เศรษฐกิจที่ต้องสู้กับกาล กับเวลา...


การฝึก การฝืนให้เป็นคนที่ทำอะไรตามเวลานั้นเป็นสิ่งที่ดี จะช่วยให้เรามีสมาธิที่มั่นคงและแข็งแรง

คนเราส่วนใหญ่มีความขี้เกียจขี้คร้านแฝงอยู่ในตัวของทุก ๆ คน

คำว่าขี้เกียจขี้คร้านอาจจะถือว่าเป็นคำหนัก แต่อีกในทางหนึ่งสามารถแทนออกมาได้อีกทางหนึ่งว่า "ติดสุข ติดสบาย"

คนที่จะมีจิตใจพอเพียงนั้น ต้องมีฐานของสมาธิที่แข็งแกร่ง คนที่ก้าวผ่านความขี้เกียจขี้คร้านได้ต้องมีฐานสมาธิที่แข็งแรง

ดังนั้น การที่เราจะมีเศรษฐกิจที่พอเพียงได้ ไม่ใช่เราเป็นคนที่ขี้เกียจ แต่เราต้องเป็นคนที่ขยันอย่างสุด ๆ ทำอะไรตามกาล ตามเวลา

ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าแล้ง ต่อหน้าฝน เราก็ต้องลุกขึ้นมาไถหญ้า ปรับดิน สละ ละซึ่งความขี้เกียจขี้คร้านออกไป หยิบจอบ จับคันไถ เข้าไร่ เข้าสวน เข้านา

เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตกับ "ฤดูกาล" เพราะระบบชลประทานยังไม่ดีเท่าที่ควร

ดังนั้น ความขยันหมั่นเพียรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อถึงกาล ถึงเวลา ต้องตั้งหน้าขวนขวาย "ทำมา หากิน"

น้ำคือชีวิต... เราจะปล่อยให้น้ำฝนหล่นลงบนผืนดินโดยที่ไม่ได้นำมาสร้างประโยชน์นั้น "ไม่ได้..!"

น้ำทุกหยดมีคุณค่า เราต้องขวนขวายลุกขึ้นมาตั้งหน้า ตั้งตา เพื่อพร้อมรับน้ำฝนในคราต่อไป

เราต้องช่วงชิงจังหวะ ทฤษฎีประหยัดโดยขนาด (Economy of Scale) อาจจะต้องพักไว้ก่อน เราต้องเน้นความรวดเร็ว (Economy of Speed) ใครเร็ว ใครได้ เพราะไม่มีใครสามารถจะทำนายได้อย่างแน่นอนว่าฝนแรกและฝนสุดท้ายจะมาและหมดลงเมื่อใด

สิ่งที่เราควบคุมได้คือตัวเราเอง คือความขยันหมั่นเพียรของตัวเอง

ผู้ที่จะดำเนินการตามเศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นคนขยัน "หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน" ไม่ทิ้งถิ่นออกไปหากินในเมืองศิวิไลซ์

บ้านเกิดเมืองนอนเราเป็นที่ที่แสนสุข "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" สโลแกนนี้ทำได้ และเป็นไปได้ ถ้าเราใส่ใจ ขยัน และอดทน

สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้นไม่มีปัญหา ถ้าใจของเราไม่มีปัญหา ฉันใดก็ฉันใด เศรษฐกิจของเราจะไม่มีปัญหา ถ้าทุก ๆ คนพึ่งพาความขยันหมั่นเพียรของตัวเอง...

หมายเลขบันทึก: 589321เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2015 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2015 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้ที่จะดำเนินการตามเศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นคนขยัน "หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน" ไม่ทิ้งถิ่นออกไปหากินในเมืองศิวิไลซ์

บ้านเกิดเมืองนอนเราเป็นที่ที่แสนสุข "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท