บางครั้ง ผู้ให้บริการ ผิดบ้างก็ได้นะคะ -- คำขอโทษและการสื่อสารที่ตรงกัน เป็นสิ่งสำคัญ ในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน


เป็นผู้ให้บริการอ่ะ ผิดบ้างก็ได้ อย่าโทษแต่คนไข้เลย --

-- เออ.. เป็นคนไข้ มันผิดทุกอย่าง เนอะ .. คนไข้มันเลวเนอะ.. ให้บริการแบบนี้ ก็ แย่นะซิ .. ไม่รักษาแล้ว จะกลับบ้าน เอาน้ำเกลือ ออกเลย -- เสียงดังออกมาจากในห้องผ่าตัดห้องหนึ่ง ...

ช่วงนั้น เรากำลังเดิน เช็ค การ รับเวร ในห้องผ่าตัดอื่นๆ ว่า ยังให้บริการอยู่กี่ห้อง -- เลยเดินเข้าไปตามเสียงในห้องนั้น -- ภาพที่เห็นคือ คนไข้นั่งอยู่บนเตียงผ่าตัด พร้อมกับ หน้าตาที่ไม่พอใจอย่างมาก และพยายามดึงสายให้น้ำเกลือ ออก

-- อีกภาพ ผู้ให้บริการต่างๆ กำลังพากันเดิน ออกไปจากห้อง พร้อมทั้งบอกว่า คุณลุงเป็นความดันสูง ถึงสูงมาก (220/130) แล้วก็ไม่ยอมบอก งั้นเลื่อนผ่าตัดไปไม่มีกำหนด

เอาหล่ะซิ .. ทีงี้ทำไง เราก็เลยสอบถาม คร่าวๆ ก็พบว่า ผู้ป่วยไม่ยอมบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงไม่ได้มียากินเพื่อควบคุมความดัน ก่อนมาผ่าตัด .. แต่คุณลุงก็ยัง พูดแสดงความไม่พอใจ ผู้ให้บริการและทางหอผู้ป่วย ตลอดเวลา ว่า ถ้าตรวจพบว่าสูง แล้วทำไม ไม่รายงาน หมอ หล่ะ .. คุณลุงจะได้มียากินและผ่าตัดได้


-- นักจิตวิทยา จำเป็นอย่างเรา คงต้อง ช่วย ไกล่เกลี่ยแล้วหล่ะ .. เราก็เลยเดินเข้าไป และ ขออนุญาต คุณลุง เพื่อพูดคุย ทำตวามเข้าใจ ให้ตรงกัน ก่อน ส่งตัวคุณลุง กลับไปที่หอผู้ป่วย ..

เราก็ ได้ซักถามเรื่อง ประวัติโรคประจำตัวโดยเฉพาะความดันโลหิตสูง -- ได้ความว่า คุณลุง ได้รับยาความดันจาก โรงพยาบาลอำเภอ แต่กินไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากจะกินเฉพาะเวลา ปวดหัว เท่านั้น นั่นเอง ทำให้คุณลุง ไม่คิดว่า นี่คือ โรคประจำตัว และ ยาก็ไม่จำเป็นต้องกินต่อเนื่อง -- อ่ะเริ่มเข้าใจละ

## คุณลุง - นั่งหน้าบึ้งตึง อยู่บนเปลคนไข้ -- ไม่ยอมนอนลง .. เราก็เลย เอามือ คุณลุง มาจับไว้ และ บอกคุณลุงว่า ขอให้เราได้อธิบายเรื่องนี้ให้คุณลุงเข้าใจ ตรงกัน ก่อน.. ##

เราก็เลยต้อง ขออธิบายเหตุผลของการ เลื่อนผ่าตัด ในกรณี ความดันโลหิตสูง - โดยบอกว่า เรามีหน้าที่ดูแลความปลอดภัย ของคุณลุง ตลอดการผ่าตัด ดังนั้นเมื่อเราพบว่า คุณลุงมีภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิด ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจตามมา เช่น เส้นเลือดในสมองแตก เกิดความพิการ หรือเป็นอัมพาตได้ การผ่าตัดครั้งนี้เป็นการผ่าตัดไม่รีบด่วน ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต สามารถ รอได้ -- เราคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง ชีวิตคุณลุง มีค่าต่อพวกเราและครอบครัวของคุณลุงอย่างมาก ดังนั้น เราไม่อาจปล่อยให้ความเสี่ยงนั้น เกิดขึ้นกับคุณลุง อย่างเด็ดขาด .. วันนี้ ทางโรงพยาบาลก็มีส่วนผิด ที่ไม่สามารถซักประวัติเรื่องนี้ได้อย่างครอบคลุม จึงทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ส่วนตัวคุณลุงเองก็ ผิดนิดนึง ที่ไม่แจ้ง เจ้าหน้าที่เรื่อง โรคประจำตัวนี้ --- งั้นเอาอย่างงี้นะคะ คุณลุงกลับไปรักษาเรื่องความดันก่อน โดยกินยาให้สม่ำเสมอ โรคนี้ถ้ากินยาประจำ จะสามารถควบคุมได้ดี แล้ว นัดผ่าตัดครั้งต่อไป เด๋วเราค่อยมาเจอกันอีกที ที่นี่ นะคะ

## คุณลุง มองหน้าเรา แล้ว บอกว่า เออ .. ก็ดีเหมือนกันเนอะ งั้นกลับไปกินยาก่อนแล้วค่อยมาอีกทีก็ได้เนอะ คุณลุง นอนลงบนเปล อย่าง ว่าง่าย น้องพนักงานเปล จึงไปส่งคุณลุง กลับหอผู้ป่วย

## โฮ.. เรางี้ ใจ ชื้น ขึ้นมาเลย โล่งอกอ่ะ ..

การสื่อสาร การอธิบาย และคำขอโทษในความผิดพลาด ที่ดูเล็กน้อย -- ก็ทำให้ได้ความรู้สึกที่ดีๆ กลับมาได้นะคะ .. เป็นผู้ให้บริการ ผิดบ้าง ก็ได้ อย่าโทษแต่คนไข้เลย .. แค่นี้ก็สุขใจนะคะ



หมายเลขบันทึก: 591439เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2015 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2015 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท