ปรัชญาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภาวะผู้นำ ของ ศ. ระพี สาคริก (16)


"...แท้จริงแล้วสภาพดังกล่าว ควรจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามหน้าที่หยั่งรู้ความจริงจากธรรมชาติที่อยู่ในรากฐานจิตใจตนเองได้อย่างลึกซึ้ง จนในที่สุดก็มาถึงจุดที่เชื่อมั่นว่า "ศาสตร์ทุกสาขาเป็นเพียงสิ่งสมมติเท่านั้น"แม้แต่นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ หรือนักกฏหมายก็เช่นกัน

สิ่งที่กล่าวมาแล้ว หากมีผลทำให้เรานำมายึดติด ก็ย่อมทำให้ตัวเองมีสติปัญญาที่มืดบอดในที่สุด จึงควรสังวรณ์เอาไว้ว่า " ภายในโลกใบที่อยู่ในจิตใจเราเองย่อมมีสองด้าน" ด้านหนึ่งคือภาพที่ปรากฏเปลี่ยนแปลงให้สัมผัสได้จากภายนอก ซึ่งภาพเหล่านี้หาใช่มีตัวตนให้ยึดมั่นถือมั่นไม่ หากใครนำมายึดมั่น ย่อมถูกมันหลอกหลอนเสมือนเป็นผีที่สิงสถิตอยู่ในจิตใจตัวเองอย่างปลดปล่อยได้ยาก ส่วนอีกด้านหนึ่งได้แก่ "ความจริงที่อยู่ในรากฐานจิตใจเราแต่ละคน" ซึ่งสิ่งนี้หรือไม่ใช่ที่ควรจะสนใจเรียนรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาหาความรู้ให้ถึงที่สุดได้อย่างตลอดปลอดภัย นอกจากนั้นยิ่งสนใจศึกษาหาความรู้ก็ยิ่งพบว่า "ความเป็นที่สุดของแต่ละช่วงกาลเวลา มันก็ไม่มีตัวตน หากมีแต่วิถีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลกภายนอก..."

จากบทความ "การบ่มเพาะความเป็นธรรมในแผ่นดินเพื่อป้องกันวิกฤตของชาติ"๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 589591เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท