เคล็ดลับ 50 ข้อในการทำวิทยานิพนธ์


เคล็ดลับ 50 ข้อในการทำวิทยานิพนธ์

“ทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จ มิฉะนั้นจะเจ็บปวดไปตลอดชีวิต !”


1. อย่าตื่นตระหนกตกใจบ่อยเกินไป

2. เวลาเขียนให้ใช้กระดาษหน้าเดียว

3. ผูกไมตรีกับบรรณารักษ์ให้ดี โดยเฉพาะกับผู้บริการยืมหนังสือระหว่างห้องสมุด

4. อย่าลืมว่า อาจารย์คุมวิทยานิพนธ์เก่งๆ มักไม่ค่อยว่าง ถ้าอาจารย์ว่าง...(จงเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษา ! เหอ เหอ เหอ)

5. ตรวจดูสิว่า คุณทำงานได้ดีที่สุดอย่างไร

6. อ่านระเบียบข้อบังคับในการได้รับปริญญา

7. หาสถานที่สักสองสามแห่ง ที่คุณจะหนีไปแอบทำงานเมื่อไหร่ก็ได้

8. อ่านวิทยานิพนธ์ในสาขางานของคุณสัก 2-3 เล่ม

9. อย่าลืมเตรียมเงินค่าพิมพ์กับค่าเย็บปกไว้ด้วย

10. วางแผนล่วงหน้า

11. อย่าคิดว่า ซีรอกซ์ ก๊อบปี้ไฟล์จากอินเตอร์เน็ต กับ "อ่าน" นั้นเหมือนกัน

12. จงเขียนให้ตรงตามหัวข้อที่วางไว้

13. จดรายชื่อหนังสือต่างๆ ไว้ในรายชื่อหนังสืออ้างอิงให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่แรก

14. ควรมีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือหาคนช่วยพิมพ์เก่งๆ

15. อย่าคิดว่าทุกสิ่ง ทุกอย่าง จะลงตัวสมบูรณ์แบบ.......

16. .....อ้อ! อย่าลืมอ่านวิทยานิพนธ์ของที่ปรึกษาคุณด้วย

17. จำไว้ว่า ความคิดต่างๆ จะแปรเปลี่ยนไปภายใน 3 ปี ดังนั้นงานวิจัยที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้ก็อาจไม่เป็นจริงเสียแล้ว

18. เขียนคำนำให้ตัวเองอันดับแรก แล้วจึงเขียนคำนำแก่ผู้อ่านลำดับสุดท้าย

19. อธิบายรูปแบบการพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษร แก่คนพิมพ์ของคุณ

20. อย่ากลัวที่จะบอกว่าคุณมีจุดแข็งอะไร และจุดอ่อนของคนอื่นเป็นอย่างไร

21. จงจดรายละเอียดหนังสืออ้างอิงให้ครบถ้วน

22. หาคนมาช่วยอ่าน ให้คำแนะนำวิธีเขียนของคุณเสียตั้งแต่ต้นมือ

23. วางแผนระยะสั้นๆ ให้ตัวเอง....

24. .....ถ้าทำงานไม่สำเร็จ จงหาสาเหตุว่าทำไม ???????

25. .ให้เวลากับการเขียน มาก....มาก...มาก...

26.ย้อนกลับมาอ่านงานเขียนของตนเป็นระยะๆ

27. ทำฟุตโน้ตเสียตั้งแต่แรกๆ ทำไว้มากๆ ก็ไม่เป็นไร เอาออกง่าย ! หาใส่ยาก !

28. งานทุกชิ้นที่ทำ ให้ถามว่า มีค่าพอจะทำหรือไม่

29. อย่าเสียดายเวลาในการอ่าน จงอ่านอย่างทะลุปรุโปร่ง

30. ต้องรู้ตั้งแต่ต้น เกี่ยวกับความยาว วิธีการและวันเวลาที่ส่งวิทยานิพนธ์

31. คุยกับผู้คนต่างๆ เกี่ยวกับงานวิจัยของเรา

32. อย่า เสียดายเวลาในการคิด

33. ให้เขียนเว้นบรรทัด

34. ให้คิดว่า การเขียนเป็นคูปองแลกอาหาร ไม่เขียนไม่ได้กิน

35. จงเขียนต่อไป !!!!!!

36. อย่าคิดว่า ถ้าอ่านหนังสืออีกเล่มแล้วจะแก้ปัญหาได้....

37. ..... อย่าใช้การอ่านเป็นข้อแก้ตัวการไม่ลงมือเขียน

38. เขียนแบบวิจารณ์....ประเมิน...วิเคราห์.... อย่าเพียงแต่อธิบาย

39. ซื้อพจนานุกรม (ทั้งไทยและอังกฤษ)...วางไว้ข้างๆ

40. หาคนพิมพ์ที่เคยพิมพ์วิทยานิพนธ์มาก่อน

41. ใช้งานวิจัยเป็นสื่อในการพูดคุยติดต่อกับผู้คนต่างๆ

42. การเขียนอ้างอิง "คำต่อคำ" ก็ไม่ได้หมายความว่า ความคิดนั้นจะถูกต้อง

43. ....และถ้าเขียนเองได้ ส่วนใหญ่จะดีกว่า

44. ให้ใช้บัตรคำ ในการทำรายการอ้างอิงต่างๆ นานา

45. อย่ากลัวที่จะใช้จินตนาการ

46. ให้แน่ใจว่า หนังสืออ้างอิงของเราครอบคลุมและครบถ้วน

47. ตั้งชื่อ ตาราง แผนภูมิ แผนภาพต่างๆ ให้เหมาะสม

48. ถ้าหยุดเขียนไว้ชั่วคราว ให้จดแนวคิดที่ค้างไว้เพื่อต่อติดได้ง่าย

49. จัดทำข้อมูลต่างๆ ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพจะได้ไม่เสียเวลา ค้น

50. ทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จ มิฉะนั้นจะเจ็บปวดไปตลอดชีวิต !

ที่มา Wilson, 1980, pp.237-241 อ้างใน นิศา ชูโต, 2545,หน้า 242-245


หมายเลขบันทึก: 590441เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2015 02:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2015 02:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณพัฒนพร ดิฉันสรุปได้ข้อเดียวค่ะว่าถ้า 'อยาก' ก็ไม่ 'ยาก' หรอกค่ะ ฮา ..

สวัสดีค่ะพี่ดารนี ตอนนี้หนูรู้สึกว่า ความ "อยาก" กับความ "ยาก" มันมีเท่าๆกันเลยค่ะ แต่ก็คงไม่เกินความพยายามของมนุษย์อย่างเรากระมังค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท