"เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเรายึดมั่นในหลักการในชีวิตของเขา และเมื่อนั้นแล้ว เขาก็จะสูญเสียอิสรภาพ เขาจะกลายเป็นคนที่ยึดติด" ... (พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ตอนที่ ๓๘ ช่วงที่ ๔)



พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอน 38 (อาทิตย์ 12 ก.ค.) ช่วง 4


เมื่อ "สัญชัยมุนี" มาถึงที่พำนักของพระพุทธองค์
"สัญชัยมุนี" จึงมีปุจฉาว่า ...


สัญชัยมุนี : ท่านสอนเรื่องอะไร หลักการท่านคืออะไร แต่โดยส่วนตัวแล้ว ข้าไม่เชื่อในหลักการใดทั้งสิ้น

พระพุทธองค์ : ท่านแน่ใจหรือว่า ท่านไม่เชื่อในหลักการใด ๆ ทั้งสิ้น ท่านเชื่อว่า ท่านเป็นผู้ไม่เชื่ออย่างนั้นหรือ


สัญชัยมุนี : มันก็แค่คำพูดพลิกแพลง

พระพุทธองค์ : ไม่ใช่ มันคือกลของจิตใจท่าน

สัญชัยมุนี : ข้าไม่ได้ถามเรื่องความเชื่อหรือความไม่เชื่อของข้า ข้าถามว่า หลักการของท่านคืออะไร

พระพุทธองค์ : เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเรายึดมั่นในหลักการในชีวิตของเขา และเมื่อนั้นแล้ว เขาก็จะสูญเสียอิสรภาพ เขาจะกลายเป็นคนที่ยึดติด เขาจะคิดว่าหลักการของเขานั้น ถูกต้องทุกอย่าง และความเชื่อของตัวเองนั้นถูก ส่วนที่เหลือไม่ใช่เรื่องจริง และเมื่อเราเสียอิสระทางความคิด เราจะยึดติดกับความคิดเดียว มนุษย์เราก็จะยิ่งทุรนทุราย เป็นจุดเริ่มต้นของความดิ้นรนและความขัดแย้ง

ความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งถึงจะเชื่อว่าไม่เชื่อ ก็ทำให้คนยึดติด ความคิดมีพลังมหาศาล และมันจับเราไว้ จับไว้อย่างแน่นหนา การยึดติดกับความคิด คืออุปสรรคที่ใหญ่สุดของการเติบโตจิตวิญญาณ หากเราติดอยู่ในนั้น ประตูแห่งความรู้อันนิรันดร์ก็จะไม่เปิดออก


สัญชัยมุนี : แล้วคนที่ทำตามคำสอนของท่าน พวกเราจะไม่ติดกับงั้นหรือ

พระพุทธองค์ : ข้าพูดถึงประสบการณ์ของตัวเอง หนทางของข้าไม่ใช่หลักการ และก็ไม่ใช่ปรัชญา มันคือประสบการณ์ล้วน ๆ ประสบการณ์ของความจริงนิรันดร์


สัญชัยมุนี : ถ้าหากมีคนถือว่าหนทางของท่านคือหลักการล่ะ

พระพุทธองค์ : หนทางของข้าคือการเรียนรู้ มันไม่สามารถเอาเป็นเครื่องยึดติดหรือเครื่องยึดเหนี่ยวได้เลย ความรู้ของข้าก็เสมือนเรือเราหนึ่ง มีไว้ใช้ข้ามแม่น้ำเพียงครั้งเดียว แต่หลังจากข้ามแล้ว เราก็ไม่ต้องแบกเรือเอาไว้บนหัวอีกต่อไปใช่หรือไม่


สัญชัยมุนี : พอข้าได้ฟังอย่างนี้แล้ว ข้ารู้สึกเหมือนล้มลงตรงแทบเท้าของท่าน แต่ว่ายังมีอารมณ์ที่รั้งข้าไว้

พระพุทธองค์ : อารมณ์มีด้วยกัน ๓ รูปแบบ สุข ทุกข์ และวางเฉย ทั้ง ๓ แบบรวมอยู่ในกายของเรา และในจิตของเรา อารมณ์ก็เป็นเหมือนดั่งคลื่น ไม่นาน เดี๋ยวมันก็จางหายไป เราต้องเห็นความลึกของอารมณ์เหล่านี้เสียก่อน ต้องเข้าใจมัน รู้จักมัน รู้ว่ามันเกิดมาจากที่ไหน ไม่ว่าท่านจะสุข หรือว่าท่านจะเศร้า จงดูจากที่มาของมัน เมื่อค้นพบที่มาของมันแล้ว ท่านจะรู้ว่า แท้จริงแล้ว มันว่างเปล่า มันว่างเปล่าเหมือนกันท้องฟ้า มันว่างเปล่าแต่ได้ห่อหุ้มทุกอย่างเอาไว้ข้างใน


สัญชัยมุนี : เหมือนกับผ้าชิ้นหนึ่ง

พระพุทธองค์ : ท่านต้องฝึกฝน เมื่อฝึกฝนแล้ว ท่านจะค่อยๆ พบว่า คลื่นนั้นมันจะหยุดซัดสูงขึ้น ความสงบอันนิรันดร์ในตัวของเรา ก็คือ ความจีรัง ท่านจะลงลึกลงไป และพบว่า ตนเองได้เดินทางผิด สิ่งที่เน่าเปื่อย ท่านจะคิดว่ามันทำลายไม่ได้ ความเขลาคือรากเหง้าของความชั่วร้าย ตอนนี้ข้าแค่พูดถึงการทำสมาธิ สมาธิทำให้ความเขลาหมดไป ความเขลาไม่ได้หมดไป โดยความเลื่อมใส โดยการอดอาหาร หรือโดยของถวาย หรืออย่างอื่น

ท่านหลับมานานแล้วสัญชัย ตื่นเถิด จงตื่น จงระลึกถึงตัวเอง


สัญชัยมุนี : ท่านคือ กระจกเงา หลังจากที่ข้าได้มองท่านครั้งแรก ข้าก็ได้เห็นความจริง ตอนนี้ข้าจะไม่อยู่อย่างมืดบอดอีกแล้ว ได้โปรดรับข้าเป็นศิษย์ด้วยเถิด ข้ามาถึงที่พักของพุทธะ ข้ามาถึงที่พักของความถูกต้องที่ท่านอยู่แล้ว ข้ามาถึงที่พักของท่าน

พุทธัง สาระนัง คัจฉามิ

ธัมมัง สาระนัง คัจฉามิ

สัมฆัง สาระนัง คัจฉามิ


.....................................................................................................................................................


ตอนนี้เป็นตอนที่ผมประทับใจเป็นการส่วนตัว

โดยเฉพาะ "การยึดติด" ในหลักการหรือความเชื่อของตัวเอง

เพราะทุก ๆ วันก็มองเห็นคนที่คิดเช่นนั้น

ยึดติดจนไม่ฟังความคิดเห็นของผู้ใด
แล้วยังเชื่อว่าความคิดเห็นของตัวเองถูกที่สุด
ใครจะมาทลายความเชื่อของตนมิได้

ไม่ว่าจะหลักการใด ทุกหลักการย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน

ยิ่งยึด ยิ่งทุกข์
ยิ่งติด ยิ่งทรมาน

เหมือนมีใครทำอะไรไม่ได้ดั่งใจเรา เราก็จะทุกข์มากมาย
หากปล่อยวาง แล้วคิดว่า หลักการนั้นไม่มี
มองให้เห็นความจริงแห่งทุกข์
แล้วทุกอย่างจะเบาลง

ความเปลี่ยนแปลงวิธีคิดใด ๆ จึงขึ้นอยู่กับตัวเอง
พระพุทธองค์ท่านทรงให้คำแนะนำความจริงของชีวิตไว้เท่านั้น

แต่ทรงไม่ได้บังคับให้ใครเชื่อที่พระองค์พูดทั้งหมด

โปรดรับสดับปัญญา

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...


หมายเลขบันทึก: 592784เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

I got it: We should learn from experience and proactice the apply we've learned to living.

What the Buddha taught is not the "rules of life" to be "blindly" believed and followed.

ขอบคุณค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ ต้องนำมาปฏิบัติค่ะ

ขออนุโมทนาครับ ท่านอาจารย์ GD ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท