4th HTAsiaLink Annual Conference : Day 2



Day 1

การประชุมวันที่ ๒ มี ๓ ส่วนเช่นเดียวกัน คือ (๑) Regional Collaboration (๒) Experience and Difficulties in Developing HTA (๓) เสนอผลงานวิจัย

ส่วนที่ ๑ มี 2 session คือ HTA ของ Southeast Asia เน้นที่อินโดนีเซีย กับของ Eastern European & Middle East Region ของ WHO ทั้งสอง session เสนอโดยคนขององค์การอนามัยโลก ที่มีนโยบายสนับสนุน เต็มที่ ให้ประเทศสมาชิก ดำเนินการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC – Universal Health Coverage) และดำเนินการ HTA เพื่อเป็นเครื่องมือของ UHC แต่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังล้าหลังมากในการพัฒนา HTA เพื่อเป็นเครื่องมือให้มีการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างคุ้มค่า มีหลักฐานทางวิชาการ (evidence-based)

ในการนำเสนอ และตอบคำถาม สะท้อนว่า การบริหารระบบสุขภาพของประเทศโดยใช้หลักฐาน ทางวิชาการ การตัดสินใจเชิงนโยบายโดยใช้หลักฐานทางวิชาการ ที่เป็นหลักฐานที่เปิดเผยต่อสังคมวงกว้าง ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมในประเทศต่างๆ ที่กำลังพัฒนา ในประเทศเหล่านี้ กิจกรรมทางนโยบาย ของประเทศเป็นเรื่องของนักการเมือง และผู้บริหารระดับสูง ชาวบ้านไม่เกี่ยว

แต่ในประเทศที่กิจกรรม HTA ก้าวหน้า และประสบความสำเร็จ (อย่างประเทศไทย) การตัดสินใจเชิง นโยบายเกี่ยวกับชุดสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นเรื่องที่เปิดเผยต่อสาธารณชน โดยในระบบตัดสินใจ มีตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่างๆ อยู่ด้วย โดยผมเคยบันทึกไว้ ที่นี่

ส่วนที่ ๒ ในวันนี้เป็นส่วนที่ผมมีบทบาทออกแบบการประชุม และได้บันทึกไว้ ที่นี่

โดยมีแนวทางนำเสนอที่ร่างโดย Ryan Li จากการหารือที่โตเกียว เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘ ดังนี้


HTAsiaLink plenary: Experiences and difficulties in developing HTA

Prof Vicharn Panich and Dr Ryan Li

Guidance for panellists

  • Aim of this session is to draw out personal experiences and reflections in HTA development, that are not necessarily available in the published literature or in an accessible manner for our audience
  • Speak in a personal capacity (not representing your respective organisations)
  • Reflect on your experience and share specific examples of best practice, from which the audience could draw positive lessons (i.e. focusing on “dos”, rather than “don’ts”)
  • To all panellists and audience members: Chatham House rules will be followed, i.e. participants are free to use the information received, but may neither reveal the identity nor the affiliation of the speaker(s), nor that of any other participant – see more at: http://www.chathamhouse.org/about/chatham-house-rule#sthash.niPSUJEj.dpuf

Questions

  • Human resources: Individuals that understand the technical and policy issues around HTA are always highly sought after by pharma companies and consultancies. How do you recruit and retain staff?
  • Managing stakeholders: How do you deal with influential or vocal stakeholders, especially when your advice is likely to upset them; for example when your advice contradicts the position of senior policymakers, or is likely to harm the business of a specific pharma company?
  • Budgetary concerns vs independence: Sustained financial support is an important ingredient for success of any HTA agency, and such agencies in many countries are funded by the government. How do you strike the balance between ensuring the survival of your agency, against producing high quality work and maintain political independence?
  • Collaboration: How do you work with other agencies in your country who may have competing or overlapping functions, for example other HTA agencies, or academic institutions?


โปรดสังเกตว่า เราต้องการ ลปรร. Story และ reflection

ขอบันทึก ความรู้สึกแบบ สะท้อนคิด จากคำถามของผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นคนหนุ่ม ที่ถามว่า เมื่อนักวิชาการด้าน HTA ทำวิจัย และเสนอแนะเรื่องสิทธิประโยชน์ต่อผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายแล้ว แต่ผู้บริหารไม่ทำตามข้อเสนอแนะ จะทำอย่างไร

สะท้อนความคิดของนักวิจัย ที่คิดว่าตนเป็นเทวดา และผลงานวิจัยเป็นโองการสวรรค์ ที่ทุกคนต้อง ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

ผลงานวิชาการเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “ความจริง” ในสังคม ยังมี “ความจริง” ส่วนอื่นๆ อีกหลายส่วน ที่ผู้บริหาร/นักการเมือง ต้องนำมาขึ้นตาชั่งในการตัดสินใจเชิงนโยบาย หน้าที่ของนักวิชาการคือ ต้องบอก “ความจริง” ส่วนของตน แก่สังคม ต้องไม่ใช่แค่เขียนรายงานทางวิชาการ และไม่ใช่แค่เสนอต่อผู้กำหนดนโยบาย ต้องใช้หลัก สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของอาจารย์หมอประเวศ เพื่อให้นักการเมือง/ผู้บริหาร ต้องรับผิดรับชอบ (accountable) ต่อสังคม ในการตัดสินใจ และคนในสังคมก็ได้รับข้อมูลข่าวสาร เอาไว้แสดงท่าทีรู้เท่าทัน ในกรณีเช่นนี้ นักการเมือง/ผู้บริหารต้องเป็นผู้อธิบายต่อสังคม ว่าทำไมตนจึงตัดสินใจเช่นนั้น

ส่วนที่ ๓ เป็นการนำเสนอผลงานวิจัย เหมือนเมื่อวาน แต่วันนี้ผมสลับห้อง ฟังห้อง Health Systems Research บ้าง ห้อง Economic Evaluation บ้าง ผมชอบที่อาจารย์ผู้เป็น commentator บางคนมีอารมณ์ขัน ใช้วิธีตั้งคำถามอำนักวิจัยรุ่นใหม่ที่นำเสนอผลงาน ให้นักวิจัยได้ตอบคำถามที่เป็นจริงในสังคม ที่หมกมุ่นกับ อคติหรือความเชื่อผิดๆ นักวิจัยรุ่นใหม่ ยังละอ่อนอยู่ เจอคำถามแบบนี้ก็งงไปเลย แต่นี่คือวิธีฝึกนักวิจัยรุ่นใหม่ ที่ดีที่สุด ขอบันทึกไว้ว่า ผู้ตั้งคำถามแบบนี้คือ Prof. Jeffrey Hoch, U of Toronto, Canada

HTAsiaLink Annual Conference เป็นการประชุมที่เน้นการสร้างความเข้มแข็ง ที่เรียกว่า capacity building ของ HTA จึงเน้นฝึกนักวิจัยรุ่นใหม่ให้ได้ออกสนามทดลอง ได้มีโอกาสแสดงด้วยตนเอง ไม่มีการเรียนรู้ใดที่ดีเท่าการได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง


วิจารณ์ พานิช

๑๕ พ.ค. ๕๘

ห้อง ๑๐๒ โรงแรม Star Beauty Hotel, Taipei


หมายเลขบันทึก: 591152เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2015 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2015 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท