โครงการทัศนศึกษาหล่งเรียนรู้


วันที่ 29 กรกกฎาคม 2558 โรงเรียนบ้านประชาอารี จัดโครงการทัศนศึกษาหล่งเรียนรู้ นำโดย ผู้อำนวยการโรงเรียน นายสัญชัย นุรุดิล คณะครู ผู้ปกครอง นำนักเรียนจำนวน 117 คน คณะครู และบุคลากรจำนวน 10 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 14 คน ทัศนศึกษา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ อะความเรี่ยม และ สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาเรียนรู้ธรรรมชาติของสัตว์โลกใต้ทะเล

องทะเลสามน้ำ ศิลปะล้ำหลากหลาย นิเวศพันธุ์ปลามากมาย หาดทรายแหลมสนนทีทอง

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ สงขลา คือสถานที่ท่องเที่ยวที่ท่านจะต้องมาสัมผัส ท่านจะได้รับความสุข ความประทับใจ ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ บรรยากาศทั้งภายในและภายนอกที่จะทำให้ท่านรู้สึกผ่อนคลาย หายเหนื่อย เพลิดเพลิน ไปกับบรรยากาศของที่นี่ ภายนอกจัดให้มีต้นไม้ที่ให้ความสวยงาม สบายตา ชื่นใจกับพันธุ์ไม้และดอกไม้ต่างๆมากมาย ที่ท่านสามารถถ่ายรูปเก็บภาพประทับใจที่มีฉากหลังอันสวยงามนี้ไว้


พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา

  • เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา

ตั้งอยู่ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่จัดแสดงข้อมูล เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวใต้และขนบนิยมในท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตลอดจนประวัติศาสตร์โบราณคดี และศิลปหัตถกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของกลุ่มชนซึ่งอาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาเริ่มเปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารกลุ่มบ้านหลังคาจั่ว อาคารกลุ่มบ้านหลังคาปั้นหยา อาคารกลุ่มบ้านหลังคาบลานอ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอสาธิราชสยามบรมราชกุมารพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดอาคารนวมภูมินทร์

การจัดพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา ใช้วัตถุของจริงประมาณ 49,000 ชิ้น นอกจากนี้ยังมี หุ่นจำลอง เสียง ภาพ วีดิทัศน์และมัลติมีเดีย (Multimedia) แสดงประกอบเนื้อหา เป็นแบบนิทรรศการถาวร ในอาคาร 4 กลุ่มดังกล่าวมาแล้วคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3,300 ตารางเมตร ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวทางทักษิณคดีศึกษาโดยจัดแบ่งเป็นห้อง

อาคารนวมภูมินทร์

  • ห้องประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ (History and Ethnology)

จัดแสดงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี อาทิโบราณวัตถุที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น และโบราณวัตถุที่แสดงว่ามีการติดต่อระหว่างคนพื้นเมืองภาคใต้กับกลุ่มชนภายนอก เช่น จีน อินเดีย มลายู อาหรับ และกลุ่มประเทศ ทางตะวันตก เป็นต้น

นอกจากนี้ยังจัดแสดงเกี่ยวกับศูนย์กลางทางวัฒนธรรมอาณาจักรโบราณในภาคใต้ ได้แก่ อาณาจักรตามพรลิงก์ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อาณาจักรลังกาสุกะที่จังหวัดปัตตานี-ยะลา อาณาจักรศรีวิชัยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสทิงปุระ-พัทลุง ที่บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา ตลอดจนจัดแสดงเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยในภาคใต้ ได้แก่ ชาวเล และชาวซาไกหรือเงาะป่า

อาคารกลุ่มบ้านหลังคาบลานอ

  • ห้องกระต่ายขูดมะพร้าว (Coconut Graters)

จัดแสดงเหล็กขูด หรือกระต่ายขูดมะพร้าวรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งทำมากจากวัสดุหลายชนิด เช่น ไม้ เหล็ก กระดูกช้าง เป็นต้น ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะนำเนื้อมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ เช่น เหล็กปอกเปลือกมะพร้าว เหล็กแงะเนื้อมะพร้าว กรามช้าง และตรอง ที่ใช้กรองน้ำกะทิ สำหรับทำอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวเช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องดนตรี (ซออู้) เป็นต้น

  • ห้องเครื่องมือช่างไม้และงานศิลปหัตถกรรม (Carpenter's Tools and Handicrafts)

จัดแสดงเครื่องใช้ช่างไม้ ชนิดต่าง ๆ เช่น เลื่อย รางทัด กบไสไม้ เครื่องเจาะ เครื่องกลึง เป็นต้น และงาน หัตถกรรม ได้แก่ งานไม้แกะสลัก ที่ใช้ตกแต่งอาคารและเรือกอและพิมพ์ทำขนม งานแกะสลัก รูปหนังตะลุง จัดแสดงลวดลาย และขั้นตอน งานจักสาน เสื่อกระจูดและย่านลิเพา นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์จักสานจากวัสดุต่าง ๆ เช่น ไม่ไผ่ ใยตาล เตย หวาย คล้า คลุ้ม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งชี้ให้เห็นถึงภูมิปัญญาและฝีมือ เชิงช่าง

หมายเลขบันทึก: 593130เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2015 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2015 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท