คุณค่า ความสุข ชีวิต


ประวัติโดยย่อ

สวัสดีค่ะวันนี้จะมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับคุณลุงท่านหนึ่งที่อุทิศตัวให้กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยของเราที่คนบางคนอาจจะหลงลืม คุณลุงท่านนี้ชื่อว่า คุณลุง พูนฤทธิ์ โตบันฑิต อายุ 65 ปี อาศัยอยู่กับภรรยา 1 คน ชื่อนางอัจฉรา กัณฑโชติ เมื่อ 5 ปีก่อนคุณลุงเคยสูบบุหรี่ แต่ปัจจุบันไม่ได้สูบแล้วทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ส่วนใหญ่คุณลุงใช้เวลากับการเล่นดนตรีไทย ท่านมีความรู้เรื่องดนตรีไทยเป็นอย่างมากมีลูกศิษย์ที่ให้ความเคารพมากมาย แม้ว่าท่านจะอายุ 65 ปีแล้ว ท่านก็ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและเป็นคนที่มีสุขภาพจิตที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส และพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้เรื่องดนตรีไทยให้กับลูกหลาน

กิจกรรมที่คุณลุงทำในช่วงเช้าแต่ละวัน คุณลุงก็จะกายบริหารเล็กๆ


คุณลุงและภรรยาเป็นคนที่ดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารที่เน้นผัก

ในวันจันทร์ถึงศุกร์จะซ่อมดนตรีไทย และ ถ่ายทอดความรู้แก่ลูกหลาน และนัดรวมตัวกันกับเพื่อนๆที่เล่นดนตรีไทย

ในยามว่างชอบซ่อมแซมของใช้ภายในบ้านด้วยตนเอง ซึ่งทำให้ร่างกายแข็งแรง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าอยู่เสมอ


จากการประเมินจากกิจกรรมตาม Domain Process

จากกิจกรรมที่คุณลุงได้ทำในทุกๆวัน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนมีดังนี้

  • Øกิจกรรมการดูแลรักษาสุขภาพ (IADL: Health management )
  • การออกกำลังกาย ซึ่งคุณลุงบริหารร่างกาย โดยการยืดเหยียดแขน ช้าๆ พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าออกจะช่วยในเรื่อง ระบบไหลเวียนเลือดและการออกกำลังกายประมาณ 15-30นาทีต่อวันก็จะช่วยให้ร่างกายกระปี้กระเปร่า
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่คุณลุงให้คุณภรรยาทำอาหารที่เน้นผัก เน้นจากมีกากใยเยอะไม่มีไขมัน จะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีร่างกายที่แข็งแรง ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายดี
  • ป้องกันโรคหรือพฤติกรรมเสี่ยง ลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งปอด
  • Øกิจกรรมยามว่างอย่างหนึ่ง (Leisure) ซึ่งเป็นการทำในสิ่งที่ตนเองรัก

การเล่นดนตรีไทย ซึ่งเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆได้ทำงาน เช่น การฟัง การดู การรับสัมผัสบริเวณผิวหนัง และได้ใช้สมองในการจดจำตัวโน้ตดนตรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการคงให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพที่ดี

การซ่อมแซมสิ่งของภายในบ้าน เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ส่งเสริมให้สมองได้คิดและวางแผน และทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆจะส่งเสริมให้คุณลุงมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่เนื่องจากคุณลุงมีอายุที่มากขึ้นควรระมัดระวังเรื่องท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การก้มหลังมากๆจะทำให้ปวดหลัง การนั่งเป็นเวลานานๆอาจจะทำให้เมื่อยล้าได้ ดังนั้นการทำกิจกรรมทุกอย่างควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย ลดอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น

  • Øการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น (Social participation)
  • การรวมกลุ่มเล่นดนตรี
  • คุณลุงเป็นตัวอย่างที่ดีมากสำหรับผู้สูงอายุท่านอื่นที่อยู่คนเดียว ไม่ได้มีกิจกรรมไปพบปะเพื่อนๆ ซึ่งโดยทั่วไปผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า จะเห็นได้ว่าการพบปะ รวมกลุ่มกันทำให้สุขภาพจิตดี ไม่เหงา มีการพูดคุยสื่อสารกัน และรวมตัวทำในสิ่งที่รักเหมือนกัน นั่นคือการเล่นดนตรีไทย
  • การถ่ายทอดความรู้ที่มีไปสู่ลูกหลาน
  • คุณลุงยังมีความสุขที่ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องดนตรีไทยให้กับลูกหลานได้อย่างดี เนื่องจากคุณลุงมีทั้ง 3 ส่วนดังต่อไปนี้
  • Knowledge :
  • ˉความรู้ในเรื่องดนตรีไทยและสากลหลากหลายชนิด
  • Skill :
  • ˉมีทักษะการเล่นดนตรีดีเยี่ยมเป็นที่ยอมรับ
  • ˉมีทักษะการสอนหรือถ่ายทอดความรู้ได้ดี ทำให้เด็กๆเข้าใจง่าย
  • Abilities :
  • ˉท่านมีความสามารถในการสอนและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ดี
  • สรุป
  • จากการได้สังเกตจากกิจกรรมที่คุณลุงได้ทำจะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุนั้นมีความสามารถและเป็นวัยที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ความรู้ แม้ว่าจะมีร่างกายที่โรยราลงแต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับการทำให้ตนเองมีคุณค่า แม้ว่าบุคคลอื่นจะมองว่าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ต้องถูกดูแลและไร้ความสามารถ สภาพร่างกายถดถอย แต่คุณลุงพูนฤทธิ์ถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้สูงอายุคนอื่นๆที่จะลุกขึ้นมาทำสิ่งดี ดิฉันเชื่อว่ายังมีผู้สูงอายุอีกหลายคนที่มีศักยภาพที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคมไทยได้ เหมือนกับคุณลุงพูนฤทธิ์
หมายเลขบันทึก: 589457เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2015 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2015 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะที่นำมาให้อ่าน ดีมากค่ะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท