"รวม รัก สมดุล" มหาเทพฮินดู


"รวม รัก สมดุล" มหาเทพฮินดู

โดย วาทิน ศานติ์ สันติ 30/4/2558

ครั้งยังเด็ก มีความสุขมากได้ดูการ์ตูนประเภทรวมร่าง ขบวนการมาร์เรนเจอร์ร่วมเป็นหุ่นยนต์ โงกุลกับเบจิต้าร์ฟิวชั่นมีพลังมากกว่าซุปเปอร์เซย่าร์หลายเท่า นอกจากนี้ยังมีรันม่าที่สามารถปลี่ยนเป็นชายหญิงได้

หากลองพิจารณาดูก็เป็นเพราะต้องการให้มีพลังอำนาจมากขึ้น ให้มีความสมดุลระหว่างคู่ต่อสู้ รวมถึงให้มัความสมดุลในตัวเอง

เรื่องการสร้างความสมดุลมีมานานในหลายเชื้อชาติ เช่น ความสมดุลของธาตุร้อนเย็น ดำสว่าง ชายหญิง หรือที่เรียกว่าหยินหยางในวัฒนธรรมจีน การสร้างความสมดลของเทพเจ้าเช่นซุส แม้จะเก่งแค่ไหนก็ยังต้องคานอำนาจกับบรรดาเมีย และยังต้องรักษาความสมดุลของเทพเจ้ากับมนุษย์อีกด้วย นวนิยายกรีก โรมันหลายเรื่องอธิบายว่า มนุษย์อยู่ได้ด้วยเทพเจ้าคุ้มครอง เทพเจ้าอยู่ได้ด้วยการกราบไหว้บูชาของมนุษย์

ทั้งหมดทั้งมวลจึงเป็นเรื่องการพึ่งพาอาศัย เพื่อความสมดุล สมดุลเพื่อพลังอำนาจที่มากกว่า

ในวัฒนธรรมอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พูดเรื่องความสมดุลมากมาย เช่น

พระนารายณ์รวมกับพระศิวะเป็นพระหริหระ พบหลักฐานการบูชาและประติมากรรมในวัฒนธรรมเขมรโบราณ พบพระเศียร์พระหริหระแบ่งพระพักตร์อย่างละครึ่งอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ศิลปะพนมดา เป็นการวมกันของสองนิกายคือไศวนิกายกับไวษณพนิกาย

การรวมกันของศิวะกับอุมาเป็นอรรถนารีศวร จากตำนานกล่าวว่า ฤาษีภิริงกิตเคารพพระศิวะเพียงองค์เดียว ทำให้พระอุมาน้อยพระทัยพิโรธและสาปให้ฤาษีมีร่างกายไร้เลือดเนื้อ ต่อมาภายหลังพระอุมาละอายที่ได้กระทำต่อฤาษี จึงถอนคำสาปและอธิษฐานขอให้พระวรกายของพระนางเข้าไปรวมเป็นส่วนหนึ่งขององค์ พระศิวะ ประติมากรรมพระอรรนารีศวรขุดค้นพบที่ จ. อุบลราชธานี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นหินทรายนั่งขัดสมาธิบนฐานบัว แบ่งครึ่งหนึ่งเป็นชายครึ่งหนึ่งเป็นหญิง นับว่าสวนงามและสมบูรณ์มาก ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ฯอุบลราชธานี

นารายณ์ ศิวะ พรหมณ์ รวมเป็นตรีมูรติ ตำนานมีมากหลายจึงขอละไว้ ตรีมูรติเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความรัก เพราะหากไม่รักกันคงรวมกันไม่ได้ จากคตินี่จึงเกิดประติมากรรมเทพบุตร 4 กร 1เศียร์ 4 พักต์ และมีเศียร์บนอีกหนึ่งพักตร์มีพระจันทร์เสี้ยว หมายถึงพระศิวะ ปัจจุบันประดิษฐานหน้าศูนย์การค้าถนนเซ็นทรัลเวิร์ด ถ ผู้คนนิยมนำดอกกุหลาบแดงไปบูชา ส่วนใหญ่จะขอเรื่องความรัก

นอกจากนี้ยังคติการรวมกันของพระมหากษัตริย์กับเทพเจ้าที่ทรงนับถือ โดยเฉพาะในวัฒนธรรมเขมรโบราณ มีการสร้างเทวสถานที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับโลกหลังความตาย เป็นเทวลัยสำหรับดวงพระวิญญาณจะไปรวทกับเทพเจ้า มีการตั้งพระนามใหม่ เช่น สุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656่-1688)ทรงนับถือไวษณพนิกาย ทรงสร้างปราสาทนครวัด กำหนดพระนามหลังสวรรคตว่า "บรมวิษณุโลก"

ชัยวรมันที่ 7(พ.ศ. 1724-1762) ทรงนับถือพุทธมหายาน ทรงสร้างปราสาทบายน กำหนดพระนามหลังสวรรคตว่า "บรมสุคตะ"

ดั่งประโยคที่ว่า "รวมกันเราอยู่" จึงเหมาะกับบทความที่กล่าวมา จงรักกันและรักษาความสมดุลไว้เถิด ไม่ใช่แต่กับคนหรือเทพเจ้า รวมถึงธรรมชาติ สรรพสัตว์และสิ่งแวดล้อมด้วย แล้วโลกนี้จะสวยงาม

รูปที่ 1 พระหริหระ รูปที่ 2 พระอรรถนารีศวร รูปที่ 3 พระตรีมูรติ รูปที่ 4 ชัยวรมันที่ 7

คำสำคัญ (Tags): #เทพเจ้าฮินดู
หมายเลขบันทึก: 590436เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2015 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2015 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท