้ว ตัวเองก็ลองถามว่าสนใจไป observe class ประถม ไหม เขาตอบรับ และ // ดังนั้น จึงได้ (ทดสอบ) มอบหมายงาน ให้เขาจัดทำ แบบสังเกตชั้นเรียน และ ประกาศหา รร.ที่สนใจอยากให้มีกิจกรรมนี้ ....

ชั้นเรียนภาษาอังกฤษ
คุณครูสาคร ปกติ จะสอนร่วมกับ ทีวีทางไกลผ่านดาวเทียม แต่เมื่อ ได้รับการประสานว่าจะมีการสังเกตชั้นเรียน จึงได้มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ..เราเริ่มต้นประชุมกัน ให้คุณครูเล่าให้ฟังว่าจะสอนอะไร (เป็นภาษาอังกฤษ) และ สังเกตการสอน โดยมี ผอ.รร.เพื่อนครู (2 คน เอกอังกฤษ) และ ศน. เข้าสังเกตกิจกรรม คุณครูมีการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการทบทวน และใช้ ptt CAI กระตุ้น ให้นักเรียนทำกิจกรรม และสรุป บทเรียนร่วมกัน
สะท้อนผล
- ครูบอก พอใจ และ Success มาก และเมื่อรู้ว่าจะมีการมาสังเกตชั้นเรียน จึงมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี
- อาสาสมัคร บอก พอใจเช่นกันและสะท้อนว่าครูมีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีสื่อ ความพร้อม
- นักเรียน ให้ความร่วมมือ และกล้าแสดงออก
- อาสาสมัคร ได้แลกเปลี่ยน ว่า ในประเทศเยอรมัน ภาษาอังกฤษ จะเริ่มเรียนใน grade 4 และ เขาจะเน้นเรื่องการให้ทำงานเป็นกลุ่ม มอบหมายภารกิจให้กับนักเรียน เน้นการนำเสนอ และครูจะเตรียมสื่อการสอน และอุปกรณ์ ค่อนข้างมาก ตลอดจนเน้น การสังเกตชั้นเรียนของครูแต่ละคน (ฟังๆ เหมือน peer teacher)


ชั้นเรียน ป.1-2
- ผอ. ศน. ครู ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้แต่ละเดือน ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คุณครูท่าทาง ลังเล ไม่ค่อยมั่นใจ ในผลผลิต ตัวเอง แต่หลังจากกระตุ้น พูดคุย แลกเปลี่ยนกัน โดย พยายาม ให้คุณครู มองกำลังตนเองว่าจะสอน ได้แค่ไหนอย่างไร หลังจากที่ได้กำหนดเป้าหมายเสร็จ ก็ ใช้คำถามต่อไปว่า จะตรวจสอบได้อย่างไรว่า นักเรียนบรรลุตามเป้าหมาย (ในขั้นนี้ ค่อนข้างจะทำความเข้าใจ มาก ..// ดิฉันตีความว่า คุณครูไม่คุ้นเคยกับการสร้างเครื่องมือเพื่อวัดพัฒนาการของนักเรียน ) แต่สุดท้าย ก็ได้ข้อสรุป ว่า ครูจะต้องสร้าง เครื่องมือมาตรวจสอบพฤติกรรมและความสามารถของนักเรียน ด้านการอ่านและเขียน ตามเป้าหมายที่ครูกำหนด

สะท้อนผลการนิเทศ
1. ชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ค่อนข้างประสบผลสำเร็จ เนื่องจาก ครูมีการเตรียมตัว (ครูจบ เอกอังกฤษ) สื่อการสอน เทคนิควิธีการ ทำให้ นร.เรียนอย่างสนุกสนาน แต่อย่างไรก็ตาม การสอนในลักษณะนี้ไม่ได้มีบ่อยครั้ง เนื่องจาก ครูสอนร่วมกับโทรทัศน์ .. (ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย) ถ้าครูจะได้เพิ่มประสบการณ์ ให้เกิดการ collaboration , representation แบบนี้ บ่อยๆ นร.จะเกิด skill for century 21 แน่นอน -- คุณครูกระซิบ ว่าเตรียมตัวนาน รู้ดีว่าทำแบบนี้จะได้ผล แต่ ก็เหนื่อยเอาการ ...

2. ชั้นเรียน ป.1-2 ครูู มีความตั้งใจ เอาใจใส่ และมีการจัดการสอนร่วมกับ โทรทัศน์ เพราะ สะดวก ต่อการจัดการศึกษา และมีการสอนซ่อมเสริม แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบ ความรู้ผู้เรียนเป็นระยะๆ ยังมีความจำเป็น

3. ผู้บริหาร เอาใจใส่ดีมาก และให้ความสำคัญกับการเรียนการสอน




หมายเลขบันทึก: 593131เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2015 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2015 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ข้อสะท้อนข้อแรก ของท่านอาจารย์สำคัญมากครับ ครูต้องกล้าที่จะไม่ใช้โทรทัศน์ ถ้าเขามั่นใจว่าสิ่งที่ทำอยู่ดีกว่าทีวี .... ผมคิดว่า ผู้อำนวยการต้องไม่ตีกรอบให้ครูใช้แต่โทรทัศน์ตามนโยบายเท่านั้น แต่ควรจะส่งเสริมและชมเชยครูที่สามารถ สอนด้วยตนเองเป็นหลักแล้วใช้ทีวีเป็นตัวเสริม ...ง


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท