เก็บตก Mini_UKM ครั้ง 11 : Keynote Speaker (รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกุล)


หลังพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเวทีโครงการสัมมนาเครือข่ายองค์การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน Mini_UKM ครั้ง 11 ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมตักสิลา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาาพ


รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกุล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้บรรยายพิเศษเรื่อง "ทิศทางการพัฒนาคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาสู่การแข่งขัน" โดยมีประเด็นชวนให้ขบคิดตามเป็นจังหวะๆ ซึ่งพอจะประมวลได้โดยสังเขป ดังนี้




  • TQF คือเครื่องมือการกำกับมาตรฐานการผลิตบัณฑิตไทย
  • สถาบันอุดมศึกษาตั้งไม่ยาก แต่ทำให้เกิดสถาบันที่มีคุณภาพ คือเรื่องที่ยากกว่า
  • โลกปัจจุบันเป็นโลกเครือข่ายการทำงานร่วมกัน
  • อาเซียนเป็นการจับมือสร้างพลังสู้กับเครือข่ายอื่นๆ ในสังคมโลก
  • การศึกษา จะลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
  • ยุคเทคโนโลยี แค่กระพริบตา ก็รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นที่อีกซีกโลกหนึ่ง
  • บัณฑิตที่ผลิตออกสู่สังคม ต้องมีทักษะการปรับตัวเข้าสู่สังคมอย่างมีปัญญา




  • เรายังขาดบัณฑิตที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • สมัยนี้แทบไม่มีวิชาชีพใดไม่เกี่ยวโยงกับไอที แต่บัณฑิตก็ต้องใช้ไอทีให้เป็น
  • เรากำลังเดินเข้าอาเซียน บัณฑิตต้องใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับโลกการงาน
  • บัณฑิตต้องประมาณภาษาไทยให้เป็น พูดชัด สื่อสารชัด
  • บัณฑิตไทยต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และกระตือรือต้นที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา




  • การเรียนปริญญาเอก คือการศึกษาเชิงลึก การทำวิจัย คือสิ่งที่ต้องทำ และวิจัยต้องมีองค์ความรู้ใหม่
  • การสอบปริญญาเอก ต้องเปิดเผย
  • การคุมวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ต้องเป็นผู้ทรงภายนอกมาเป็นกรรมการควบคุมมาตรฐาน
  • เราควรจ้างงานตามสมรรถนะ มากกว่าจ้างกันตามวุฒิที่จบมา




  • ปรัชญาการศึกษา ...ความดี ความงาม ความจริง
  • ต้องให้ความสำคัญมากๆ ต่อกระบวนการวัดผลในระหว่างการศึกษา มากกว่ามุ่งไปวัดผลตอนท้ายของการสำเร็จการศึกษาเพียงอย่างเดียว
  • บัณฑิตที่พัฒนาไม่ได้ หนักกว่าคำว่าโง่ เพราะความโง่พัฒนาให้ฉลาดได้



Keynote Speaker : รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกุล
ภาพ : สุริยะ สอนสุระ

หมายเลขบันทึก: 590330เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2015 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2015 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชัดและแรงดีค่ะ

ทั้งนี้เหตุปัจจัย โดยเฉพาะระบบต้องเอื้อด้วย ตั้งแต่ระดับประเทศลงมาต้องชัด ทำได้จริง และมีความเสถียรต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ ระดับหลักสูตร ภาควิชา คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสุนน อันจะส่งผลให้ต่อผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ และประเทศชาติจริงๆ ค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท