Wad Rawee : จุดจบของการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ในประเทศไทย (ตอนที่ 2)


ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ มีนักกิจกรรม รวมตัวกันในนามขบวนการการเลือกตั้งที่รัก (หรือถูกขโมย) ที่ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เพื่อที่จะรำลึกถึงการเลือกตั้งที่ถูกยกเลิกไปตอนกุมภาพันธ์ ปี 2014 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทหารรวมตัวกันและจับกุมผู้เข้าร่วมจากที่ตรงนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ในวันนั้นก็ตาม

ก่อนหน้าจะมีการจับกุมนักกิจกรรมขบวนการการเลือกตั้งที่รักนั้น คณะทหารทำให้ผู้ประท้วงเงียบเสียงด้วยการจับพวกเขาให้อยู่ในคุก, บังคับให้พวกเขาเซ็นสัญญาทางกฎหมายว่าจะไม่เข้าร่วมการประท้วงอีกต่อไป ผู้ประท้วงหลายคนถูกบังคับให้กล่าวว่าพวกเขาเห็นด้วยกับการรัฐประหาร และเสียงของพวกเขาจะถูกบันทึกไว้ในวิดีโอเทป

ในวันที่ 16 เดือนมีนาคม นักศึกษากลุ่มหนึ่งได้เดินขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปยังศาลทหาร เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ที่ประชาชนกล่าวสุนทรพจน์วิพากษ์คณะทหารในที่สาธารณะ สถานการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าความไม่อดทนที่เพิ่มขึ้นของพลังแห่งการต่อต้านในประเทศไทยนั้นเพิ่มขนาดไหน หลังจากนั้น กลุ่มนักกิจกรรมได้รับการประกันตัว

อีก 2 เดือนต่อมา ในงานครบรอบ 1 ปี แห่งการรัฐประหาร นักศึกษาที่ต่อต้านรวมตัวกันที่ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมกรุงเทพฯ และในอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในขอนแก่น ที่ศูนย์ฯ ทหารนอกเครื่องแบบใช้กำลังในการผลักนักศึกษาออกจากพื้นที่ และถูกหน่วงไว้ที่สถานีตำรวจ Pathumwan นักเรียนกลุ่มนี้ถูกดึง, ถูกเตะ, ถูกทุบ, และถูกบีบ ในช่วงระหว่าง และหลังจากการจับกุม มีประชาชนประมาณ 30 คนหรือมากกว่าถูกจับ หลังจากเหตุการณ์นี้ถูกนำเสนอ ก็มีผู้คนประมาณ 200 คนเข้ามารวมกันที่สถานีตำรวจ โดยการขอให้ปล่อยนักศึกษาพวกนี้ออกไป เจ้าหน้าที่ประกาศว่าจะมีนักศึกษาบางคนเท่านั้นที่จะถูกปล่อย แต่ในที่สุดทั้งหมดก็ถูกปล่อยตัวออกมา

อย่างไรก็ตาม การปล่อยตัวนี้เป็นเพียงสิ่งปลอมๆ ต่อมาคณะทหารประกาศว่าจะมีการจับนักศึกษา 9 คน

นักศึกษากลุ่ม Dao Din จากขอนแก่น ได้ประกาศว่าจะทำอารยะขัดขืน โดยการไม่ไปรายงานต่อเจ้าหน้าที่ และท้าทายให้ทหารมาจับพวกเขา กลุ่มนักศึกษาจากกรุงเทพฯ ที่มีชื่อปรากฏในหมายจับ ขอร้องให้เจ้าหน้าที่เลื่อนการจับออกไปจากวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันแห่งการปฏิวัติปี 1932 ซึ่งเปลี่ยนสยาม ที่มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ

ในวันหนึ่ง ทั้งนักศึกษาจากขอนแก่นและกรุงเทพฯไปรายงานตัวที่สถานีตำรวจ Pathumwan พวกเขาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นกับผู้สนับสนุนและสื่อทั้งหลาย พวกนักศึกษามีมุมมองที่สามัญที่สุด ก็คือ พวกเขามีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น (อย่างน้อยก็โดยเสียง) และดังนั้นการห้ามไม่ให้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย

นักศึกษาจากกรุงเทพฯต้องการที่จะไปฟ้องร้องที่สถานีตำรวจว่าพวกเขาถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้าย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจะปิดกั้นทางเข้าที่สถานีตำรวจ และปฏิเสธไม่ให้นักศึกษาเข้าไปและฟ้องร้อง พันโท Burin Thongprapai ที่มาจากเจ้ากรมพระธรรมนูญทหารบก ก็ปรากฏตัวในที่นั้น เขามีหน้าที่ในการต่อรองเรื่องการต่อต้านโดยเฉพาะ

สงครามในการดึงดันระหว่างตำรวจกับนักศึกษาก็ดำเนินต่อไปจนกระทั่งถึงตอนเย็น ในที่สุดตัวแทนของนักศึกษาเข้าไปที่สถานีตำรวจ และฟ้องร้อง เมื่อทุกๆคนคิดว่านักศึกษากำลังจะเดินทางกลับ จู่ๆนักเรียนจากขอนแก่นยืนขึ้น และประกาศว่าพวกเขาต้องใจจะให้จับที่นี่ ต่อหน้าสื่อมวลชน พวกเขาไม่ต้องการที่จะให้ตำรวจเล่นเกม โดยการจับกุมพวกเขาในขณะที่กำลังเดินทางกลับไปภาคอีศาน

สถานการณ์ที่ดูเหมือนกำลังผ่อนคลายกลับแข็งตรึงขึ้นมาอีก เมื่อนักศึกษาจากขอนแก่นพยามยามที่จะเข้าไปที่สถานีตำรวจ เพื่อดูว่ามีหมายจับพวกเขาหรือไม่ คืนนั้นจบลงด้วยตำรวจเปิดเผยว่าพวกเขาไม่มีหมายจับ และยืนยันว่าจะไม่มีการจับกุมพวกเขา

ในคืนวันที่ 24 มิถุนายน นักศึกษาทั้งหมดไปพักอาศัยที่มูลนิธิ Sathiankoset-Nakhapratip ของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ คืนนั้นพวกเขามีการประชุม และมีการตกลงกันในเรื่องที่ว่า เช้าวันต่อไป พวกเขาจะประกาศว่า พวกเขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จริงๆแล้วเป็นพวกคณะทหารที่ทำผิดกฎหมาย โดยการกระทำรัฐประหาร

พวกเขาตัดสินใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎของคณะทหาร แต่พยายามทำตามสำนึกของตนเอง พวกเขาจะต่อต้านการจับกุม เพราะว่าพวกเขารู้ดีว่า พวกเขาไม่สามารถต่อต้านอำนาจและพลังของคณะทหารได้ พวกเขาไม่ต้องการผู้สนับสนุนทั้งหลายปกป้องการจับกุม เพราะว่าผู้สนับสนุนเหล่านี้อาจโดนทำร้ายได้ ถ้าพวกเขาถูกจับ จะไม่มีการประกันตัว และถ้าพวกเขายังมีอิสรภาพอยู่ พวกเขาจะดำเนินขบวนนี้ต่อไป ในเช้าวันต่อมา กลุ่มนักศึกษารวมตัวกัน และวางโปสเตอร์ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการต้านรัฐประหาร ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ

เย็นวันต่อมา กลุ่มนักศึกษาถูกจับ และไม่มีใครประกันตัว

เหตุการณ์นี้นำไปสู่จุดจบของการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ การต่อต้านยกระดับไปสู่อีกระดับหนึ่ง นั่นคือ การต่อต้านกลายเป็นการต่อสู้ ในเรื่องการไม่มีอิสรภาพในทางกาย ที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายสำหรับประชาชนที่จะได้ลุกขึ้น และมีอิสรภาพจากระบบราชการนั้น


แปลและเรียบเรียนจาก

Wad Rawee. The end of symbolic protest in Thailand

http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2015/07/14/the-end-of-symbolic-protest-in-thailand/

หมายเลขบันทึก: 592596เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2015 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2015 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีจ้ะ

มาทักทายและให้กำลังใจจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท