ตัวอย่างผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ(Successful Aging)


ชีวิตปั่นปลายที่ประสบความสำเร็จ ของคุณป้าวรีรัตน์


คุณป้า วรีรัตน์ พิทักษ์ธราพงศ์ อาศัยอยู่ที่ จ.สมุทรสาคร เกิดวันที่ 5 มีนาคม 2490 อายุ 68 ปี เพศ หญิง ปัจจุบันมีโรคประจำตัว ไขมันในเลือดสูง,ปวดหลัง ส่วนบิดามารดาได้เสียชีวิตลงแล้วสถานะปัจจุบันได้หย่าร้างกับสามีแล้ว

<<รูปคุณป้าครับ(ดูไม่เหมือนคนอายุใกล้70เลยเนอะ)

โดยอาศัยอยู่กับลูกสาวทั้ง2คนในบ้านตึกแถว3ชั้นครึ่งโดยลูกคนโตปัจจุบันเป็นเภสัชกร คนเล็กเป็นทันต์แพทย์ ซึ่งเป้าประสงค์ที่คุณป้าเคยตั้งใจไว้คืออยากจะให้ส่งเสียลูกเรียนให้จบซึ่งปัจจุบันเป้าหมายนี้ก็ได้บรรลุแล้ว ปัจจุบันกำลังกล้ามเนื้อแขนขาคุณป้านั้นแข็งแรงปกติ แต่เวลาทำกิจกรรมต่างๆเป็นเวลานานก็จะเหนื่อยง่ายตามวัยผู้สูงอายุ แต่ยังมีช่วงเคลื่อนไหวที่สุดช่วงซึ่งหมายความว่าข้อต่อของคุณป้านั้นไม่มีการติดขัด คุณป้าสามารถหยิบใช้ของ2มือได้ปกติและยังมีการคุมลำตัวที่ดีซึ่งส่งผลให้มีการทรงตัวที่ดีตามมาด้วย จากการสัมภาษณ์คุณป้าเกี่ยวกับการล้มไม่พบว่าเคยมีการหกล้มซึ่งเป็นผลดีต่อผู้สูงอายุอย่างมากการลุกการยืนก็ไม่มีความปกติ โดยปกติคุณป้าจะไม่ได้ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการทำกิจกรรมเช่น wheelchair แต่เนื่องจากอายุมากสายตายาวจึงต้องสวมแว่นขณะอ่านหนังสือแต่การทำกิจกรรมต่างๆไม่ต้องสวมแว่นก็สามารถทำได้ตามปกติ แต่อาจจะมีลานสายตาที่แคบเพียง30องศาจากกลางลำตัว การได้ยินและโต้ตอบสื่อสารสามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจเช่นคนปกติทั่วไป มีอารมณ์ดีด้วย ส่วนเรื่องของการรับสัมผัสก็ถือว่าปกติ โดยสามารถรับรู้ความเจ็บ หรืออุณหภูมิ ได้อย่างไม่มีปัญหา ปัจจุบันทุกๆเช้าคุณป้าจะขับรถไปซื้อกับข้าวที่ตลาดเพื่อมาทำกับข้าวให้ลูกกิน ส่วนงานบ้านต่างๆคุณป้าก็เป็นคนจัดการเองทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นซักผ้า กวาดบ้าน ถูบ้าน ฯลฯ ซึ่งผมได้สอบถามงานอดิเรกของคุณป้ามาด้วย คุณป้าได้บอกว่าเวลาว่างจากงานบ้านคุณป้าก็จะชอบปลูกต้นไม้โดยจะออกมารดน้ำต้นไม่ทุกเช้าเย็น หรือ ดูโทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น อาบน้ำ เข้าห้องน้ำ ทานข้าว แต่งตัว แต่งหน้า นอนหลับ นั้นคุณป้าสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีคนช่วยเหลือ และในส่วนของการทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูง เช่น การใช้อุปกรณ์รีดผ้า หรือการใช้จ่ายเงิน คุณป้าก็ไม่มีปัญหาในด้านนี้เช่นกัน ส่วนด้านการรับรู้และความเข้าใจผมได้นำแบบประเมิน Chula Mental Test(CMT) มาประเมินคร่าวๆ ผลที่ได้คือคุณป้าสามารถทำคะแนนได้ 19/19 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีสำหรับคนในวัยเดียวกับคุณป้า ต่อมาให้คุณป้าทดสอบความจำเล็กน้อยโดยถามวันเวลาสถานที่ และบุคคล คุณป้าก็สามารถตอบได้ตามปกติ ส่วนในเรื่องของการรับประสาทสัมผัสต่างๆเมื่อทดสอบแล้วก็พบว่าสามารถรับรู้ได้ตามปกติในทุกระบบ

ถึงแม้ว่าคุณป้าดูเหมือนว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จดูผิวเผินก็จะเห็นว่าคุณป้าสุขภาพร่างกายดีไม่มีความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวันแต่ในฐานะที่ผมเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่3 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ผมได้ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนนำมาใช้กับกรณีศึกษาคนนี้ก็เห็นถึงปัญหาของคุณป้า2ข้อหลักๆคือ

1.ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมของตัวบ้านนั้นยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การหกล้ม เนื่องจากนั้นบันไดหน้าบ้านมีความต่างระดับกันมาก(สูงประมาณ1ฟุต/ขั้น)อีกทั้งยังเป็นพื้นกระเบื้องเงาซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มมากขึ้นไปอีก ซึ่งกรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดที่ผมใช้คือ Person Environment Occupation Performance หรือ (PEOP) เพื่อปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตัวบุคคลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมที่ดีและปลอดภัยมากที่สุด โดยแนะนำการปรับสภาพบ้านให้เพิ่มขั้นบันไดให้มีความต่างระดับกันลดลง และอาจจะเปลี่ยนเป็นกระเบื้องแบบหยาบหรือใช้แผ่นกันลื่นเพื่อป้องกันการหกล้ม

2.ปัญหาด้านจิตใจ เมื่อลูก2คนออกไปทำงานแม่จึงต้องอยู่บ้านคนเดียวอาจจะทำให้เกิดความเหงา พอนานๆเข้า ก็อาจจะทำให้เกิดโรคทางจิตได้ เช่น โรคซึมเศร้า กรอบอ้างอิงที่ผมจะใช้คือ Psychosocial Frame of Reference จะเป็นการใช้คนในสังคมรอบข้างเขามาเป็นสื่อในการบำบัด โดยการแนะนำให้ออกไปพักผ่อนใช้เวลากับลูกๆในวันหยุดบ้าง ส่วนในวันธรรมดาที่ลูกๆออกไปทำงานก็แนะนำให้ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น เช่น ทำกับข้าวใส่บาตรร่วมกันในตอนเช้าและเมื่อใส่เสร็จก็พูดคุยกัน เป็นต้น เรื่องเล่าตัวอย่างของผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในชีวิตของผมก็ได้จบลงแล้ว ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านนะครับที่เข้ามาอ้านเรื่องเล่าของผม หากผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยหรือมีความสนใจอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยนะครับผม

หมายเลขบันทึก: 589470เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2015 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2015 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Is there a (habd) rail along the front steps (to support safe threading especially down steps)?

ขอบคุณสำหรับทุกๆความเห็นนะครับ :)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท