R2R Forum 8 Transformation ซึมซับและเรียนรู้


ช่วงบ่ายของวันแรก ปีนี้ข้าพเจ้ามีความตั้งใจและรู้สึกปิติที่มีโอกาสได้เดินดูงานและเข้าร่วมฟังพร้อมสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่กระทบในจิตดวงนี้แล้วเกิดความประทับใจ

ช่วงบ่ายได้ไปฟังการนำเสนอผลงาน...

ห้อง Sapphire 205 "แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผลงาน R2R ดีเด่น "สร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน"

เรื่องที่ทันได้เข้าฟัง "การพัฒนารูปแบบลด ละ เลิกการดื่มแอลกอฮอร์ วังว้าโมเดล"

ลักษณะเด่นในทัศนะของข้าพเจ้ามีความเห็นว่า นักพัฒนางาน R2R มีการสังเกตข้อมูลและอุบัติการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในหน้างาน

ใช้รูปแบบการวิจัยแบบ PAR

มีการดำเนินการวิจัยต่อเนื่อง ระยะดำเนินการ ต่อเนื่อง 3 ปี

"การพัฒนารูปแบบลด ละ เลิกการดื่มแอลกอฮอล์วังว้าโมเดล"

ขณะนำเสนอสะท้อนถึงการคิดวิเคราะห์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน ถือว่าเป็นคุณลักษณะที่ดีมากๆ ของคนทำงานประจำมันสะท้อนให้เห็นว่าขณะที่ทำงานคนทงานมีกระบวนการคิดในแง่ของการพัฒนางานของตนเองอยู่เสมอ

อีกหนึ่งเรื่อง....

"เปรียบเทียบระยะเวลาในการรับประทานยาชงรางจืดต่อการลดระดับสารเคมีในเลือดของเกษตรกรกลุ่มที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัยตำบลผาขาว จ.เลย"

แรงบันดาลใจเกิดจาก พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจัดเป็นอันดับต้นๆ ของพื้นที่

มีการ review งานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มีการออกแบบการวิจัยได้รัดกุมเพื่อให้เห็นผลการเปรียบเทียบชัดเจน

เป็นตัวอย่างงานวิจัยที่ดีในลักษณะของการใช้องค์ความรู้ทางแพทย์แผนไทยมาพิสูจน์ใช้ร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในพื้นที่

ห้อง Sapphire 204 เป็นอีกหนึ่ง Session ที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปฟัง

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเจ้าของผลงานวิจัย R2R ดีเด่นในงานบริหารและสนับสนุนการบริการ

ข้าพเจ้ามาทันได้ฟังเรื่อง "ผลการประคบเย็นต่อการลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคตากระตุกที่ฉีดโบทูลินุมท็อกซิลชนิดเอ" เรียนรู้จาก GAP ที่เกิดจากการทำงานเรื่อง Pain

"การประมาณปริมาณเลือดที่สูญเสียจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะโดยการคำนวณจากความเข้มข้น Hemoglobin" คิดต่อ...เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและน่าจะนำไปสู่การทำงานที่ง่ายขึ้น ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

"ผลการใช้เชิงปฏิบัติแผ่นทดสอบ Grade of hematuria ต่อการอุดตันของสายสวนปัสสาวะขณะได้รับการชะล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI)ในผู้ป่วยหลังส่องกล้องผ่าตัดต่อมลูกหมาก (TUR-P) เกิดแรงบันดาลใจจากปัญหาหน้างานที่เกิดความคับข้องใจในการทำงานดูแลผู้ป่วย "คาใจ"ในการสร้างเกณฑ์ที่ชัดเจนขึ้นเพื่อให้แพทย์ตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยคุณภาพการรักษาดีขึ้น เป็นวงล้อเกิดจาก CQI ศึกษาพัฒนามาจนเป็น R2R

Note ความคิด...

แม้ว่าในแต่ละห้องจะได้ฟังไม่ครบทุกเรื่อง

แต่สิ่งที่ประทับใจคือ ผลงานที่มานำเสนอมีการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำ R2R มาก

แม้มีประเด็นของเสียงที่มากระทบว่า "ผลงานปีนี่ดูยากขึ้น" ข้าพเจ้ามาคิดไตรีตรองในประเด็นนี้ว่าน่าจะเป็นวิวัฒน์ของนัก R2R มากกว่าและยิ่งเมื่อไปฟังในห้อง R2R Clinic TED Talk in Educational แรงบันดาลใจเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อาจารย์หลายท่านนำเสนอเรื่องราวที่ยากและซับซ้อนในงานวิจัยแต่น่าฟังและเกิดรื่นรมย์ในการฟัง

ได้ข้อคิดกับตนเองว่า ประเด็นที่น่านำไปพัฒนาในนักพัฒนางานประจำคือ วิธีการนำเสนอผลงานวิจัยที่น่าเน้นย้อนกลับไปดั่งเช่นเมื่อสมัยปีต้นๆที่ใช้รูปแบบ Share&Learning แล้วเราจะได้ฟังงานวิจัยที่มีคุณค่าและสุนทรียะในอารมณ์จากการฟังที่สุดก็จะเกิดปิติในการฟัง ดั่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกในห้อง Ted Talk

เสน่ห์ของการนำเสนองาน R2R น่าจะคงไว้ซึ่งรูปแบบของการฟังแล้วเกิดสุนทรียะที่ได้ฟังงานวิจัยซึ่งฟังแล้วปิติสุขและมีความสุข ดังนั้นในความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าคิดค้านว่า งาน R2R ดูยากขึ้นไม่น่าจะใช่ประเด็นแต่ยังคงความงามในมิติของ R2R ที่มีมิติตั้งแต่ Basic ไปจนถึง Advance เพียงแต่เป็นโจทย์ว่า "ทำอย่างไรเราจะสามารถนำการเสนอเรื่องที่ยากให้ฟังดูง่ายและเกิดสุนทรียะขณะการฟัง" เพราะการฟังเช่นนี้มันจะนำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจในต่อยอดกระบวนการเรียนรู้ยิ่งๆขึ้นไป

"ผลงาน R2R มีคุณค่าและเมื่อฟังการนำเสนอในแนวสุนทรียะที่นำไปสู่การเกิดแรงบันดาลใจต่อยอดความรู้" นี่เป็นประเด็นที่คุณอำนวยน่านำไปช่วยกันเจียระไนนักพัฒนางาน R2R ต่อไ

....


คำสำคัญ (Tags): #r2r#km#ha#R2R forum 8
หมายเลขบันทึก: 592788เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 05:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท