การประเมินผลด้วย PRECEDE-PROCEED Model


แบบจำลอง PRECEDE-PROCEED model เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการวางแผนและประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา โดยอาศัยการวินิจฉัยปัญหาและสาเหตุของปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย

PRECEDE-PROCEED model

แบบจำลอง PRECEDE-PROCEED model โดย Lawrence W. Green และ Marshall Krueter เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการวางแผนและประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา โดยอาศัยการวินิจฉัยปัญหาและสาเหตุของปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย แบบจำลองนี้มีลักษณะเป็นพหุปัจจัยร่วมกันซึ่งมีรากฐานมาจากสังคมศาสตร์/พฤติกรรมศาสตร์ ระบาดวิทยา การบริหารและการศึกษา การวินิจฉัยด้านการบริหารเป็นขั้นตอนท้ายสุดของ PROCEED ที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีวิสัยทัศน์กว้างไกลทั้งในกิจกรรมด้านการศึกษา/สุขศึกษา การจัดการ และเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลต่อระบบสังคม สิ่งแวดล้อม จนถึงการดำเนินชีวิตที่มีสุข (healthful lifestyles) ทำให้มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และสังคม มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์หลักของ PRECEDE-PROCEED model จะให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ (outcomes) มากกว่าปัจจัยนำเข้า (inputs) จึงผลักดันให้ผู้วางแผนพิจารณาผลลัพธ์ที่ต้องมาก่อนในการวางแผน แล้วจึงค่อยพิจารณาต่อไปถึงปัจจัยหรือสาเหตุที่จะส่งผลต่อกระบวนการวางแผน องค์ประกอบ/ขั้นตอนของแบบจำลองนี้ ได้แก่

PRECEDE ประกอบด้วย5 ระยะ ที่กล่าวถึงบทบาทสำคัญของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพประชาชน

  • ระยะที่1 การวินิจฉัยด้านสังคม (Social Diagnosis ) เพื่อระบุบ่งชี้และประเมินปัญหาด้านสังคมซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต (Quality of Life : QOL)
  • ระยะที่2 การวินิจฉัยด้านระบาดวิทยา (Epidemiological Diagnosis) เพื่อช่วยให้ผู้วางแผน พิจารณากำหนดปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
  • ระยะที่3 การวินิจฉัยด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม (Behavioral and Environmental Diagnosis) เพื่อระบุบ่งชี้พฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยอื่นๆ อย่างเป็นระบบระเบีย
  • ระยะที่4 การวินิจฉัยด้านการศึกษา และการจัดองค์กร / บริการ (Education and organizational Diagnosis) เพื่อประเมินสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพที่ระบุไว้ในระยะที่ 3 โดยสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพประกอบด้วย 3 กลุ่มปัจจัย ด้วยกัน คือ ปัจจัยนำ (predisposing factors) ปัจจัยเอื้อให้เกิดพฤติกรรม (enabling factors) และปัจจัยเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรมต่อเนื่อง (reinforcing factors)
  • ระยะที่5 การวินิจฉัยด้านการบริหารและนโยบาย เป็นการวินิจฉัยนโยบาย ทรัพยากร และสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะขององค์กรซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาแผนงานโครงการสุขภาพ (Operational/policy-making diagnosis)

PROCEED ประกอบด้วย4 ระยะ เพื่อประเมินถึงความสอดคล้องระหว่างเป้าประสงค์/วัตถุประสงค์ของแผนงานโครงการ กับระเบียบกฏเกณฑ์และพันธกิจขององค์กร

  • ระยะที่6 การดำเนินงานตามแผน (Implementation)
  • ระยะที่7 การประเมินผลกระบวนการ (Process Evaluation)
  • ระยะที่8 การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)
  • ระยะที่9 การประเมินผลลัพธ์ (Out-come Evaluation)

อ้างอิง: thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 590173เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2016 07:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท