โรงไฟฟ้าจากขยะโดยเอกชนที่ภาคใต้


เอกชนลงทุนกำจัดขยะผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สุราษฎร์ น่าจะเป็นตัวอย่างการลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐ 2-3 จังหวัดต่อ 1 แห่งได้ อ่านรายละเอียดได้จากประชาชาติธุรกิจออนไลน์

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1...






ขอบคุณรูปภาพจาก google

หมายเลขบันทึก: 592795เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

น่าสนใจมาก

กรณีของพิษณุโลกก็น่าสนใจนะครับ

One step at a time, Thailand is moving ahead. If we can have several of these power generation plants we won't need a coal-fired power plant at Krabi, will we?

The answer seems to be YES, a coal-fired power plant at Krabi is needed so we can burn imported coal to make electricity to supply development of ports and railroads; fly ashes (waste product from burning coal) is needed for making cement to make concrete railway sleepers for the new railways... otherwise we have to cut down more trees... or destroy more coral reefs or buy cement or wood from our neghbour countries...

Alternatives power generation like solar panels or wind turbines just don't produce "desirable" waste products to feed hungry entrepreneurs.

ขอบคุณนะคะที่นำมาเล่า

ดิฉันกำลังสงสัยว่ามีการต่อต้านโรงผลิตไฟฟ้าชีวมวลทุกที่ที่จะไปสร้างจนต้องระงับทุกที่

สงสัยว่า โรงฟ้าฟ้าชีวมวลก็เป็นการนำขยะจากการเกษตรมาทำไฟฟ้า แล้วทำไมคนต่อต้าน ยังหาคำตอบไม่เจอ แต่ก็ดีหากโครงการโรงไฟฟ้าขยะไม่มีคนต่อต้าน

ประเทศไทยซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านร้อยละ ๕๐ ไม่รู้ว่าคนไทยคนอื่นคิดอย่างไร แต่ดิฉันคิดว่าเรามีปํญหาด้านความมั่นคงพลังงาน เมื่อไหร่พม่า ลาว เขาโกรธเรา ไฟฟ้าจะดับครึ่งประเทศ

ดิฉันไม่ได้สนับสนุนการไฟฟ้า หรือมีส่วนได้ส่วนเสียอะไร แต่คิดด้วยตรรกะธรรมดาของคนใช้ไฟฟ้า

เรามาช่วยกันเขียนบันทึกเรื่องเหล่านี้กันนะคะอาจารย์ หากอาจารย์จะใส่คำสำคัญ "ชุมชนคนรักโลก" ก็ดีนะคะ จะได้รวมกลุ่มกันแลกเปลี่ยน

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

เราอยู่ในยุค..ทุนนิยม..หากเงินเข้าไปมีสัดส่วนมากกว่า..อุดมคติ..ก็หดหายไป..เหมือนหางกบ.. ค่ะ..คุณ nui..

"ชุมนุมคนรักโลก" เจ้าค่ะ..

เรื่องขยะ ถ้ามีตัวอย่างความสำเร็จให้ได้เห็นหลาย ๆแห่ง การต่อต้านน่าจะน้อยลงในที่สุดนะคะ ทำเลที่ตั้งน่าจะเป็นสาเหตุที่สำคัญ ไม่มีใตรอยากให้ใกล้ถิ่นที่อาศัยของตน ก็คงต้องสร้างความมั่นใจให้ได้ตรงจุดนี้

โรงไฟฟ้าถ่านหินรัฐบาลคงหยุดรอทีท่า แต่คิดว่าในที่สุดก็คงได้ทำแน่นอน ฝ่ายต่อต้านกับรัฐบาลทหารใครจะชนะ เดาได้อยู่แล้ว

แต่ข่าวล่ามาแรงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังจะเกิดแน่ จะทำหรือไม่ทำเขาคิดแล้วว่าเราหลบผลกระทบไม่พ้นเพราะเพื่อนบ้านเราลุยแน่ ต้องเชื่อว่าระบบการป้องกันวันนี้ดีกว่าอดีต และเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน

อ่านข่าวพบว่าพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายเหล่านั้นสามารถนำมาสร้างถนนได้ คงทนกว่ายางอีก ถ้าเป็นจริงก็เป็นทางแก้ปัญหาพลาสติกทำลายโลกได้ทางหนึ่ง

ข่าวเมื่อวานนี้ คุณชัชชาติ อดีต รมต. คมนาคม ที่กำลังเป็น ซีอีโอ ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ แห่งหนึ่งได้ทำ เอ็ม โอ ยู ติดตั้ง โซลาร์ เซล บนหลังคาบ้านจัดสรร โดรงการใหญ่แห่งหนึ่งทั้งหมู่บ้าน ถ้าโครงการนี้สำเร็จ ต่อไปคงมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์กันมากขึ้น ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาทำให้บ้านเย็นลงอีกด้วย และแต่ละหลังจะประหยัดค่าไฟฟ้า 2000-5000 บาทต่อเดือน

ส่วนตัวสนใจเหมือนกัน(บ้านเย็น นี่จูงใจสุด ๆ) แต่ยังไม่มีข้อมูลเรื่องต้นทุน ที่เคยทราบคนขายมักจะอ้ำอึ้งไม่สามารถรับได้ว่าประหยัดกว่าไฟฟ้าของการไฟฟ้า จะดีไหมถ้ารัฐ ลงทุนให้ประชาชนทุกครัวเรือนจำนวนหนึ่งในค่าติดตั้งครั้งแรก น่าจะเปลึ่ยนรูปการใช้พลังงานทางเลือกบ้านเราได้สำเร็จ ปัจจุบันเอกชนเป็นฝ่ายเริ่มต้นไปก่อนอย่างกล้าหาญและ ทำกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี เสียดายแสงแดดบ้านเราจัง

ดิฉันก็สนใจเรื่องไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์นะคะ ตามข่าวเรื่องนี้อยู่บ้าง การไฟฟ้าก็เชิญชวนให้เจ้าของบ้านลงทุนติดตั้งแผงแล้วขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า บอกว่าจะคุ้มทุนใน ๕ ปี (ไม่แน่ใจ) แต่เจ้าของบ้านต้องดูแลอุปกรณ์เอง ทำให้ไม่กล้าเพราะไม่แน่ใจ ลงทุนเป็นเงินเยอะอยู่ จริงๆ แล้วอยากทำค่ะ

I think this is a good read:

“ปองพล สะสมทรัพย์” ทายาทรุ่น 3 “กลุ่ม 79″ เจ้าพ่อขยะกรุงเทพฯ เล่าเรื่องขยะ ที่มากกว่าขยะ
http://thaipublica.org/2015/08/79-group/ 4 สิงหาคม 2015

ปัจจุบันสถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยของไทยตกค้างสะสมทั่วประเทศ 14.8 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีปริมาณขยะตกค้างเพิ่มขึ้นทุกปี

ขยะจึงกลายเป็นวาระแห่งชาติ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องจัดการ โดยมีโครงการนำร่องใน 6 จังหวัดที่มีขยะชุมชนสะสมมากที่สุด ได้แก่ สมุทรปราการ ลพบุรี ปทุมธานี สระบุรี อยุธยาฯ และนครปฐม

ในขณะที่กรุงเทพฯ ซึ่งผลิตขยะมากที่สุดของประเทศแต่ไม่มีขยะตกค้าง นั่นเป็นเพราะว่าจ้างให้บริษัทเอกชนรับขยะไปกำจัดทั้งหมด โดยมีจังหวัดนครปฐมเป็นเป้าหมายหลักในการฝังกลบขยะจากกรุงเทพฯ ซึ่งบริษัท “กลุ่ม 79” ได้รับสัมปทานมายาวนานกว่า 20 ปี จนกลายเป็น “เจ้าพ่อขยะกรุงเทพฯ” ด้วยเหตุผลนี้หรือไม่ที่ทำให้นครปฐมมีขยะล้นเมือง กลายเป็นจังหวัดนำร่องที่ต้องจัดการ...

...“ส่วนขยะสะสมของนครปฐมไม่ได้อยู่ที่กลุ่ม 79 แต่อยู่ที่เทศบาลเมืองนครนครปฐม ซึ่งกำจัดขยะแบบเททิ้งกองกลางแจ้งสะสมไว้เรื่อยๆ กว่า 10 ปีแล้วจนวันหนึ่งก็กลายเป็นกองใหญ่ วันนี้เทศบาลนครรู้ว่ามีปัญหาเรื่องขยะจึงซื้อที่ดินเพิ่ม และยังมีที่ดินเหลืออีกเป็น 100 ไร่ ซึ่งในวันที่ คสช. ออกโรดแมปมานั้น ในเทศบาลนครนครปฐมก็คุยกันว่ากลุ่ม 79 จะไปแย่งขยะหรือไม่ ในความเป็นจริงผมจะไปแย่งทำไม เพราะในวันที่กรมควบคุมมลพิษ ให้เราเข้าไปหารือ ก็ถามว่ากลุ่ม 79 รับกำจัดให้ได้ไหม ผมก็บอกว่าได้ แต่ต้องขออนุญาต กทม. ให้เรา เพราะเรารับกำจัดขยะให้เฉพาะ กทม. เท่านั้น ถ้ามีขยะจากที่อื่นมาเราก็ต้องแจ้งให้ กทม. ทราบ ซึ่งทางจังหวัดก็ทำเรื่องขออนุญาตเรียบร้อย รวมถึงหาบริษัทรับจ้างขนขยะมาที่บ่อ แต่สุดท้ายแล้วเกิดความขัดแย้งระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับกระทรวงมหาดไทย ทำให้เรื่องหยุดชะงักลง”...
...สำหรับการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียจากขยะ เดิมต้องทำในโครงการมีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ แต่วันนี้กลุ่ม 79 ได้พัฒนาทำระบบบำบัดน้ำเสียจากขยะแบบใหม่ซึ่งใช้พื้นที่แค่ 15 ไร่ เนื่องจากที่ดินมีจำกัด โดยมีแพลนบำบัดน้ำเสียที่น้ำสุดท้ายผ่านเครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis System) ซึ่งมีมาตรฐานเทียบเท่าน้ำอุปโภคใช้เป็นน้ำประปาได้ โดยระบบบำบัดนี้ลงทุน 100 ล้านบาท และปัจจุบันเริ่มใช้ระบบนี้ดำเนินงานแล้ว น้ำที่ได้มาจากระบบ RO นำมาใช้ได้ เพราะใน TOR ระบุชัดเจนว่าห้ามปล่อยน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ในอนาคตวางแผนไว้ว่าจะจ่ายเป็นน้ำประปาฟรีให้ชุมชน เพราะปัจจุบันคนแถวนี้ใช้น้ำบาดาลซึ่งมีสีแดง และค่อนข้างเค็ม/กร่อยมาก น้ำที่เราบำบัดต่อวันอยู่ที่ 1,200 คิวต่อวัน ซึ่งได้น้ำสะอาด 800 คิวต่อวัน และเป็นน้ำที่นำกลับไปใช้ในระบบบำบัดต่ออีก 400 คิวต่อวัน นั่นหมายถึงว่าเราจะมีน้ำดี สะอาด ให้ใช้ได้วันละ 800 คิวต่อวัน...
... สมัยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศสนับสนุนพลังงานทดแทนในไทย 400 เมกะวัตต์ โดยจะจ่ายเงินสนับสนุนหรือแอดเดอร์ให้ 7 ปี ซึ่งกลุ่ม 79 ก็ได้ดำเนินโครงการพลังงานทดแทนจากขยะเช่นเดียวกัน โดยยื่นขอทำโรงไฟฟ้า RDF เพื่อทำพลังงานทดแทนโดยขอรับแอดเดอร์เมื่อปลายปีที่แล้ว แต่ ณ วันนี้เรื่องถูกปฏิเสธ จนกระทั่งรัฐบาลยกเลิกมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจากแอดเดอร์มาเป็นฟีดอินทาริฟ (Feed in Tariff) ซึ่งเหตุผลในการเปลี่ยนไม่ใช่เพราะมีปริมาณไฟฟ้าครบ 400 เมกะวัตต์ เพราะในช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา มีคนขออนุญาตเพียง 60 เมกะวัตต์เท่านั้น...

สวัสดีค่ะ คุณ เอส อาร์ สบายดีนะคะ ขอบคุณข้อมูลที่ให้ภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับขยะมากค่ะ----

.“ส่วนขยะสะสมของนครปฐมไม่ได้อยู่ที่กลุ่ม 79 แต่อยู่ที่เทศบาลเมืองนครนครปฐม ซึ่งกำจัดขยะแบบเททิ้งกองกลางแจ้งสะสมไว้เรื่อยๆ กว่า 10 ปีแล้วจนวันหนึ่งก็กลายเป็นกองใหญ่.....

อ่านถึงตรงนี้ทำให้ความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับเมืองนครปฐมกลับมาอีก

นานมาแล้วไม่ต่ำกว่าสิบปี ได้เดินทางผ่านนครปฐมและแน่นอนเราแวะไหว้พระที่พระปฐมเจดีย์ เจดีย์สำคัญของไทย อากาศแสนร้อนก็คงว่าใครไม่ได้ แต่ความสกปรก รกรุงรัง ขยะเกลื่อนกราด รถราไม่จอดเป็นระเบียบ ต้นไม้ใหญ่ไม่มี หรือภูมิทัศน์ยอดแย่ สงสารพระปฐมเจดีย์มากเลยวันนั้น นี่คือวันธรรมดา ไม่ได้มีงานเทศกาลอะไร ความสำคัญของสถานที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขนาดนั้น ทางบ้านเมืองน่าจะต้องดูแลให้สวยสง่างามกว่านั้น มาก ๆ คิดว่าคงเป็นหน้าที่ของเทศบาลกระมัง ยิ่งไปกว่านั้น คูน้ำรอบ ๆ และที่พระราชวังจันทร์ก็เน่าเหม็น ขยะลอยเกลื่อน ไม่เจริญตาเจริญใจเลย ให้อนาจใจกับสภาพจังหวัดนี้อย่างยิ่ง --ความรู้สึกวันนั้นเป็นอย่างนี้ แต่คิดว่าทุกอย่างน่าจะดีขึ้นมากเพราะผ่านมานานแล้ว แต่..

มาวันนี้ อ่านเรื่องขยะที่จังหวัดติดอันดับจนได้อยู่ในโครงการนำร่อง....ง่าย ๆ คงเป็นเพราะคุณภาพของ คน โดยเฉพาะคนที่อาสาเข้ามาบริหารจัดการจัหวัด---ทำไมไม่ดูที่อื่นที่เขาสวยงามสดชื่นเป็นที่นิยมยกย่อง ที่ ๆคนเขาดูแลบ้านเมืองตนเอง...ยิ่งขึ้นเหนือก็ยิ่งมีที่ให้ดูมากมาย

ต้องขออภัยชาวนครปฐมทุกท่าน เพราะรักนครปฐมจึงบ่น(เรื่องเก่า)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท