วิปโยค...เนปาล:บทเรียนที่ไทยควรเฝ้าระวัง


ความเห็นส่วนตัว ผู้คนทั่วโลกรู้สึกสะเทือนใจ และเห็นใจพี่น้องชาวเนปาลที่ต้องประสบกับภัยพิบัติครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกเล็ก เด็กแดงต่างผลัดหลงพ่อแม่ และจำนวนมากเป็นลูกกำพร้าทันที อ่านเรื่องนี้ของคุณสุทธิชัย หยุ่น แล้วสะท้อนมายังตัวเรา บ้านเมืองเรา ที่ต้องตระหนักป้องกันกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะความพร้อมการให้ความช่วยเหลือผู้คนจากอาคารสูง เครื่องมือต่างๆ การตรวจตราการก่อสร้างอาคารสูงกับระบบป้องกันว่าพร้อมแค่ไหน เป็นต้น เพราะพอเกิดเหตุดังกล่าวมักได้ยินว่าไม่มีคน คนไม่พอ ไม่มีฮอร์ รถดับเพลิงไม่มีน้ำ การก่อสร้างผิดกฎหมาย ต่างๆ ช่วยกันเถอะ หมั่นตรวจสอบกันให้ดีๆหน่อย เพื่อจะได้ช่วยเหลือกันทันท่วงที/เตือนใจ เจริญพงษ์

อ่านเรื่องนี้... แล้วคิดว่า ควรใช้เป็นบทเรียน ตั้งโจทย์หลายๆข้อ

สะท้อนมายังตัวเรา บ้านเมืองเราว่าถ้าเกิดขึ้นกับเมืองไทย

จะทำอย่างไร ที่ต้องตระหนักคือ..ความพร้อมการป้องกันกับ caseใหญ่ๆ แบบนี้จะตั้งรับอย่างไร

คุณสุทธิชัย หยุ่นเรื่องนี้ไว้บางตอนมีดังนี้


เหตุร้ายแรงครั้งนี้เกิดในประเทศที่ยากจน,

เรื่องน่าสลดอย่างยิ่งก็คือ ความจริงนักธรณีวิทยาเพิ่งจะพบหลักฐานจากการสำรวจหลายปีว่า

เนปาลจะต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แต่ไม่มีใครทำนายได้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่

"หนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านี้เอง ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวประมาณ 50 คน

จากหลายประเทศทั่วโลกมาประชุมที่เมืองหลวง และสรุปว่ามีข้อมูลที่น่าเชื่อได้ว่า

เนปาลอาจจะเจอกับวิกฤตแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เพราะแผ่นดินของทวีปอินเดียเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ

ไปอยู่ใต้เนปาลและทิเบต ด้วยความเร็วปีละ 1.8 นิ้ว"

ว่ากันว่าเพราะการเคลื่อนตัวของแผ่นดินเป็นล้าน ๆ ปีนี่แหละ

ที่ดันให้เทือกเขาหิมาลัยสูงขึ้นและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะ ๆ ในปากีสถานและพม่า

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าความจริงการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ในเนปาล

(ซึ่งกระจายตัวไปถึงบริเวณใกล้เคียงเช่นอินเดีย, บังกลาเทศ, ทิเบต และภูฏานบางส่วน)

ใครไปเนปาลก็ต้องชื่นชมความสวยงามและอลังการของเทือกเขาหิมาลัย

เพราะทางเหนือของประเทศคือ ยอดเขาสูงสุดของโลก 8 ลูกจากทั้งหมด 10 เทือก

และเทือกเขาสูงสุดของโลกคือ Everest ก็อยู่ในเนปาล

นอกจากนั้นกว่า 240 ยอดเขาที่สูงเกิน 20,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลก็อยู่ในเนปาลนี่แหละ

นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญของไทยอาจจะยังถกเถียงกันว่า

รอยเลื่อนจากเนปาลจะมีผลกระทบต่อไทยในวันข้างหน้ามากน้อยเพียงใด

แต่คนไทยก็ประมาทไม่ได้ เพราะยังไม่มีศาสตร์ใดสามารถทำนายแผ่นดินไหวได้ถูกต้องแม่นยำ

มนุษย์ต้องเตรียมตัวสำหรับภัยธรรมชาติที่คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ตลอดเวลา

และแม้คนไทยจะเชื่อว่าโชคดีกว่าหลายประเทศ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ของรอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่รุนแรง

แต่ที่เราเคยเจอมาแล้ว แม้จะเบาบางกว่าเนปาลหลายเท่า แต่ก็สร้างความตื่นตระหนกไม่น้อย

เราจึงต้องเรียนรู้จากวิปโยคของเนปาลอย่างจริงจังและรอบด้าน/จบ

.....................................................................................................................................................................

ความเห็นส่วนตัว

ผู้คนทั่วโลกรู้สึกสะเทือนใจ และเห็นใจพี่น้องชาวเนปาลที่ต้องประสบกับภัยพิบัติครั้งนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกเล็ก เด็กแดงต่างผลัดหลงพ่อแม่ และจำนวนมากเป็นลูกกำพร้าทันที

อ่านเรื่องนี้ของคุณสุทธิชัย หยุ่น แล้วสะท้อนมายังตัวเรา บ้านเมืองเรา

ที่ต้องตระหนักป้องกันกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะความพร้อมการให้ความช่วยเหลือผู้คนจากอาคารสูง

เครื่องมือต่างๆ การตรวจตราการก่อสร้างอาคารสูงกับระบบป้องกันว่าพร้อมแค่ไหน เป็นต้น

เพราะพอเกิดเหตุดังกล่าวมักได้ยินว่าไม่มีคน คนไม่พอ ไม่มีฮอร์ รถดับเพลิงไม่มีน้ำ การก่อสร้างผิดกฎหมาย ต่างๆ

ช่วยกันเถอะ หมั่นตรวจสอบกันให้ดีๆหน่อย เพื่อจะได้ช่วยเหลือกันทันท่วงที/เตือนใจ เจริญพงษ์

....................................................................................................................................................

ต่อมาได้อ่านงานเขียน...

เรื่อง จากเหตุโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ประเทศเนปาล ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

ทั้งทรัพย์สิน และชีวิตผู้คนจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ให้บทเรียนอะไรได้บ้าง

ของคุณภาสกร ปนานนท์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทเรียนของไทยบางตอนไว้น่าสนใจ ดังนี้

สำหรับประเทศไทยเอง ผลกระทบทางอ้อมที่ตามมาสู่สังคมไทยก็คือความวิตกกังวล

ของแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่าจะส่งผลต่อรอยเลื่อนต่างๆ ในประเทศไทยอย่างไรบ้าง

เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ไกลจากประเทศไทยนับพันกิโลเมตร พลังงานที่ส่งต่อมา

ถึงรอยเลื่อนบ้านเราจึงมีไม่มากนัก

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของประเทศไทยในด้านแผ่นดินไหว

ได้แก่ การศึกษาทางวิชาการด้านแผ่นดินไหวมีอยู่ไม่มากนัก

เพราะรัฐบาลและหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณการศึกษาในด้านแผ่นดินไหวที่ผ่านมา

ในอดีต มองเห็นว่าแผ่นดินไหวไม่ใช่ปัญหาสำคัญเร่งด่วน จึงไม่ค่อยจะให้การสนับสนุนมากนัก

ผิดกับต่างประเทศที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้อย่างมาก เพราะเขาทราบดีว่า

ถ้ามีแผ่นดินไหวเกิดแค่ครั้งเดียวก็ทำความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

และต้องใช้เวลาหลายปีและงบประมาณจำนวนมากกว่าจะฟื้นฟูสภาพกลับมาดังเดิมได้

จึงถึงเวลาที่ต้องคิดแล้วว่าประเทศไทยสมควรที่จะลงทุนเรื่องเหล่านี้แล้วหรือยัง

หมายเหตุ แผ่นดินไหวขนาด 7.8-7.9 ต้องอ่านว่า แผ่นดินไหวขนาด 7.8-7.9 เฉยๆ ไม่ใช่แผ่นดินไหวขนาด 7.8-7.9 แมกนิจูด อย่างที่ใช้กันผิดๆ ในปัจจุบัน เพราะแมกนิจูดแปลว่าขนาดอยู่แล้ว

ที่มาข้อมูล: มติชนรายวัน 29 เมษายน พ.ศ. 2558

........................................................................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 589462เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2015 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

น่าจะสายเกินแก้..เสียแล้ว....แผ่นดินไทย..ก็ถูกเขย่าให้..เห็น..กันหลายต่อหลายครั้ง..ยังไม่ถึงกรุงเทพ..เท่านั้น..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท