หญ้าหนวดแมวมีข้อควรระวังในการใช้




หญ้าหนวดแมว ลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน


วิธีใช้

วิธีดื่มชาหญ้าหนวดแมว โดยทั่วไปให้ใช้ใบ

และก้านแห้ง 1 หยิบมือ (5 กรัม)

ชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตร (3-4 แก้ว)

ดื่มครั้งละ 1 แก้ววันละ 3 ครั้งหรือดื่มต่างน้ำ


ข้อควรระวัง


1. เนื่องจากหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปรตัสเซียมสูง

จึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ


2. ควรใช้ชงไม่ควรใช้ต้ม และควรใช้ใบอ่อน ไม่ควรใช้ใบแก่

เพราะอาจมีตัวยาออกมามากเกินไป ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ

ทำให้หายใจผิดปกติใช้ใบอ่อนหรือยอดอ่อน (มีใบอ่อน 2-3 ใบ)

ควรเก็บตอนที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก

เพราะจะเป็นช่วงที่มีสาระสำคัญมาก (แต่ไม่ใช้ดอก)


3. ถ้าใช้ใบสด จะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่นจึงควรใช้ใบตากแห้ง


4. สารจากหญ้าหนวดแมว

จะทำให้ยาแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น

จึงไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน


5. ใบกิ่งหรือใบแก่ จะมีสารที่มีฤทธิ์บีบหัวใจ ทำให้ใจสั่น

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรใช้ หรือควรระวังในการใช้ยา

ควรเลือกเก็บแต่ใบอ่อนและยอดอ่อนจะปลอดภัยที่สุด


(ขอบคุณข้อควรระวังจากหนังสือ สมุนไพรบำบัดเบาหวาน โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดอนแฝก )


ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวนะคะ

การใช้ยาหนวดแมวมาเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค ต้องคำนึงถึงด้วยว่า

เป็นโรคหัวใจ หัวใจไม่ปกติ หรือไม่ด้วยนะคะ

และผู้ป้วยโรคไต และผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง

หญ้าหนวดแมวมีโปรตัสเซียมสูง ก็ต้องระวังเช่นกันค่ะ

หญ้าหนวดแมว เป็นสมุนไพรที่รักษาโรคเกาต์ได้

แต่ถ้าผู้ป่วยโรคเกาต์เป็นโรคหัวใจด้วยก็ไม่ควรใช่นะคะ


ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วันจันทร์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ ๒๕๕๘




หมายเลขบันทึก: 589403เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2015 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2015 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท