การฟังเพื่อเยาวชน (Listening for young learners) ตอนที่ 2


ทฤษฎีที่ฉันใช้ในการพัฒนาทักษะการฟัง (Theories I consider when I develop listening skill)

ระลึกอยู่ในใจว่า การฟังเป็นกระบวนกาโต้ตอบกับสิ่งที่อยู่ภายนอก Brewster, Ellis, และ Girard เตือนว่า การขอให้เด็กๆฟังและจำให้ได้ อาจทำให้พวกเขาตื่นเต้น การเน้นให้พวกเขาจำให้ได้มีแต่จะไม่มีการในทักษะการฟัง

ครูควรจะสนับสนุนให้ความเข้าใจของนักเรียนมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ถ้าพวกครูนำความสนใจของนักเรียนไปที่ประเด็นเฉพาะที่นักเรียนต้องฟัง โดยการใช้กิจกรรม ที่สนับสนุนความเข้าใจของผู้เรียน และนำความสนใจของเด็กๆไปที่ประเด็นเฉพาะที่ดำรงอยู่ในตัวบทที่เป็นการพูด (spoken text)

Well กล่าวว่า การเรียนรู้ของนักเรียนจำนวนมาก ต้องพึ่งพิงอยู่กับความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เด็กๆรู้ และสิ่งที่พวกเขาสามารถที่จะเข้าใจในบทพูด (speech) ที่พวกเขาได้ยิน แต่ถึงแม้กระนั้น พวกเขาไม่ได้เรียนรู้แต่การฟังเท่านั้น แต่ยังมีแรงจูงใจ (motivation) ในการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยการใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการและความสนใจ ที่กล่าวมานี้ดูเหมือนว่าจะอยู่ในทฤษฎีการสังสรรค์ทางสังคม (social constructivist theories)

1. Piaget เชื่อว่า เยาวชนสร้าง หรือสร้างความเข้าใจตลอดชีวิต

2. Vygotsky เชื่อว่า การเรียนรู้ จะอยู่มาก่อนการพัฒนา (development) และในกรณีที่การพัฒนาใดๆก็จะเกิดขึ้น จะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ หรือเพื่อนๆ ที่มีความรู้มากกว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น สิ่งนี้อาจเรียกว่า zone of proximal development

3. Bruner ได้ขยายแนวคิดของ Vygtsky ในเรื่อง zone of proximal development (ZPD) โดยการนิยามบทบาทของบุคคลที่มีความรู้ ว่าเป็น บุคคลที่มีความจำเป็นในกระบวนการเรียนรู้ โดยการเติมเต็มระหว่างสิ่งที่รู้มาบางส่วน จนถึงการเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง สิ่งนี้เรียกกันว่า กระบวนการนั่งร้าน (scaffolding) (ซึ่งแปลว่าเริ่มต้นค่อยๆรู้ มาเป็นการรู้อย่างแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยจากค่อยๆรู้เป็นพื้นฐาน)

หนังสืออ้างอิง

Wendy Arnold. (2015). Listening for young learners. http://www.teachingenglish.org.uk/article/listenin...

หมายเลขบันทึก: 590142เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2015 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2015 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท