ทิศทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใน ๕ – ๑๐ ปีข้างหน้า



ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๘ ได้มีมติกำหนด "ทิศทางของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใน ๕ – ๑๐ ปีข้างหน้า ดังต่อไปนี้

  • ๑.เสริมสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้กับทุกคณะทุกวิทยาเขต ในทุกด้านอยางเท่าเทียม โดยการพัฒนาและปรับปรุงทรัพยากรทุกประเภทร่วมกันอย่างบูรณาการและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเป็นระบบมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต
  • ๒.มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตที่มีคณภาพสูง มีความรู้และคุณธรรม รับผิดชอบต่อสังคม ที่ สามารถจะเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ผู้ปฏิบัติที่มีประสทธิภาพ และสามารถเป็นผู้นำในภูมิภาค และนานาชาติ
  • ๓.เสริมสร้างความเป็นเลิศในการวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ทั้งสายวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ บนพื้นฐานความเข้มแข็งของทรัพยากรของภาคใต้ และนําไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาชุมชน สังคม เศรษฐกิจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร และสามารถนําไปกําหนดเป็นนโยบาย ของประเทศ และขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลยวิจัยในที่สุด
  • ๔.มุ่งมั่นทำบทบาทที่สำคัญของมหาวิทยาลัยในการเป็นที่พึ่ง เป็นไปตามความต้องการ การแก้ปัญหา วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคมโดยสอดคล้องกับการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการ บริการวิชาการอย่างครบวงจร
  • ๕.เสริมสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงภายในมหาวิทยาลัยทั้งในส่วนของอาจารย์ บุคลากร ทั้งสายวิชาการ และสายสนบสนุนนักศึกษา อาคารสถานที่อุปกรณ์ โครงสร้างพื้นฐาน การเงินงบประมาณ และระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยดหลักธรรมาภิ บาล และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และสมบูรณ์
  • ๖.มุ่งมั่นสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างภูมิภาค และนานาประเทศ เพื่อความเป็นเลิศทั้ง การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการทางวิชาการ และประเพณีวัฒนธรรมที่ดี
  • ๗.มุ่งมั่นในการสร้างวิทยาเขต และมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งวิชาการ การเรียนการสอน และการผลิตบั ณฑิตภายใต้ลักษณะกายภาพภูมิทัศน ์และสิ่งแวดล้อมที่ดี


นโยบายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใน 5 – 10 ปีข้างหน้า

  • ๑.สร้างความสมดุลในการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อประโยชน์สูงสุด ต่อชุมชน สังคม ภูมิภาค และประเทศโดยรวม
  • ๒.ปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาการผลิตบัณฑิตให้มีคณภาพเพียบพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ รับใช้สังคมอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะทาง ภาษาอังกฤษ และมีการจัดทำหลักสูตรที่ทันสมัย และตามความต้องการของสงคมและสามารถ ตอบรับกับการพัฒนาประเทศ และขยายเป็นหลกสูตรนานาชาติ และรับนักศึกษาต่ างชาติ พร้อมทั้งจัดสวัสดิการที่เป็นมาตรฐานเพิ่มขึ้น
  • ๓.ปรับยุทธศาสตร์ในการวิจัยที่มีคุณภาพในทุกด้าน รวมถึงนักวิจัยทุนวิจัย การวิจัย ที่เน้นพื้นที่ และการวิจัยบนฐานทรัพยากรของภาคใต้ที่สามารถนําไปประยุกต์เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชน เศรษฐกิจที่มั่นคง และทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ ์และคุณภาพแวดล้อมที่ดี โดยเฉพาะของภาคใต้ รวมถึงการสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัย
  • ๔.พัฒนาปรับปรุงระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต ที่มีความพร้อม ความเป็นปึกแผ่น เสริมสร้างพลัง และความเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยทั้ง 5 วิทยาเขต
  • ๕.ปรับยุทธศาสตร์การบริการทางวิชาการในเชิงรุก มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ วิทยาการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยสู่ชุมชน ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ พร้อมทั้งบูรณาการ เป็นเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานต่างประเทศ
  • ๖.พํฒนาระบบบริหารจัดการอย่างครบวงจร เพื่อให้บรรลตามทิศทางและเป้าหมาย ตามสภาพของชุมชน สังคม ธรรมชาติ และความเป็นมนุษย์ ที่มีความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง ค่อนข้างสูง และรวดเร็ว
  • ๗.พัฒนาการประชาสัมพันธ ์การติดต่อถ่ายทอดข้อมูลระหว่างวิทยาเขต และภายในมหาวิทยาลัย อย่าง ทั่วถึงและต่อเนื่อง
  • ๘.การพัฒนาและขับเคลื่อนสร้างความมีชื่อเสียงมหาวิทยาลัย โดยให้ความสำคัญผ่านทางสมาคมศิษย์ เก่ามหาวิทยาลัยให้มากขึ้น"

ข้อความข้างบนนั้น ผมคัดลอกมาแบบคำต่อคำ และเห็นด้วยทั้งหมด ยกเว้นข้อ ๕ ในหัวข้อนโยบาย ที่ยังใช้กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยถ่ายทอดความรู้ ผมคิดว่า ในยุคปัจจุบัน ต้องใช้กระบวนทัศน์ University – Social Engagement ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แนวราบมากกว่า

ขอตั้งข้อสังเกตว่า ตามในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ... ที่กำลังรอผ่าน สนช. และตามทิศทางและนโยบายข้างต้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะเป็นมหาวิทยาลัยแรกในประเทศไทย ที่มีการบริหารแบบ university system



วิจารณ์ พานิช

๑๔ มี.ค. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 589408เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2015 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2015 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท