4th HTAsiaLink Annual Conference : Day 1



การประชุมนี้จัดที่ไทเป ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ โดยในวันที่ ๑๒ มี Pre-Conference Short Course ที่เล่าในบันทึกที่แล้ว

ผมเล่าเรื่อง 3rd HTAsiaLink Annual Conference เมื่อปีที่แล้วที่ปักกิ่งไว้สั้นๆ ที่นี่

การประชุมวันแรกนี้มี ๓ ส่วน คือ (๑) ความเห็นของผู้กำหนดนโยบายระดับสูงต่อ HTA (๒) International HTA (๓) การประชุมแยก ๒ ห้องย่อยนำเสนอผลงานวิจัย ห้องหนึ่งเรื่อง Economic Evaluation อีกห้องหนึ่งเรื่อง Health Systems Research โดยแต่ละเรื่องใช้เวลา ๒๓ นาที นำเสนอ ๑๕ นาที ตามด้วย Commentator สองคน รวม ๘ นาที

หลังพิธีเปิดอย่างง่ายๆ ซึ่งผู้ช่วย รมต. สาธารณสุขของไต้หวันเป็นประธานกล่าวเปิด ก็เป็น ช่วงที่ () คือ Leaders Forum ที่หมอสุวิทย์ทำตัวเป็นผู้ดำเนินรายการทีวีไล่ต้อนผู้บริหารจาก ๔ ประเทศ คืออินโดนีเซีย ไต้หวัน เกาหลี และไทย (รองปลัด นพ. สุริยะ วงศ์คงคาเทพ) ให้ความสนุกสนาน และได้ความรู้มาก

หมอสุวิทย์ใช้เทคนิคเดียวกับเมื่อวาน คือแจกใบถามให้ผู้ฟัง เมื่อหมอสุวิทย์ถามคำถามและผู้บริหาร ทั้งสี่ตอบแล้ว ก็เปิดให้ผู้ฟังถาม ให้ผู้บริการตอบ เจ้าหน้าที่เก็บใบคำถาม เอามาให้ Ryan Li กับผมเป็น กรรมการให้คะแนนแต่ละคำถาม โดยมี ๓ เกณฑ์ในการให้คะแนน คือ relevance ต่อประเด็น สร้างการอภิปรายโต้แย้งได้มาก และ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มาก

ช่วงที่ ๒ เรื่อง ความร่วมมือระหว่างฝ่ายนโยบายกับฝ่ายวิชาการในด้าน HTA : ประสบการณ์จากสหราชอาณาจักร โดย Prof. Mark Sculpher, U of York กับ Dr. Ryan Li, NICE International

Prof. Sculpher พูดเรื่อง HTA and Decision – Making : Insights from the UK สรุปได้ว่า สหราชอาณาจักรใช้ HTA มา ๒๐ ปี ผ่าน NICE และเงินวิจัยส่วนอื่นๆ ปีนี้ NICE ได้งบประมาณ ๗๖ ล้านปอนด์ ถือได้ว่า HTA ได้รับการสนับสนุนมากในสหราชอาณาจักร ในหลากหลายรูปแบบ ผลการศึกษามีการนำไปใช้กำหนด นโยบายบ้าง แต่ยังน้อยเกินไป ท่านยังพูดเรื่อง Decision – making น้อยเกินไป ผมเคยไปดูงานที่ NICE และบันทึกไว้ ที่นี่ จะเห็นว่า NICE ทำงานมากกว่าเรื่อง HTA

Ryan Li พูดเรื่อง Priority - Setting is Essential in Achieving and Sustaining UHC สรุปได้ว่า มีความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการกำหนดลำดับความสำคัญของนโยบาย จึงมีการร่วมกัน จัดตั้งเครือข่าย iDSI ขึ้นมาสร้างความเข้มแข็งในการกำหนดลำดับความสำคัญ

ช่วงที่ ๓ เป็นการนำเสนอผลการวิจัย ๒ ห้องพร้อมกัน เป็นเวทีฝึกนักวิจัยรุ่นใหม่ ให้นำผลงานมานำเสนอ แล้วมี commentator สองคน ผมไปนั่งฟังในห้อง Health Systems Research อีกห้องหนึ่งเป็นด้าน Economic Evaluation

หัวข้อการวิจัยที่เอามานำเสนอมีความหลากหลายมาก สังเกตได้ว่า การประเมินเทคโนโลยี ที่เป็นเครื่องมือใหม่ ราคาแพง เป็นโจทย์สำคัญในทุกประเทศ เช่นเครื่องมือทำ Radiofrequency Ablation หลอดเลือดดำขอด, Robot-assisted Surgery ซึ่งก็คือเครื่อง Da Vinci

ช่วงเย็น นั่งรถโค้ชเข้าเมืองไปที่ภัตตาคาร เลี้ยงต้อนรับด้วยอาหาร “ปั่นโต” ซึ่งก็คือการเลี้ยงโต๊ะจีน อาหารแบบโบราณ ที่อร่อยมาก และมีปริมาณมากจนกินไม่หมด และมีการแสดง ที่เด่นที่สุดคือของไทย แสดงการฟ้อนประกอบเพลง ดังรูปที่ ๑๑ เขาบอกว่าสนุกสนานกันมาก และเลิกถึง ๒๑.๓๐ น. โดยที่กำหนดการเลิก ๒๐.๓๐ น. แต่ผมแยกกลับก่อนตอน ๑๙.๓๐ น. สถานที่จัดเลี้ยงนี้ คงจะเป็นธุรกิจเพื่อการนี้โดยเฉพาะ อยู่ที่ Taipei Circle



นพ. สุวิทย์กำลังทำตัวเป็นพิธีกรทีวี ตั้งคำถามไล่ต้อนผู้บริหารของ ๔ ประเทศ


ส่วนหนึ่งของผู้ฟัง


HTA in UK


Challenges of HTA in UK


Conclusion of HTA in UK


Priority-setting Need


iDSI


iDSI Approach


ในห้องย่อยของการเสนอผลงานวิจัย


สระน้ำหลังอาคารประชุม


การแสดงฟ้อนของทีม HITAP



ห้อง ๑๐๒ โรงแรม Star Beauty Hotel, Taipei


หมายเลขบันทึก: 591108เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2015 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2015 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท